×

KBTG Kampus ผนึก 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำ เปิดหลักสูตร ป.โท ยกระดับบุคลากรไอทีให้พร้อมเข้าสู่ The Age of AI [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
13.11.2024
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

3 min read
  • KBTG ในฐานะ Tech Company ที่ต้องการมีส่วนร่วมแก้ปัญหาทางการศึกษาด้านเทคโนโลยีในประเทศไทย จับมือกับ 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำ เปิดหลักสูตรปริญญาโท เพื่อยกระดับบุคลากรไอทีให้พร้อมเข้าสู่ The Age of AI
  • ทั้ง 3 หลักสูตรจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) มหาวิทยาลัยมหิดล (MU) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU) ถูกพัฒนาโจทย์จากงานวิจัยจริงเพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ได้จริงในโลกอุตสาหกรรมปัจจุบันและอนาคต
  • มุ่งเน้นสาขาวิชาที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ตั้งแต่การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์และพยากรณ์ข้อมูล ด้านปัญญาประดิษฐ์และนวัตกรรม ไปจนถึงด้านความปลอดภัย

“เราเหลือเวลาอีกแค่ 5-6 ปีที่จะสร้างการเปลี่ยนและทรานส์ฟอร์มแบบก้าวกระโดดอีกครั้ง” ฟังดูเหมือนเป็นแค่การคาดการณ์แต่ กระทิง-เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป บอกว่า “ถ้าคุณมองให้ดีมันคือของจริง 10 ปีข้างหน้า AI จะเข้ามาเปลี่ยนโลกจากหน้ามือเป็นหลังมือ เหมือนที่เทคโนโลยีอื่นๆ เคยทำมาแล้ว

 

“เราก็จะเห็นว่าแต่ละยุคจะมีเทคโนโลยีที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับโลกจากหน้ามือเป็นหลังมือ ตอนนี้เราอยู่ในจุดหักศอกแรกของการเปลี่ยนแปลงที่ถูกเร่งด้วย AI อีกไม่กี่อึดใจ AI จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์เหมือนไฟฟ้า น้ำ อากาศ”

 

 

PwC บริษัทบัญชีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้เผยแพร่รายงานพบว่า AI สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับโลกได้เทียบเท่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา หรือคิดเป็นมูลค่า 15.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2030 ขณะที่ภูมิภาคเอเชีย AI สามารถเพิ่ม GDP ได้ราว 10% เลยทีเดียว

 

ก็เหมือนกับที่กระทิงบอก ตอนนี้เม็ดเงินไหลเข้าไปใน AI ทุกเลเยอร์ มันจะเร่งการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล ในพาร์ตของตลาดแรงงานก็เช่นกัน พบว่าในช่วงปี 2017-2030 AI จะเข้ามาช่วยเพิ่ม Labor Productivity มากถึง 55%

 

“AI จะเข้ามาเปลี่ยนวิธีการทำงานของทุกคน 40% ของการจ้างงานจะถูกกระทบอย่างแน่นอน จะมีการยกระดับประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานอย่างมหาศาล ทุกอาชีพทั่วโลกตอนนี้ใช้ GenAI กันหมดแล้ว เมื่อ AI ทรานส์ฟอร์มแรงงาน ระบบการศึกษาก็จำเป็นต้องทรานส์ฟอร์ม”

 

กระทิงชี้ให้เห็นตัวเลขที่น่าชื่นใจว่า ปัจจุบัน 50% ของผู้นำทางการศึกษาใช้ AI ทุกวัน และเชื่อว่านักเรียนทุกคนที่สามารถเข้าถึง AI จะใช้มันเพื่อช่วยในการเรียน อย่างการใช้ GenAI ในการหาข้อมูล

 

“ผมพูดเสมอว่าถึงแม้ AI จะเข้ามาเปลี่ยนวิธีการทำงานของมนุษย์ แต่การที่มนุษย์พึ่งพามันมากเกินไปมันผิดวัตถุประสงค์ เพราะหน้าที่ของมันคือทำให้เราเก่งขึ้น ฉลาดขึ้น ไม่ใช่ให้มันมาแทนที่เรา เราต้องอยู่ในลูปของมันเสมอ ยังต้องมีหน้าที่ในการตั้งข้อสังเกต สงสัย และใช้มันเป็นเครื่องมือ อย่าให้มันคิดแทนเรา

 

“สิ่งหนึ่งที่ผมอยากบอกทุกคนคือ AI ไม่ได้ Automate งาน แต่มันจะ Automate Task แน่นอนว่าคำจำกัดความหรือหน้าที่ในงานของเราอาจจะเปลี่ยนไป แต่ถ้าเราเข้าใจว่างานของเราสร้างคุณค่าอะไร และจะใช้ประโยชน์จาก AI ได้อย่างไร คุณจะไม่มีวันตกงาน และ AI ไม่มีวันแย่งงานไปจากคุณได้”

 

KBTG ทำเรื่อง AI มาตั้งแต่ปี 2017 กว่าจะสำเร็จ และปักธงไปที่การเป็นองค์กร Human-First x AI-First Transformation เพราะการทรานส์ฟอร์มต้องทำให้ชีวิตผู้คนดีขึ้น นี่คือสิ่งกระทิงย้ำเสมอ

 

“แต่เราต้องก้าวกระโดดอีก เพราะเราจะเป็นแค่ผู้ใช้ AI ไม่ได้แล้ว จะต้องเป็นผู้สร้าง AI ตอนนี้ KBTG สร้าง AI Builders ไปแล้วกว่า 250 คน”

 

 

คำถามคือนอกจาก KBTG จะสร้าง AI Builders ภายในองค์กรแล้ว KBTG จะเข้ามาเป็นฟันเฟืองสำคัญในการทรานส์ฟอร์มระบบการศึกษาอย่างไร เพื่อให้แหล่งผลิตกำลังคนขนาดใหญ่นี้สามารถสร้างแรงงานแห่งอนาคตที่พร้อมรบใน The Age of AI

 

เป็นที่มาของการเปิดตัว KBTG Kampus ในปี 2022 ซึ่งเป็นโครงการที่มีเป้าหมายช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาด้านเทคโนโลยีในประเทศไทย โดยจับมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำต่างๆ ในการผสานรอยต่อระหว่างภาคการศึกษากับภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทักษะหรือการทำวิจัย

 

เริ่มต้นด้วยการเปิดตัวสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) เป็นพันธมิตรแห่งแรกในการนำร่องแก้ปัญหาทางการศึกษาด้านเทคโนโลยีในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรีซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญ

 

รวมไปถึงโปรแกรมต่างๆ ที่อยู่ใน KBTG Kampus ไม่ว่าจะเป็น

 

KBTG Kampus ClassNest ที่ร่วมมือกับพันธมิตรในการออกแบบพัฒนาหลักสูตร Bootcamp สร้างบุคลากรเทคโนโลยีรุ่นใหม่ โดยคัดเลือกผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศมาช่วยอัปสกิลคนไอทีทุกเพศทุกวัย เพื่อบ่มเพาะทักษะที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน รวมถึงเพิ่มโอกาสเข้าทำงานกับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ

 

ในปี 2024 KBTG Kampus ClassNest จัด Bootcamp ทั้งสิ้น 8 หลักสูตร คือ Java & Go Software Engineering (2 รุ่น), Cyber Security (2 รุ่น), Infrastructure และ M.A.D. (Machine Learning, AI, Data) ที่ทำร่วมกับแพลตฟอร์มมหาวิทยาลัยชั้นนำ มีผู้สนใจสมัครรวมแล้วกว่า 3,000 คน และผู้เข้าร่วมหลักสูตรแล้วกว่า 1,000 คน

 

KBTG Kampus Apprentice โปรแกรมที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง KBTG กับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เปิดให้นิสิตนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 3-4 ได้เข้ามาเก็บเกี่ยวประสบการณ์การทำงานและพัฒนาทักษะผ่านการปฏิบัติงานจริงที่ KBTG กับผู้เชี่ยวชาญและทีมงานในช่วงระหว่างปีการศึกษา ปัจจุบันมี Apprentice เข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 50 คนในหลากหลายสาขา

 

KBTG Kampus Co-Research โปรแกรมที่ต่อยอดความร่วมมือจากโครงการ Tech Kampus สู่การทำงานวิจัยร่วมกันระหว่าง KBTG พันธมิตร และมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนางานวิจัยด้านเทคโนโลยี เพื่อเปิดโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและธุรกิจ S-Curve ใหม่ๆ พร้อมยกระดับขีดความสามารถ และขับเคลื่อนการทำวิจัยทางด้าน Deep Tech จากรั้วมหาวิทยาลัยออกมาสู่โลกภายนอก ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่สร้างผลกระทบต่อผู้ใช้งานจริงในระดับภูมิภาค

 

ความสำเร็จที่ผ่านมา เช่น งานวิจัย Thai NLP การพัฒนา Voice Recognition Algorithm วิจัยโปรเจกต์งาน Contactless งานวิจัยด้าน Eyeball Tracking ที่จะเป็นประโยชน์ต่อ UX/UI Designer และล่าสุด KBTG ได้จับมือกับ MIT Media Lab ในการทำ Co-Research ด้าน Deep Tech ร่วมกัน โดยมี พัทน์ ภัทรนุธาพร ซึ่งเป็น KBTG Fellow คนแรกของไทยไปทำงานวิจัยที่สหรัฐอเมริกา

 

กระทิงมองว่าต่อจากนี้ไปในพาร์ตของ ‘Education Transformation’ สถาบันการศึกษาต้องสอนเรื่อง Digital & AI Literacy, Human-AI Interactions และ Hands-on & Continuous Learning

 

“สิ่งที่ต้องระวังคือ AI ไม่ควรจะมาแทนที่ครู แต่ต้องมาเป็น ‘Teaching Assistant’ ในส่วนของผู้เรียน AI จะต้องเป็น ‘Student Companion’ หน้าที่สำคัญของ AI คือต้องทำให้คนเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม”

 

กระทิงบอกว่า จนถึงตอนนี้กว่า 80% ขององค์กรยังมีปัญหาขาดแคลนแรงงานอีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับ Cyber Security ยังขาดแรงงานกว่า 2.5 ล้านคนทั่วโลก

 

“ข้อมูลที่น่าตกใจคือปี 2023 ขีดความสามารถทางด้านการแข่งขันระดับโลกของประเทศไทยอยู่ในอันดับ 79 (ลดลง 4 อันดับจากปีก่อน) สะท้อนความขาดแคลนทรัพยากรบุคคลของประเทศไทย โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยี” แต่ก็มีสัญญาณที่ดี เมื่อสถาบันการศึกษาชั้นนำของไทยเริ่มตื่นตัวและลุกขึ้นมาปรับตัวอย่างรวดเร็ว

 

เจาะ 3 หลักสูตรปริญญาโท ปั้นบุคลากรไอทีพร้อมใช้งาน

คำถามต่อไปคือถ้าจะผลักดันทักษะ Digital & AI Literacy, Human-AI Interactions และ Hands-on & Continuous Learning เมล็ดพืชแบบไหนที่ KBTG Kampus และสถาบันการศึกษาของไทยจะหว่านลงไปเพื่อออกผลเป็นบุคลากรสายเทคที่มีศักยภาพและพร้อมทำงาน

 

 

เป็นที่มาของการร่วมออกแบบหลักสูตรระดับปริญญาโทกับ 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) มหาวิทยาลัยมหิดล (MU) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU) โดยคัดสรรโจทย์จากงานวิจัยจริงมาพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ได้จริงในโลกอุตสาหกรรมปัจจุบันและอนาคต รวมถึงมุ่งเน้นสาขาวิชาที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ตั้งแต่การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์และพยากรณ์ข้อมูล ด้านปัญญาประดิษฐ์และนวัตกรรม ไปจนถึงด้านความปลอดภัย ได้แก่

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (หลักสูตร 2 ปี)

  • หัวข้องานวิจัยด้าน Multimodal AI in Financial Services

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล (หลักสูตร 2 ปี)

  • หัวข้องานวิจัย Data Leakage in Financial Institutions Cyber Threat Intelligence
  • หัวข้องานวิจัย AI in Cybersecurity Innovation Technology
  • หัวข้องานวิจัย Cybersecurity Governance
  • หัวข้องานวิจัย AI-Driven Detection of insider Threats in Financial Institutions
  • หัวข้องานวิจัย AI-Based Risk Assessment for Third-Party
  • หัวข้องานวิจัย Value-Driven Cybersecurity Governance: Transforming Risks into Opportunities

 

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (หลักสูตร 1 ปี)

  • หัวข้องานวิจัย Data-Driven Dynamic Pricing
  • หัวข้องานวิจัย Human-AI Interaction and Mental Health Solutions

 

 

KBTG Kampus

 

ดร.เจริญชัย บวรธรรมรัตน์ Senior Venture Director, KBTG กล่าวถึงแนวคิดในการทำ KBTG Kampus Master Degree Co-program ร่วมกับมหาวิทยาลัยว่า “พันธกิจด้านการศึกษาของ KBTG มันยิ่งใหญ่มาก ที่ผ่านมาเรามุ่งมั่นในการขับเคลื่อนการศึกษาด้านเทคในไทยผ่านการร่วมมือกับภาคการศึกษาอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่เรากำลังทำมันเหมือนการนำจิ๊กซอว์ไปเชื่อมโยงภาคการศึกษาเข้ากับตลาดแรงงาน ให้ผู้เรียนได้เห็นว่าความรู้ที่พวกเขาเรียนนั้นจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร”

 

ดร.เจริญชัย ยังบอกด้วยว่า ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยไปอีกขั้น เพราะนอกจากความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตร KBTG จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการคัดเลือกผู้สนใจเข้าศึกษาต่อและดูแลหลักสูตรเพื่อรองรับนักศึกษาตั้งแต่แรกเข้าจนถึงเรียนจบ โดยหวังจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างระบบและยกระดับการศึกษาด้านเทคโนโลยีในประเทศไทย ไปจนถึงอุตสาหกรรมไอทีระดับประเทศ ผ่านการพัฒนา Tech Talent รุ่นใหม่

 

“เราอยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนบุคลากรสายเทคที่มีคุณภาพและมีความสามารถให้กับประเทศ เป็นพระรองที่คอยช่วยพระเอก ซึ่งก็คือมหาวิทยาลัย ในการสร้างคนที่มีคุณภาพให้กับประเทศผ่านองค์ความรู้ที่เรามี นอกจากนี้ KBTG จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ร่วมทำงานวิจัยผ่าน Use Case จริงในภาคธุรกิจ โดยมีทีมผู้เชี่ยวชาญของ KBTG มาช่วยดูแลและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันยังมีทุนสนับสนุนการวิจัยบางส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยและสวัสดิการอื่นๆ อีกมากมาย” ดร.เจริญชัย กล่าว

 

“การที่ KBTG สร้างความร่วมมือกับองค์กรระดับโลก สถาบันการศึกษาชั้นนำ เพื่อสร้าง Education Ecosystem จะช่วยกันยกระดับประเทศไทยให้เป็นผู้นำในยุคของ AI ได้” กระทิงกล่าวทิ้งท้าย

 

สำหรับผู้ที่สนใจลงเรียนหลักสูตรดังกล่าว สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและสมัครได้ที่ https://kbtgkampus.tech/

 

#KBTG #KBTGKampus #BeyondEducation #AI #MAD #CyberSecurity

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X