×

The Next Chapter ของจริง KBTG บุกโลก DeFi เต็มใบ ลุย ‘Coral’ แพลตฟอร์ม NFT เปิดจักรวาล Metaverse [ADVERTORIAL]

28.10.2021
  • LOADING...
KBTG

HIGHLIGHTS

6 mins. read
  • แนวทางของ KBTG ในวันนี้จะให้ความสำคัญใน 3S คือ Speed, Scale และ Synergy เพื่อสร้างเทคโนโลยีที่ Empower และเปรียบองค์กรของตัวเองเป็น ‘ลมใต้ปีก’ ธนาคารกสิกรไทยสร้างโอกาสการเติบโตอย่างมหาศาล
  • KX จะเป็นหน่วยงานที่สร้าง New S-Curve ใหม่ๆ ให้กับ KBTG ลุยหาน่านน้ำ สร้างโอกาสจากธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ให้กับองค์กร ผ่านโมเดล Incubate, Scale และ Spin
  • ความท้าทายล่าสุดของ KASIKORN X หรือ KX กับการเปิดตัว Coral แพลตฟอร์มซื้อขายผลงานศิลปะดิจิทัล เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงผลงานศิลปะชั้นสูงให้กับนักลงทุนและผู้ใช้งานทุกคนแบบไร้ข้อจำกัด สะดวก น่าเชื่อถือ และปลอดภัย

ยังแรงดีไม่มีแผ่วอย่างแท้จริงสำหรับ KBTG หรือ บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป โรงงานผู้พัฒนานวัตกรรมและอยู่เบื้องหลังทุกเทคโนโลยีของธนาคารกสิกรไทย หลังจากที่ตลอดปี 2021 ที่ผ่านมา พวกเขาได้เปิดตัวนวัตกรรมทางการเงินและเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง 

 

จากจุดเริ่มต้นของบริษัทเทคโนโลยีที่ก่อตั้งขึ้นและสปินออฟออกจากธนาคารกสิกรไทยในปี 2016 เพื่อพัฒนาและประสานศักยภาพด้านเทคโนโลยีให้กับบริษัทแม่ มาวันนี้ KBTG ได้กลายเป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติไทยที่แข็งแกร่ง ดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถเข้าสู่องค์กรได้อย่างต่อเนื่อง (ได้รับรางวัล Best Company to Work for จาก HR ASIA ในปี 2020 และ 2021) และยังสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับกสิกร พาร์ตเนอร์ธุรกิจ และสังคมไทยได้อย่างมหาศาล

 

แต่ในวันที่คลื่นดิสรัปชันได้ย่นระยะเวลาเกิดเร็วขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัวจากพิษโควิดและวิกฤตเศรษฐกิจ แม้แต่บริษัทเทคโนโลยีก็ต้องเพิ่มสปีด ยกระดับอัตราเร่งและฝีก้าวของตัวเองเพื่อให้สอดรับทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

 

เช่นเดียวกันกับ KBTG ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่แชปเตอร์ถัดไปของตัวเองเช่นกัน โดยที่ล่าสุดเมื่อวันจันทร์ที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมา พวกเขาก็เพิ่งเปิดตัวแผนการของบริษัทภายใต้แนวคิด The Next Chapter of KBTG

 

ส่วนจะมีอะไรที่น่าสนใจ จะว้าวแค่ไหน THE STANDARD สรุปประเด็นสำคัญและข้อมูลที่คุณต้องรู้เอาไว้ให้แล้ว

 

 

The Next Chapter of KBTG เราจะได้เห็นอะไรจากโรงผลิตนวัตกรรมนี้?

กระทิง-เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงโรดแมปบริษัทในระยะปัจจุบัน ซึ่งกินช่วงเวลา 3 ปี ระหว่างปี 2019-2021 โดยนิยามว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการทรานฟอร์มและการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในสภาวะวิกฤต (Transformation & Rise in Crisis Years) สืบเนื่องจากการทำ Modernization ตัวเทคโนโลยีให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น ใช้แนวทางการ Synergy เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีของบุคลากรองค์กรให้เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าตัว พร้อมเปิดประตูแห่งการเติบโตไปสู่ระดับภูมิภาค (บุกไปจีนและเวียดนาม)

 

 

ปัจจุบัน KBTG มีบุคลากรในบริษัทรวมกว่า 2,000 ราย โดยมีแผนกในองค์กรอยู่หลากหลาย ตั้งแต่ฃ

  1. KBTGSec – แผนกที่ดูงานด้านการวางกลยุทธ์, ความปลอดภัยไซเบอร์, แบรนดิ้ง และบุคลากร
  2. KInfra – บริการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐานเพื่อตอบสนองความต้องการของกสิกรไทยที่มีจำนวนการทำธุรกรรมไม่ต่ำกว่า 4 พันล้านครั้งต่อปี รวมถึงตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรอื่นๆ ในฐานะพาร์ตเนอร์
  3. KSoft – ทีม Dev นักพัฒนาซอฟต์แวร์กว่า 1,100 ราย ดูแลแอปพลิเคชันมากกว่า 400 ตัว
  4. Beacon Interface – ทีมดูแลดีไซน์ UX และ UI
  5. KLabs – ทีมที่วิจัยด้าน Deep Tech พัฒนานวัตกรรมต่างๆ ทำงานด้าน AI และ Data Science รวมถึง Co-Innovation ร่วมกับองค์กรอื่นๆ ไม่ต่ำกว่า 10 โครงการ
  6. ***KX*** – เป็น New S-Curve Venture Builders ของ KBTG ที่จะลุยหาน่านน้ำ สร้างโอกาสจากธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้กับองค์กร (ก่อตั้งขึ้นมาในปี 2018)
  7. Kubix – กลุ่มธุรกิจที่ดูแลด้านสินทรัพย์ดิจิทัลที่สปินออฟออกมาจาก KX เมื่อปี 2020
  8. KTech – กลุ่มธุรกิจของ KBTG ในจีน (เดิมคือ Kai Tai Tech) โดยปัจจุบันมีลูกค้ากว่า 1 ล้านราย มียอดการจองสินเชื่อมากกว่า 1 พันล้านหยวน โดยเปิดตัวผลิตภัณฑ์เฉลี่ยเดือนละ 1 ตัว ทั้งๆ ที่ยังไม่สามารถเดินทางไปจีนได้เต็มรูปแบบด้วยซ้ำ

 

เรืองโรจน์ย้ำต่อว่า แนวทางของ KBTG ในวันนี้จะให้ความสำคัญใน 3S นั่นคือ Speed, Scale และ Synergy เพื่อสร้างเทคโนโลยีที่ Empower ผู้คนและสังคมด้วยความสะดวกสบาย ความอัจฉริยะ นวัตกรรมล้ำสมัย เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงให้กับผู้คนอย่างหลากหลายโดยไร้ซึ่งข้อจำกัด และเปรียบองค์กรของตัวเองเป็นเสมือน ‘ลมใต้ปีก’ ของธนาคารกสิกรไทยที่จะช่วยให้เกิดโอกาสในการเติบโตได้อย่างมหาศาล

 

 

KX ฐานปล่อยจรวดนวัตกรรมแห่งใหม่ สร้าง New S-Curve ให้กสิกรไทย

ประเด็นที่สำคัญที่สุด ย่อมหนีไม่พ้นประเด็นการให้ความสำคัญกับ ‘บล็อกเชน’ และโลกการเงินแบบ DeFi ที่พวกเขาเริ่มต้นทำอย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี 2016 ก่อนจะได้รับอนุมัติจากทาง ก.ล.ต. หรือคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ให้สามารถดำเนินธุรกิจด้านสินทรัพย์ดิจิทัลตั้งแต่ปีที่แล้ว

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจึงทำให้เกิดบริษัทใหม่ในชื่อ KX (KASIKORN X) หรือ กสิกร เอกซ์ (https://kx.tech) ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการเป็นบริษัทลูกใน KBTG ตั้งแต่ปี 2018 ก่อนจะเริ่มดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบเมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา ซึ่งล่าสุดได้แยกตัวสปินออฟออกจาก KBTG มาดำเนินธุรกิจเป็นบริษัทแรกเป็นที่เรียบร้อย เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและความลีนในแง่การดำเนินการ

 

KBTG อธิบายเพิ่มเติมว่า KX คือ Autonomous Venture Builder ด้าน Decentralized Finance and Beyond ที่จะมุ่งเน้นการสร้างธุรกิจใหม่ในด้านบริการทางการเงิน (Financial Service) และบริการอื่นๆ (Non-Financial Service) โดยมีภารกิจหลักคือการ ‘Building Trust in the Trustless World’ หรือการสร้างความเชื่อมั่นในโลกที่ปราศจากความน่าเชื่อถือ

 

ซึ่งแม้ว่า KX จะดำเนินธุรกิจอย่างเป็นอิสระ แต่ก็ยังได้รับการสนับสนุนในระดับภูมิภาคเอเชียจากกลุ่ม KBank และ KBTG ส่วนโมเดลการดำเนินงานของ KX จะประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ

  1. Incubate การเพาะบ่มนวัตกรรมและโซลูชันด้านเทคโนโลยีต่างๆ
  2. Scale การยกระดับสเกลอัพสตาร์ทอัพนวัตกรรมนั้นๆ
  3. Spin แยกตัวออกมาตั้งบริษัทธุรกิจใหม่ 

 

จินตนาการให้เห็นภาพง่ายๆ คือ หากเปรียบ KX เป็นจรวดลำหนึ่ง จรวดลำนี้แม้จะสร้างขึ้นโดยบรรพบุรุษอย่างธนาคารกสิกรไทย และ KBTG แต่ ณ วันนี้ จรวดลำนี้ก็แยกตัวออกมาตั้งอาณานิคมใหม่ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาตอบสนองความต้องการของตลาดและโลกการเงินที่เปลี่ยนไปเข้าสู่โลกของ DeFi ภายใต้ภารกิจในการสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นกับตลาด นักลงทุน ผู้บริโภค

 

แล้วเจ้าจรวดลำนี้ก็มียานลูกในเครืออีกมากมายที่พร้อมจะแยกตัวออกมา กระจายตัวไปสร้างอาณานิคมของตัวเองในกลุ่มธุรกิจการเงิน โลกดิจิทัลใหม่ๆ หากพบว่าตลาดและธุรกิจน้ันๆ มีช่องว่างของโอกาสและศักยภาพมากพอ เช่นตัวอย่างของ Kubix ที่สปินออฟออกจาก KX ออกมาดำเนินธุรกิจ ICO Portal ของตัวเองได้สำเร็จแล้ว 

 

‘Coral’ แพลตฟอร์ม NFT ใหม่ล่าสุดที่สปินออฟออกจาก KX ตาม Kubix แบบหายใจรดท้ายทอย

ความท้าทายล่าสุดของ KX และ KBTG คือการที่พวกเขาได้เปิดตัว Coral (https://coralworld.co) แพลตฟอร์มซื้อขายผลงานศิลปะดิจิทัลแบบ NFT Marketplace เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงผลงานศิลปะชั้นสูงให้กับนักลงทุนและผู้ใช้งานทุกคนแบบไร้ข้อจำกัด สะดวก น่าเชื่อถือ และปลอดภัย

 

หัวใจสำคัญที่ทำให้ Coral โดดเด่นและมีจุดแข็งต่างจากแพลตฟอร์ม NFT Marketplace อื่นๆ คือการที่ KX เปิดให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถซื้อขายผลงานศิลปะดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น เพลง,​ ดนตรี, งานกราฟิก, วิดีโอ ฯลฯ ได้อย่างสะดวกสบายด้วยการใช้เงินทั่วๆ ไป (Fiat Money) อย่างเงินบาทหรือเงินดอลลาร์สหรัฐ ผ่านบัตรเครดิต, เดบิต หรือ Mobile Payment โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีกระเป๋าเงินคริปโตฯ ของตัวเองแต่อย่างใด แต่ยังคงอยู่บนมาตรฐานของ Ethereum Standard ซึ่งเป็น Global Standard ระดับโลก

 

และเคลมว่ากระบวนการซื้อผลงาน NFT นั้นสามารถทำได้เสร็จเพียงแค่ 10 คลิก หรือ 5 นาทีเท่านั้น ทำให้แม้กระทั่งคนที่ไม่เชี่ยวชาญเทคโนโลยี ศิลปิน และแบรนด์ ก็สามารถซื้อ-ขายผลงาน NFT ได้ง่ายดายโดยไร้กำแพงอุปสรรค โดยวิธีการเมื่อออนบอร์ดแล้วสามารถขายผลงานได้ด้วย 3 ขั้นตอน คือ อัปโหลด, ตั้งราคา และอนุมัติให้กับแพลตฟอร์มทำการ Mint NFT และโอนย้ายขายให้แทนศิลปิน

 

แต่ยังคงไว้ซึ่งความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ ปลอดภัย เพราะ Coral จะมีการคัดกรองตัวศิลปินที่นำงานเข้ามาจำหน่ายบนแพลตฟอร์มว่าเป็นศิลปินตัวจริง ตัวงานที่เอามาขายบน Coral ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า Authentic NFT

 

นอกเหนือจากนี้ อีกจุดเด่นสำคัญคือ Coral จะไม่มี Upfront Cost ซึ่งโดยปกติแล้ว แพลตฟอร์ม NFT Marketplace ทั่วๆ ไปจะทำการแปลงชิ้นงานนั้นๆ ให้เป็น NFT ตั้งแต่เริ่มเลย ทำให้แม้จะยังขายไม่ออก ตัวศิลปินที่นำผลงานอัปขึ้นระบบขายก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายแล้ว 

 

ขณะที่บน Coral นั้นจะใช้วิธีแบบ Lazy Minting แปลงงานศิลปะนั้นๆ เป็น NFT ต่อเมื่อขายได้แล้วเท่านั้น โดยโมเดลการทำเงินของ Coral คือการหักค่าธรรมเนียมจากการซื้อขาย และตัวศิลปินก็ยังต่อยอดเพิ่มการสร้างรายได้จากผลงานชิ้นน้ันๆ ได้ด้วยการใส่เงื่อนไขโมเดล Royalty Fee ที่เมื่อเกิดการซื้อขายต่อๆ ไป ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานจะสามารถหัก % จากการขายเพิ่มเติมได้ตามกำหนด ซึ่งจะมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการร่วมผลักดันโอกาสการเติบโต การต่อยอดผลงานศิลปินไทยให้ได้เป็นที่รู้จักในเวทีโลก และเสริมแกร่งระบบนิเวศของอุตสาหกรรมงานสร้างสรรค์ไทยให้อุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน

 

 

เท่านั้นยังไม่พอ Coral ยังได้ร่วมมือกับสยามพิวรรธน์ สร้างสะพานเชื่อมโลกคู่ขนานออนไลน์-ออฟไลน์เข้าด้วยกัน โดยนำผลงานศิลปะ NFT มาจัดแสดงบน NFT Innovation Digital Wall ที่สยามพารากอน และไอคอนสยาม เพื่อสร้าง Awareness และความครึกครื้นให้กับผลงานศิลปะดิจิทัล

 

อักเซล วินเทอร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดิจิทัล บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เผยถึงความร่วมมือที่เกิดขึ้นกับ KX และ KBTG ในครั้งนี้ว่า “เราอยู่ในยุคของเทคโนโลยีดิสรัปชันที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทุกภูมิภาค ไม่ใช่แค่ในซิลิคอนแวลลีย์อีกต่อไป ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำในตอนนี้คือการเปิดโอกาสสำหรับการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ภายใต้การทำงานร่วมกันแบบ Partnership ข้ามอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาธุรกิจบริการใหม่ๆ ให้ง่ายขึ้น และลดแรงเสียดทาน เพิ่มโอกาสใหม่ๆ

 

“สิ่งที่สำคัญมากๆ ไม่แพ้กันคือการที่เราจะต้องรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่เร่งด่วนและต้องทำให้ไว ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคให้ทัน และเราก็มองว่า NFT คือการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ โดยที่ความร่วมมือที่เกิดขึ้นกับ KX และ KBTG เราทำงานร่วมกันมานานแล้ว และสยามพิวรรธน์ก็จะนำประสบการณ์ด้านการเป็นผู้นำธุรกิจไลฟ์สไตล์มาเสริมให้กับ KBTG”

 

 

พอล-ธนะเมศฐ์ อาริยวัฒน์ Head of Venture Builder, KASIKORN X Co.,Ltd. กล่าวเพิ่มเติมในงานแถลงข่าวการเปิดตัว Coral ว่า นี่เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของ KX และ KBTG ที่จะนำพาทุกคนเข้าสู่โลก DeFi ทางการเงินได้อย่างง่ายดายและปลอดภัย ก่อนจะเปิดจักรวาลไปสู่โลก Metaverse ในอนาคตอันใกล้

 

“ปัจจุบันเริ่มมีแบรนด์ต่างๆ ที่ให้ความสนใจเข้ามาพูดคุยกับ KX ถึงความเป็นไปได้ในการนำสินค้าและบริการมาจำหน่ายบนแพลตฟอร์ม Coral แล้ว ท้ังนี้ ตลาด NFT ในไทยกำลังเติบโตอย่างมหาศาล มีขนาดหลายล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นเค้กกำลังโตในระดับ Tripple Digit (3 หลัก) ในทุกๆ ปี”

 

ทั้งนี้ ในระยะแรก Coral จะเปิดให้ผู้ใช้งานทำได้แค่การซื้อผลงานศิลปะ NFT และจัดโชว์เคสผ่านหน้าโปรไฟล์ของตัวเองได้เท่านั้น ก่อนที่ในเฟสถัดไปในอนาคต จะมองถึงความเป็นไปได้ในการอนุมัติให้ตัวนักสะสมสามารถทำการเทรดซื้อขายผลงานผ่านแพลตฟอร์มได้ด้วย

 

 

ด้านเรืองโรจน์กล่าวถึงอนาคตและเทรนด์ Metaverse ว่า เป็นเทรนด์ที่จะมาแน่นอน โดยตนเคยพูดเอาไว้ว่าเราจะได้เห็นนวัตกรรมโลกอนาคตนี้เริ่มเทกออฟในปี 2024 และจะแปลงสินทรัพย์ในโลกดิจิทัลให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้นก็เช่น ในอนาคตที่ดินบนโลก Metaverse อาจจะมีมูลค่าสูงแซงมูลค่าที่ดินในโลกแห่งความเป็นจริงด้วยซ้ำ

 

“ผมเชื่อว่าถัดไปต่อจากโลก Metaverse มันจะเป็นการผสานเทรนด์นี้ให้เข้ากับเทคโนโลยีอื่นๆ และจะเปิดโอกาสมหาศาลสำหรับคนที่เป็นครีเอเตอร์และเพลเยอร์ในโลกใหม่ๆ สร้างโมเดลธุรกิจแบบใหม่ๆ จนนำไปสู่เศรษฐกิจใหม่ในโลกดิจิทัล ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำในตอนนี้คือการ Reimagine” เรืองโรจน์กล่าวทิ้งท้าย

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X