อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานญี่ปุ่นเร่งตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดรอบ 40 ปี ทำให้หลายฝ่ายพากันคาดการณ์มากขึ้นเรื่อยๆ ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจสร้างเซอร์ไพรส์ให้แก่ตลาดอีกครั้งด้วยการเปลี่ยนจุดยืนด้านนโยบายการเงิน
วันนี้ (23 ธันวาคม) ทางการญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมราคาอาหารสดในเดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้น 3.7% จากปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 1981 ตามการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์
โดยราคาอาหารแปรรูปที่สูงขึ้น ถือเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่อยู่เบื้องหลังการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม มาตรการต่างๆ ของรัฐบาลญี่ปุ่น รวมถึงมาตรการอุดหนุนการเดินทาง ยังช่วยรักษาให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานให้เติบโตต่ำกว่า 4% อยู่
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) สร้างความประหลาดใจให้กับตลาดด้วยการขยายกรอบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวไปเป็น -0.5% ถึง +0.5% โดยตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดนี้ทำให้มีการคาดการณ์กันอย่างกว้างขว้างมากขึ้นว่า BOJ กำลังเข้าใกล้จุดเปลี่ยนทางนโยบายมากขึ้น
โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเกินเป้าหมายที่ 2% ของ BOJ เป็นเวลา 8 เดือนติดต่อกันแล้ว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมทั้งอาหารสดและพลังงานอยู่ที่ 2.8% ซึ่งชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มความแข็งแกร่ง
ขณะที่ Koya Miyamae นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก SMBC Nikko Securities กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายอาจเกิดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิ หลังจากผู้ว่าการคนใหม่รับตำแหน่งผู้นำและหลังผลการเจรจาค่าจ้าง อย่างไรก็ตาม ตลาดไม่ได้ตัดทอนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นก่อนหน้านั้น โดยระบุว่า Haruhiko Kuroda มีประวัติเปลี่ยนท่าทีอย่างกะทันหันถึง 180 องศามาก่อน ดังนั้นตลาดจึงมีแนวโน้มที่จะไม่เชื่อ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ต้องรีบซื้อตุน? เหตุยุค ‘เงินเยน’ อ่อนค่าอาจจบแล้ว! หลังเงินเฟ้อสหรัฐฯ แผ่วกว่าคาด ดึงดอลลาร์อ่อน
- ราคาห้องพักและโรงแรมใน ญี่ปุ่น พุ่งขึ้นแล้ว 10-20% จากนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวและเงินเฟ้อ
- ญี่ปุ่นจ๋าพี่มาแล้ว! นี่คือ 5 เซอร์ไพรส์เล็กๆ จากญี่ปุ่นที่เปิดประตูต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง
อ้างอิง: