×

‘ขนมไทยเก้าพี่น้อง’ การเติบโต อุปสรรค และการเจอเพื่อนแท้จากวิกฤตโควิด [Advertorial]

28.09.2021
  • LOADING...
kanomthaikaopeenong

หากใครที่ไปเดินตลาด อ.ต.ก. บ่อยๆ แน่นอนว่า ต้องรู้จัก ‘ขนมไทยเก้าพี่น้อง’ ร้านขนมชื่อดังที่สืบทอดสูตรมาจากคุณแม่ และเปิดมานานกว่า 40 ปี ซึ่งเริ่มต้นจากขนมเพียง 4-5 อย่าง เช่น ข้าวเกรียบปากหม้อ, สาคู, ข้าวต้มมัด, ขนมใส่ไส้, และข้าวเหนียวมูน แต่วันนี้มีขนมไทยนับ 100 อย่างให้เลือกสรร

 

“ชื่อแบรนด์ ‘เก้าพี่น้อง’ มาจากที่เรามีพี่น้อง 9 คน คุณพ่อคุณแม่เป็นคนตั้งชื่อแบรนด์ให้ ท่านบอกจำง่ายดี และแบรนด์เป็นเลข 9 ซึ่งเป็นเลขที่มีความหมายดีด้วย” กรกมล ลีลาธีรภัทร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ขนมไทยเก้าพี่น้อง จำกัด ผู้ผลิต จำหน่าย และส่งออกขนมไทยชื่อดัง เล่าถึงที่มาของชื่อร้าน

 

จากวันแรกเมื่อ 40 ปีก่อน จนถึงวันนี้ธุรกิจของขนมไทยเก้าพี่น้องเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก จนรายได้มาจาก 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่

  • 40% เป็นการส่งขนมให้กับโรงแรมและสายการบิน
  • 40% มาจากการขายหน้าร้านที่ตลาด อ.ต.ก. และร้านที่ตั้งอยู่ในศูนย์การค้า
  • 20% มาจากการส่งออก เช่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และประเทศในแถบยุโรป

 

ธุรกิจเติบโตขึ้นทุกวัน ทำให้กรกมลตัดสินใจลงทุนสร้างโรงงานแห่งที่ 3 ด้วยเงินลงทุนกว่า 200 ล้านบาท ซึ่งหากโรงงานแห่งนี้เสร็จจะมีกำลังการผลิตมากกว่าโรงงานแห่งเดิม 4-5 เท่า หรือคิดเป็นกำลังการผลิตวันละ 4 แสนชิ้น

 

แต่แล้วธุรกิจที่กำลังเติบโตได้ดีกลับต้องมาสะดุดเพราะการระบาดของโรคโควิด ทำให้ขนมที่ส่งให้โรงแรมและสายการบิน ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นเลือกหลักของธุรกิจได้รับผลกระทบ รายได้ลดลงมาเหลือ 0 ในทันทีเพราะไม่มีนักท่องเที่ยว สิ่งนี้ทำให้เกิดอุปสรรคเรื่อง Cash Flow หรือกระแสเงินสดในทันที ส่งผลถึงรายได้ที่เข้ามา และการไปต่อของโรงงานใหม่ที่เพิ่งสร้างเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ซึ่ง “ณ ตอนนั้นเรามองว่านี่คืออุปสรรคอันยิ่งใหญ่ของเรา เราจะก้าวข้ามไปได้ไหม เราจะเอาเงินทุนที่ไหน ธุรกิจเราจะต้องชะงักแค่นี้ใช่ไหม”

 

เหตุผลที่ทำให้เก้าพี่น้องมีปัญหาด้านกระแสเงินสด เป็นเพราะเงินทุนเกือบทั้งหมดลงทุนไปกับการสร้างโรงงานแห่งที่ 3 เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตซึ่ง “เราจดจำนองไปประมาณ 5-6 เดือน เพื่อก่อสร้างโรงงานใหม่ เราต้องจ่ายทั้งหมดประมาณ 10 ดีล เราจ่ายไปถึง 5 ดีลแล้ว อีกสักพักแบงก์ที่เราดีลอยู่เขาคงจะออกให้เราเป็นดีลที่ 6 ที่ 7 ที่ 8 ปรากฏว่าเรารอจนเราบอกว่า ไม่สนุกแล้ว ตอนนั้นเราเหมือนถูกเทด้วย เหมือนเราลอยแพอยู่กลางทะเล ความรู้สึกตอนนั้นทั้งหนาว ทั้งกลัว สภาพแวดล้อมทั้งหมดเกิดขึ้นกับเรา”

 

ที่สุดแล้วปัญหาหนักอกของเก้าพี่น้องได้ถูกยกออกโดย SCB SME ซึ่ง “ตอนที่เรากำลังจะจมน้ำ เรากำลังปริ่มๆ นี่แหละ SCB SME เข้ามาดึงมือเราขึ้นมาจากน้ำ เรารู้สึกเลยว่า นี่นะเรายังไม่ได้เป็นพันธมิตรอะไรกันเลย แต่ทำไม SCB SME ไว้ใจ เชื่อใจ มั่นใจในตัวเรา และไม่ได้แค่ดึงเราขึ้นมาจากน้ำ ยังเอาผ้าห่มมาให้เราด้วย เรารู้สึกว่าเราได้รับความอบอุ่นด้วยนะ เขาพร้อมที่จะก้าวไปกับเรานะ” 

 

โดย “ทาง SCB SME เข้ามาแล้วบอกกับเราว่า ‘มั่นใจเถอะ’ ว่าอย่างไรเขาจะผลักดันตรงนี้ให้จบโครงการให้ได้ อาการที่คิดว่าเราไม่มั่นใจเกี่ยวกับอะไร เขาจะเข้ามาเป็นที่ปรึกษาให้ แบ่งงวดการจ่าย ทำอย่างไร ทุกขั้นตอนเลย เราได้รับการดูแลเป็นอย่างดี อุปสรรคมันยิ่งใหญ่มากสำหรับเก้าพี่น้อง ณ ตอนนั้น”

 

กรกมลยังได้เผยอีกว่า นอกจาก SCB SME จะเข้ามาดึงมือขึ้นในช่วงที่กำลังจะจมน้ำ ยังเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงให้กับธุรกิจ ซึ่งเมื่อความกังวลด้านเงินทุนนั้นจางหายไป เก้าพี่น้องจึงหันมาปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจนั้นเดินต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นเริ่มหาลูกค้าส่งออกเพิ่มขึ้นอีก 2-3 ราย การขายออนไลน์ และเพิ่มร้านแบบ Stand Alone เพื่อลดปัญหาหากร้านในห้างถูกปิด ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 2 แห่ง

 

ขณะเดียวกันได้ขยายไปสู่ช่องทางโมเดิร์นเทรด ที่ผ่านมาเจรจา 1-2 ราย โดยขณะนี้เริ่มวางจำหน่ายกับ ซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ยังเตรียมวางขายขนมแบบอาหารพร้อมปรุง หรือ Ready to Cook และยังมีการใช้ R&D เพื่อทำให้ขนมเก็บได้นานขึ้น และยังช่วยคงคุณภาพให้รสชาติสดใหม่ เหมาะสำหรับการส่งออก 

 

“ธุรกิจที่แข็งแกร่งใช่ว่าจะอยู่ได้อยู่รอด ธุรกิจที่จะอยู่ได้อยู่รอดคือธุรกิจที่ปรับตัวเองให้ได้เร็วที่สุด ทันสถานการณ์ที่สุด” กรกมลกล่าว สำหรับผู้ที่สนใจในเส้นทางของ ‘ขนมไทยเก้าพี่น้อง’ ตลอดจนการแก้ปัญหาที่ถาโถมเข้ามา และการที่โควิดทำให้เจอเพื่อนแท้อย่าง SCB SME อ่านต่อได้ที่นี่

 

kanomthaikaopeenong

 

ภาพประกอบ: เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising