กรมพัฒนาธุรกิจการค้าระบุ ครึ่งปีแรกไทยอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวฯ มากกว่า 326 ราย เม็ดเงินลงทุน 48,000 ล้านบาท โดยชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนมากสุดคือญี่ปุ่น ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ขุดเจาะปิโตรเลียมบนพื้นที่สัมปทานอ่าวไทย ขณะที่คำขอการลงทุนพุ่งขึ้น 70% จากปีก่อนหน้า และ FDI จีน เป็นนักลงทุนรายใหญ่ มูลค่ามากสุดถึง 60,000 ล้านบาท
ทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เปิดเผยว่า ครึ่งปีแรกของปี 2566 (เดือนมกราคม-มิถุนายน) มีการอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จำนวน 326 ราย เม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 48,927 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 3,222 คน
โดยชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุน 5 อันดับแรก ได้แก่
- ญี่ปุ่น ลงทุน 17,527 ล้านบาท
- จีน ลงทุน 11,505 ล้านบาท
- สิงคโปร์ ลงทุน 6,916 ล้านบาท
- สหรัฐอเมริกา ลงทุน 2,913 ล้านบาท
- สวิตเซอร์แลนด์ ลงทุน 1,857 ล้านบาท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ต่างชาติชะลอลงทุน! รอความชัดเจนการเมือง เอกชนห่วงตั้งรัฐบาลช้าเกิน ส.ค. ฉุด GDP เหลือโต 2% เหตุภาคส่งออกยังเสี่ยง และ ‘เอลนีโญ’ ซ้ำเติม
- บริษัทระดับโลกแห่ตั้งฐานผลิตในไทย! Lotus Biscoff และ พริงเกิลส์ ยึดไทยฐานผลิต ดัน FDI ครึ่งปีแรกพุ่ง 3.6 แสนล้านบาท
- สัญญาณย้ายฐานผลิตชัดแล้ว! Isuzu เตรียมย้ายฐานผลิต ‘จากไทยไปอินโดนีเซีย’ เร็วสุดปีหน้า
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 พบว่า การอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 15% โดยจำนวนนักลงทุนที่เข้ามาสูงสุดยังคงเป็นนักลงทุนญี่ปุ่น ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ อาทิ บริการขุดเจาะหลุมปิโตรเลียมภายในบริเวณพื้นที่แปลงสำรวจที่ได้รับสัมปทานในอ่าวไทย บริการบำรุงรักษาหลุมขุดเจาะปิโตรเลียมบนชายฝั่ง การบริการซอฟต์แวร์ ประเภท Enterprise Software และ Digital Content
ขณะที่การลงทุนในพื้นที่ EEC ของนักลงทุนต่างชาติ เดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 มีมูลค่า 10,771 ล้านบาท คิดเป็น 22% ของเงินลงทุนทั้งหมด
นอกจากนี้สำนักข่าว Reuters รายงานว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 ประเทศไทยมีคำขอการลงทุนพุ่งขึ้น 70% จากปีก่อนหน้า โดยได้แรงหนุนจากโครงการของนักลงทุนต่างชาติในภาคส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาหาร อุตสาหกรรมยานยนต์ ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีโครงการลงทุน 80 โครงการ มูลค่า 19,600 หมื่นล้านบาท
จากการยื่นคำขอมีมูลค่ารวม 364,400 ล้านบาท (10,370 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เพิ่มขึ้น 141% เมื่อเทียบเป็นรายปี เป็น 304,000 ล้านบาท
โดยจีนเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุด ด้วยมูลค่าโครงการ 61,500 ล้านบาท ตามด้วยสิงคโปร์และญี่ปุ่น 59,000 ล้านบาท และ 35,300 ล้านบาท ตามลำดับ
อ้างอิง: