จากการสำรวจในบรรดาธนาคารกลางและกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของ Invesco ที่เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ (10 กรกฎาคม) พบว่า หลายประเทศกำลังส่งทองคำสำรองกลับสู่ประเทศถิ่นฐานมากขึ้นเพื่อป้องกันการคว่ำบาตรจากตะวันตกที่ใช้ต่อรัสเซียซึ่งอาจเกิดขึ้นกับตนในอนาคต
ความพ่ายแพ้ของตลาดการเงินเมื่อปีที่แล้วทำให้เกิดความสูญเสียอย่างกว้างขวางสำหรับผู้จัดการการเงินของรัฐที่ใช้ความคิดพื้นฐาน ส่งผลให้เกิดการทบทวนกลยุทธ์ใหม่ โดยเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและความตึงเครียดทางการเมืองจะยังคงอยู่
กว่า 85% ใน 85 กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติและธนาคารกลาง 57 แห่งที่มีส่วนร่วมในการสำรวจประจำปีของ Invesco Global Sovereign Asset Management เชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อในทศวรรษหน้าจะสูงขึ้นกว่าในทศวรรษที่ผ่านมา
ทองคำและพันธบัตรตลาดเกิดใหม่ถูกมองว่าเป็นสิ่งที่สามารถเดิมพันได้ในสภาพแวดล้อมดังกล่าว แต่การแช่แข็งทองคำและเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของรัสเซียเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่าทั้งหมด 6.4 แสนล้านดอลลาร์ในปีที่แล้วโดยพันธมิตรตะวันตก ทำให้หลายประเทศเริ่มตื่นตัวและเริ่มเปลี่ยนแปลงแนวทางปฏิบัติเช่นกัน
การสำรวจแสดงให้เห็นว่าธนาคารกลางเกือบครึ่งเริ่มแตกแยกจากแบบอย่างที่กำหนดไว้ ผู้ตอบแบบสำรวจเกือบ 60% เชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ทองคำมีความน่าสนใจมากขึ้น ในขณะที่ 68% กำลังดำเนินการสำรองธนาคารเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าในปี 2020 ที่มี 50%
ธนาคารแห่งหนึ่งระบุว่า ได้โยกย้ายทองคำจากลอนดอนกลับสู่ประเทศของตนเพื่อถือให้เป็นสินทรัพย์ที่สามารถรักษาได้อย่างปลอดภัย
YLG พบคนรุ่นใหม่เทรดทองคำสูงขึ้นในแอป 25%
พวรรณ์ นววัฒนทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (YLG) เปิดเผยว่า YLG ได้รวบรวมข้อมูลพฤติกรรมของนักลงทุนในปีนี้พบว่า นักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในทองคำเริ่มมีอายุน้อยลง จากก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอายุเฉลี่ย 40 ปีขึ้นไป แต่ในปีนี้พบว่ามีนักลงทุนที่อายุช่วง 30-40 ปี และต่ำกว่า 30 ปีเข้ามาลงทุนมากขึ้น คิดเป็น 30% และ 25% ตามลำดับของจำนวนผู้ลงทุนทั้งหมดในแอปพลิเคชัน
ในช่วงครึ่งปีแรกราคาทองคำอยู่ในเทรนด์ที่ดี โดยมีช่วงที่ราคาทองคำขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 2,079 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ จากนั้นราคาแกว่งตัวสลับขึ้นลง อย่างไรก็ดีการแกว่งตัวดังกล่าวถือเป็นโอกาสให้นักลงทุนเข้ามาทำกำไรจากส่วนต่างการเคลื่อนไหวราคาในระหว่างวัน
ทั้งนี้ แม้ว่าในปัจจุบันราคาทองคำจะอยู่ในช่วงปรับฐาน เพราะได้รับแรงกดดันจากนโยบายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่ยังคงประกาศว่าจะดำเนินนโยบายดอกเบี้ยขาขึ้นต่อไป ซึ่งน่าจะมีการปรับขึ้นในการประชุมปลายเดือนนี้
แต่จะมีนักลงทุนจำนวนมากที่ไม่เชื่อว่า Fed จะสามารถขึ้นดอกเบี้ยได้อย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้ เพราะเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงถดถอย อย่างไรก็ดีนโยบายดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อราคาทองคำในระยะสั้น
“แม้ว่าราคาทองคำในช่วงนี้จะปรับตัวลดลง แต่ YLG ยังคงอิงตามคำแนะนำของสภาทองคำโลก ว่านักลงทุนควรมีทองคำไว้ในพอร์ตการลงทุนที่ 5-10% ของพอร์ตลงทุนรวม เพื่อลดความผันผวนของพอร์ต เนื่องจากในปีที่ผ่านมาทองคำได้พิสูจน์ให้เห็นว่าแม้จะเป็นปีที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่ทองคำก็ไม่ได้ปรับตัวลดลงหนัก” พวรรณ์กล่าว
อ้างอิง: