ยูคาริ ทาเคโอกะ พนักงานบริษัทในวัย 49 ปี บอกว่าระหว่างเดินทางไปเยี่ยมพ่อแม่บนชินคันเซน เธอเอาแต่หมกมุ่นกับกระเป๋าสุนัขคู่ใจของตนจนไม่ได้ดูวิวทิวทัศน์เลยแม้แต่น้อย
“สิ่งเดียวที่ฉันคิดในตอนนั้นคือการไม่ทำให้ผู้โดยสารคนอื่นเดือดร้อน” เธอกล่าว
โดยเธอเริ่มพาสุนัขไปเที่ยวตั้งแต่ 8 ปีที่แล้ว ซึ่งจากการที่เธอไม่มีรถยนต์ทำให้เธอต้องโดยสารรถไฟหรือเครื่องบิน ทั้งนี้ เครื่องบินไม่สามารถแก้ปัญหาให้เธอได้ เนื่องจากสัตว์เลี้ยงจะถูกพาไปที่เก็บสัมภาระ นั่นหมายความว่าเธอจะไม่เห็นสุนัขของเธอเป็นเวลาหลายชั่วโมง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- กระแส ‘แคมปิ้ง’ ญี่ปุ่นเริ่มคึก เจ้าบ้านผุดธุรกิจให้เช่ารถตู้-อุปกรณ์ครบวงจร แพ็กเกจเริ่มต้น 1.9 แสนบาทต่อวัน
- ญี่ปุ่นเริ่มทดสอบ Alfa-X รถไฟฟ้าที่เร็วที่สุดในโลกแล้ว เตรียมเปิดให้ใช้บริการอย่างเป็นทางการในปี 2030
- ผมมีรายได้เป็นตัวเลข 6 หลักโดยไม่ต้องจบปริญญา ชาวนิวยอร์กเผย มีรายได้ปีละ 4.3 ล้านบาท จากอาชีพ ‘พาสุนัขเดินเล่น’
ซึ่งเธอเคยต้องดูสุนัขของเธอตัวสั่นอยู่ในกระเป๋าระหว่างเช็กอิน “การเดินทางควรเป็นเรื่องสนุก แต่ฉันรู้สึกว่ามันทำให้สุนัขของฉันกลัวมากกว่า”
แต่เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา East Japan Railway Co. (JR-EAST) ได้จัดเที่ยวรถไฟชินคันเซนรุ่นทดลองแบบใหม่ที่สามารถให้สุนัขนั่งบนเบาะข้างๆ ได้
ไม่นานนักเธอก็ต่อแถวขึ้นขบวนรถพร้อมกับสุนัขพันธ์ุชิวาว่าของเธอบนรถไฟชินคันเซนสายโฮคุริคุที่สถานีอุเอโนะพร้อมกับผู้โดยสารอีก 34 คน และสุนัขอีก 20 ตัว ซึ่งผู้โดยสารจะนั่งบนเบาะที่ครอบด้วยแผ่นป้องกันแบคทีเรียแบบพิเศษ
“ฉันเคยต้องการให้รถไฟไปถึงที่หมายให้ไวที่สุด เป็นเหตุให้ฉันไม่มีความทรงจำดีๆ เกี่ยวกับการเดินทางเลย” เธอกล่าว “ฉันขอขอบคุณผู้ให้บริการที่อนุญาตให้เรานั่งรถไฟไปด้วยกัน”
ขณะนี้ JR-EAST กำลังพิจารณาที่จะนำเสนอสิ่งนี้เป็นแพ็กเกจชินคันเซนใหม่ ที่อนุญาตให้ผู้โดยสารเดินทางกับสุนัขในที่นั่งติดกันได้ ท่ามกลางยอดผู้โดยสารที่ซบเซาลงเนื่องจากการระบาดของโควิด
ชิโนะ ฟุรุคาวะ ผู้รับผิดชอบด้านการวางแผนธุรกิจของบริษัทในกลุ่ม JR-EAST ที่ชื่อว่า JR East Start Up Co. กล่าวว่า ผลกระทบที่ยืดเยื้อจากการแพร่ระบาดของโควิดนั้นอยู่เบื้องหลังการตัดสินใจเพิ่มบริการรับส่งสัตว์เลี้ยง
เนื่องจากผู้คนพากันเลี้ยงสัตว์ในช่วงการระบาดของโควิด เธอและเพื่อนร่วมงานจึงคิดบริการสำหรับผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางพร้อมสัตว์เลี้ยงนี้ขึ้นมา เธอบอกว่าเลือกสุนัขเนื่องจากสถานที่ท่องเที่ยวเริ่มเข้าหาลูกค้าที่เป็นเจ้าของสุนัขมากขึ้นผ่านข้อเสนอใหม่ๆ แต่แนวคิดนี้ถูกพิสูจน์ภายในบริษัทแล้วว่ามันขัดแย้งกัน
กระนั้นแนวคิดนี้ได้จุดชนวนให้เกิดการโต้เถียงอย่างรุนแรงในหมู่พนักงาน จึงต้องมีการเตรียมการรอบพิเศษกับแผนกต่างๆ มากมาย เช่น การทำความสะอาดตู้รถไฟและการปรับตารางเวลาการทำงาน
แพ็กเกจเดินทางกับสัตว์เลี้ยงจะมีให้บริการบนรถไฟขบวนพิเศษ แต่ก็ยังมีความท้าทายบางอย่างอยู่ เช่น ผู้โดยสารบางคนแสดงความกังวลเกี่ยวกับการแพ้ขนสัตว์
บริษัทจึงกำลังพิจารณาทางเลือกในการแยกสัตว์เลี้ยงและเจ้าของออกจากตู้รถไฟของผู้โดยสารทั่วไป ขณะเดียวกัน เนื่องจากขั้นตอนการทำความสะอาดจะใช้เวลามากขึ้น ดังนั้นในแต่ละปีการพาสัตว์เลี้ยงนั่งรถไฟจึงมีจำนวนจำกัด
อ้างอิง: