×

การตลาดยุคใหม่ แค่ ‘น่าสนใจ’ ไม่พอ แต่ต้อง ‘จำได้’ กรณีศึกษาจาก AP

โดย THE STANDARD TEAM
06.09.2024
  • LOADING...

เพื่อเตรียมธุรกิจให้พร้อมสำหรับปี 2025 ในมิติของการตลาด เราควรต้องรู้อะไรบ้าง?  

 

ในงาน The Secret Sauce Summit 2024 บนเวที Ride The 2025 Marketing Wave: ทะยานสู่อนาคตการตลาด 2025 หนึ่งในประเด็นน่าสนใจที่ อรรถวุฒิ เวศรานุรักษ์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Adapter Digital Group เล่าให้ฟังคือสิ่งที่เรียกว่า Memory Attention หรือการทำให้แบรนด์หรือธุรกิจของเราเป็นที่สนใจ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่น่าสนใจ แต่จะต้องทำให้คนจดจำได้ด้วย

 

หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งและทำการตลาดให้ประสบความสำเร็จในยุคนี้ แต่ละธุรกิจจำเป็นจะต้องเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า Memory Attention 

 

“เราอยู่ในยุคที่น่ากลัวอย่างหนึ่งคือ Age of Average หมายความว่าทุกอย่างเหมือนกันไปหมด ไม่มีอะไรแตกต่าง จนนำไปสู่วิกฤตที่เรียกว่า Crisis of Distinctiveness (วิกฤตของความโดดเด่น)”

 

อรรถวุฒิบอกว่า มีการศึกษาโฆษณาหลายชิ้นพบว่าเกิน 50% ได้รับผลตอบรับว่า ‘รับชมแล้วรู้สึกเฉยๆ’

 

“เมื่อปีก่อนเราเคยบอกว่า Attention เป็นสิ่งสำคัญ แต่ปัจจุบัน Attention เพียงอย่างเดียวไม่พออีกต่อไป เราต้องการสิ่งที่เรียกว่า Memory Attention เพราะจะทำให้สิ่งที่เราสื่อสารไปยังลูกค้ามีผลลัพธ์ที่ยาวนานมากขึ้น” 

 

การจะทำให้เกิด Memory Attention มี 4 รูปแบบคือ 

 

  1. Repetition หรือการทำมองเห็นบ่อยๆ 
  2. Association หรือการที่เราทำให้ลูกค้ามองเห็นและเชื่อมโยงกับข้อมูลที่เขามีอยู่ก่อน จนสร้างเป็นข้อมูลใหม่ขึ้นมา ทำให้จดจำได้ง่ายขึ้น 
  3. Novelty หรือการสื่อสารที่สดใหม่และน่าสนใจ ทำให้จดจำได้ง่ายขึ้น 
  4. Emotional Resonance หรือการสร้างความรู้สึก อารมณ์​ และมิติเชิงลึกในการรับรู้ 

 

อรรถวุฒิเล่าต่อว่า หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือแคมเปญการตลาดของบริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ AP ซึ่งต้องการสื่อสารว่า ‘ที่..ที่ดีที่สุดจาก AP’ 

 

“คำถามสำคัญคือจะทำอย่างไรให้คนจดจำได้ ไม่ใช่แค่เห็นแล้วสะดุด ต้องจำได้”

 

หัวใจสำคัญของแคมเปญนี้คือ ‘Heart Pin Icon’ หรือสัญลักษณ์รูปหมุดปักโลเคชันสองอัน ที่ถูกออกแบบคู่กันจนเป็นเหมือนรูปหัวใจ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่คนทั่วไปคุ้นเคยอยู่แล้ว นำไปสู่ Association และการที่สัญลักษณ์นี้ถูกนำไปใช้ในทุกๆ ชิ้นงานการตลาดของ AP ก็ทำให้เกิด Repetition 

 

จากการวิจัยผลลัพธ์จากแคมเปญนี้พบว่า Brand Favorability บน YouTube ซึ่งตัวชี้วัดว่าแบรนด์เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นแค่ไหน เพิ่มขึ้น 15.3% ขณะที่ยอด Ad Recall บน YouTube เป็นสิ่งที่สะท้อนว่าโฆษณาที่เผยแพร่ไปนั้นมีคนจดจำโฆษณาหรือแบรนด์ของเราได้มากน้อยเพียงใด เพิ่มขึ้น 27.6% ซึ่งโดยปกติการเติบโตของชิ้นงานโฆษณาอื่นๆ เพิ่มแค่ 3-5% จะเห็นได้ว่านี่คือความสำคัญของ Memory Attention 

 

#APThai #APThaiบริษัทอสังหาอันดับ1 #ชีวิตดีๆที่เลือกเองได้ #ที่ที่ดีที่สุดจากเอพี 

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

X
Close Advertising