×

กสิกรไทยมองเศรษฐกิจจีนโตต่ำกว่าคาดที่ 8% ผลจากรัฐปรับนโยบายการเงิน-คลังกลับสู่ช่วงปกติเร็ว

22.03.2021
  • LOADING...
กสิกรไทยมองเศรษฐกิจจีนโตต่ำกว่าคาดที่ 8% ผลจากรัฐปรับนโยบายการเงิน-คลังกลับสู่ช่วงปกติเร็ว

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนในปี 2564 จะขยายตัวที่ 8.0% จากปีก่อนหน้า โดยมีกรอบการเติบโตที่ราว 8.0-8.5% ขณะที่ต้นเดือนมีนาคม 2564 หลี่ เคอเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ตั้งเป้าหมายการเติบโตเศรษฐกิจ หรือ GDP ปี 2564 ที่ไม่ต่ำกว่า 6% ต่อปี ซึ่งถือว่าน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากทางการจีนน่าจะมีการปรับนโยบายการเงินและการคลังกลับสู่ภาวะปกติเร็วกว่าที่คาด

 

“ไตรมาส 1/64 คาดว่า เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวในกรอบ 11.0-15.0% จากปีก่อน เพราะการเติบโตฐานต่ำในปีก่อน”

 

ทั้งนี้ มองว่า การใช้นโยบายการเงินและการคลังของจีนจะมีทิศทางระมัดระวังมากขึ้น โดยฝั่งนโยบายการคลังเห็นได้จากการกำหนดตัวเลขขาดดุลงบประมาณปีนี้ที่อยู่ราว 3.20% ของ GDP และโควตาการออกตราสารหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่นที่อยู่ราว 3.65 ล้านล้านหยวน ซึ่งทั้ง 2 ตัวเลขต่ำกว่าปี 2563 ที่ผ่านมาที่อยู่ 3.60% ของ GDP และ 3.75 ล้านล้านหยวน

 

ขณะที่นโยบายการเงินจะมุ่งเน่นรักษาเสถียรภาพทางการเงินมากกว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจ จากเดิมที่กำหนดการเติบโตเศรษฐกิจมากกว่า 8.7% และเปลี่ยนเป็นการกำหนดเงินอัดฉีดตามปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (M2) ให้สอดคล้องตามการเติบโตของเศรษฐกิจแทน

 

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจจีนยังมีความเสี่ยงเรื่องการใช้จ่ายผู้บริโภคที่ชะลอตัว เห็นได้จากความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มต่ำลง ทั้งการใช้จ่าย การจ้างงาน โดยเริ่มปรับลดลงตั้งแต่ปลายปี 2563 ที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเกิดจากการระบาดระลอกใหม่เมื่อต้นปี 2564 ในหลายเมืองที่ต้องปิดเมืองอีกครั้ง เข่น เมืองฉือเจียจวงในมณฑลเหอเป่ย เมืองซุยฮวงในมณฑลเฮยหลงเจียง เมืองรอบกรุงปักกิ่ง ฯลฯ

 

ทั้งนี้ ตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคบางส่วนยังลดลง แม้ว่าจีนจะมีนโยบายมุ่งเน้นเพิ่มการจ้างงานใหม่ก็ตาม โดยทางการตั้งเป้าหมายอัตราการว่างงานที่ 5.5% ซึ่งช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2564 มีการจ้างงานใหม่ในเขตเมืองรวม 1.48 ล้านคน โดยคงอัตราการว่างงานได้ตามเป้าหมายที่ 5.5% ก็ตาม

 

นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงเรื่องการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วเกินไป ในขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังไม่กลับมา อาจก่อให้เกิดการชะงักงันของเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องติดตามในระยะต่อไป 

 

ขณะที่ภาคการผลิตแม้จะฟื้นตัวแล้ว แต่ก็เริ่มเห็นสัญญาณการชะลอตัว เห็นได้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ลดลงสู่ระดับ 50.9 จากเดือนมกราคมที่อยู่ 51.5 รวมถึงภาคการส่งออกที่อาจจะลดลงต่ำกว่าจุดสูงสุดในปี 2563 

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X