ขณะนี้ ‘พล.ต.อ. สุรเชษฐ์ หักพาล’ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตกอยู่ในสถานะผู้ถูกกล่าวหา ทั้งในส่วนของคดีอาญาเรื่องเว็บพนันออนไลน์ และการกระทำผิดวินัยร้ายแรงในฐานะเจ้าพนักงานตำรวจ
การดำเนินการหลังจากนี้ในส่วนของ ‘คดีอาญา’ และ ‘การสอบวินัย’ ของ พล.ต.อ. สุรเชษฐ์ จะเดินหน้าไปพร้อมกันตามขั้นตอน
THE STANDARD ชวนพิจารณา 3 ฉากทัศน์ในการถูกตั้งสอบวินัยร้ายแรงของ พล.ต.อ. สุรเชษฐ์ ว่าในท้ายที่สุดผลที่ตามมาจะเป็นไปในทิศทางใดได้บ้าง หาก พล.ต.อ. สุรเชษฐ์ ถูกตัดสินว่า…
ทางที่ 1: ผิดวินัยร้ายแรง
- ปลดออกจากราชการ: ได้รับสิทธิสวัสดิการ
- ไล่ออกจากราชการ: ไม่ได้รับสิทธิสวัสดิการ
ทางที่ 2: ไม่ผิดวินัยร้ายแรง แต่ถูกพิจารณาว่าประพฤติไม่เหมาะสม
- กลับมารับราชการตามเดิม
- ถูกลงโทษ ภาคทัณฑ์
ทางที่ 3: ไม่ผิดวินัยร้ายแรง
- กลับมารับราชการตามเดิม ปฏิบัติเสมือนไม่เคยถูกสั่งให้ออก ได้รับการชดเชยตามเหมาะสม
ประเภทความผิดวินัยร้ายแรง
- ประพฤติชั่ว: ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์การเป็นข้าราชการตำรวจ
- ประพฤติชั่วร้ายแรง: ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์การเป็นข้าราชการตำรวจและต่อหน่วยงานราชการ เช่น สมคบโจร
หากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำผิดอาญาต้องโทษตั้งแต่จำคุกขึ้นไป จะถือว่ามีความผิด ‘ปรากฏชัดแจ้ง’ จะทำให้ผู้นั้นถูกลงโทษวินัยทันทีตามกฎ ก.ตร. โดยไม่ต้องตั้งกรรมการวินัยสอบ
ระยะเวลาพิจารณาโทษวินัย
- เรียกประชุมคณะกรรมการที่แต่งตั้ง ภายใน 15 วัน
- คณะทำงานรวบรวมพยานหลักฐาน ภายใน 60 วัน
- แจ้งข้อกล่าวหากับผู้ถูกกล่าวหา ภายใน 15 วัน
- ผู้ถูกกล่าวหารวบรวมพยานหลักฐานมาชี้แจง ภายใน 60 วัน
- คณะกรรมการประชุมลงมติ ภายใน 30 วัน
- ผบ.ตร. ออกคำสั่ง ภายใน 60 วัน
สรุป เร็วสุดคือ 240 วัน
สามารถขยายเวลาต่อจากข้อ 6 ได้อีก 30 วัน โดยนายกฯ จะเป็นผู้ออกคำสั่ง พร้อมสั่งลงโทษ ผบ.ตร. ที่ไม่สามารถออกคำสั่งได้
ภาพประกอบ: นิสากร ฤทธาภัย
อ้างอิง: กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา