เพิ่งจะเข้าใจคำกล่าวที่ว่า ‘ใครก็สร้างนวัตกรรมได้ ขอแค่คุณมีปัญหา และอยากหาทางแก้’ เมื่อ THE STANDARD ได้มีโอกาสเข้าไปสังเกตการณ์งาน Internal Hackathon ของ KBTG ในโครงการ Deep Space by KBTG ภายใต้คอนเซปต์ ‘Eat your own dog food, Eat your own APIs’ ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของ KBTG และน่าจะเป็นประสบการณ์ใหม่ของคนที่ได้อ่านบทความนี้ เพราะคุณจะได้เห็นวัฒนธรรมองค์กรที่สร้างนวัตกรรมเจ๋งๆ ผ่านกิจกรรมที่ดึงศักยภาพของคนในองค์กรออกมาได้อย่างเฉียบขาด
และอย่างที่รู้ Tech Company ทุกแห่งบนโลกจำเป็นอย่างยิ่งที่จะผลักดันให้คนในองค์กรไม่ว่าจะอยู่แผนกใดก็ตาม มีความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม สำหรับ KBTG การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ก็เพื่อสร้าง Innovation Culture ให้เกิดขึ้นทั้งองค์กร ภายใต้ความเป็น One KBTG แบบคน KBTG คือ ยึดแกนหลักของ TAVIA DNA (I = Innovation) ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมนั่นเอง
The First Dogfooding Hackathon จึงเป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนใน KBTG ไม่ว่าจะอยู่แผนกไหน เคยสร้าง Innovation มาหรือเปล่าก็ไม่เป็นไร เพราะงานนี้ต้องการเพิ่มทักษะและสร้าง Innovation จากภายใน ที่ใช้ APIs ให้แฮกกว่า 50 เซอร์วิสอยู่แล้ว
พรีเซนต์ธรรมดาโลกไม่จำ
มีผู้เข้าร่วมสมัครกว่า 400 คน ผู้เข้าร่วมเวิร์กช็อปกว่า 70 คน และ Idea Submission 23 ทีม ผ่านเข้ารอบสุดท้าย 10 ทีมที่จะต้องมา Pitch ต่อหน้าคณะกรรมการและคนใน KBTG ได้เห็นกัน ส่วนคนที่มาร่วมเป็นกำลังใจให้เพื่อนยังสามารถโหวตให้กับทีมที่ชื่นชอบเพื่อมอบรางวัล Popular Vote
ได้ฟังทั้ง 10 ทีมสาดไอเดียและงัดจุดเด่นมาโชว์กันอย่างดุเดือด อาทิ บริการขึ้นเงินหวย ไม่ต้องเสียเวลาไปขึ้นเงินเอง แถมเอาเงินเข้าบัญชีให้เสร็จ, ตู้ล็อกเกอร์ที่ใช้เทคโนโลยีสแกนใบหน้า โยนกุญแจทิ้งไป!, จัดการระบบสินค้าของร้านโชห่วย ลดต้นทุน ลดเวลา หรือ แอปฯ เหรัญญิก เลิกปวดหัวกับจำนวนเงินที่ไม่ลงตัวและต้องควักเนื้ออีกต่อไป เป็นต้น
แต่กว่าจะมาถึงรอบนี้ได้ ไม่ใช่แค่การสร้างไอเดีย เปิดพรีเซนต์ แล้วขายฝัน แต่ทุกทีมต้องสร้าง Working Prototype โดยนำ Deep Tech APIs ที่ KBTG สร้างไว้แล้วมาต่อยอด บริษัทชั้นนำระดับโลกที่เป็น Tech Company ก็ใช้วิธีการนี้ก่อนที่จะปล่อยโปรดักต์ออกสู่ตลาดก็จะต้องทำการ Test กับคนในองค์กร คนที่พัฒนาแพลตฟอร์มจะได้รับฟีดแบ็กโดยตรงอีกด้วย
ทีม Heru พรีเซนต์ไอเดีย
และกว่าจะคลอดออกมาเป็น Working Prototype ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเวิร์กช็อปเพื่อติดอาวุธด้าน Business Innovation เรียนรู้วิธีคิดแบบสตาร์ทอัพ อาทิ Design Thinking, การสร้าง Product, Business Model รวมไปถึงเทคนิคการ Pitching นอกจากนั้นยังต้องเติมทักษะด้าน Technology Deep Tech APIs เรียนรู้และนำ Technology ใหม่ๆ ที่พัฒนาขึ้นภายใน KBTG เช่น Blockchain, Face Recognition, Financial API และ NLP ไปใช้สร้าง Working Prototype จริงสำหรับ Hackathon
ภายใต้โจทย์และการเวิร์กช็อปที่ให้กับผู้เข้าแข่งขัน ก็เพื่อให้ทุกคนนำ Deep Technology ที่ KBTG สร้างขึ้น โดยต้องคำนึงถึง Business Model และ Feasibility ที่จะสามารถต่อยอดกับธุรกิจของธนาคารได้จริง งานของทีมผู้ชนะนอกจากจะได้เงินรางวัล ยังมีโอกาสนำ Prototype ไปต่อยอดทำโปรดักต์จริงใน Project Apollo ซึ่งเป็นโครงการ Owned Sandbox ของ KBTG
โฉมหน้าคณะกรรมการทั้ง 4 ท่านในครั้งนี้
ภายใต้การตัดสินของคณะกรรมการทั้ง 4 ท่าน ได้แก่ เปิ้ล-จรัสศรี พหลโยธิน Managing Director, KBTG, มิค-จรุง เกียรติสุภาพงศ์ Managing Director, KBTG, ปรี-สุปรีชา ลิมปิกาญจนโกวิท FSVP KBank และ กระทิง-เรืองโรจน์ พูนผล ประธาน KASIKORN Business-Technology Group (KBTG)
งานนี้มี 6 ทีมคว้ารางวัลไปครอง ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ ทีม Heru รางวัลรองชนะเลิศ ทีม K-Happy Lotto และทีม K-Argus รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ทีม ARSA และทีม Possible K+Shop และ Popular Vote ทีม K-Lox ได้ใจชาว KBTG ไปเต็มๆ
ทีม Heru คว้าแชมป์คิดเซอร์วิสได้ตรงใจกรรมการ
ทีม Heru ชนะใจกรรมการด้วยเซอร์วิสที่อินไซด์ความกดดันของเด็กนักเรียนที่ต้องรับหน้าที่เหรัญญิกประจำกลุ่ม เมื่อต้องเก็บเงินทีไรตามเงินก็ยาก แถมเข้าเนื้อประจำ ได้คุยกับทีมผู้ชนะที่คนในทีมล้วนมาจากฝ่าย Agile Code & DevOps บอกว่า ที่มาของเซอร์วิสนี้ก็มาจาก Pain Point จริงของคนในทีมนั่นเอง
“มันเป็นปัญหาเบสิกที่เกิดขึ้นกับคนวัยนี้ ถ้าเรามีเซอร์วิสสักอย่างที่ไปช่วยแก้ปัญหาให้เขาได้ก็น่าจะดี อีกมุมหนึ่งเราก็มองว่าใน KBank เอง การจะไปเจาะกลุ่มนักเรียน นักศึกษา มันยังไม่มีอะไรที่เข้าไปได้ เลยเป็นไอเดียให้ลองทำเซอร์วิสนี้
“งาน Deep Space by KBTG ทำให้เราเชื่อมั่นว่าทีม DevOps เราทำได้มากกว่าแค่ DevOps คือเราไม่ได้มานั่งทำ Pipeline ให้อย่างเดียว ในความเป็นทีมของเราทำได้ครบวงจร ทำได้ตั้งแต่ Requiement ทำ Test จนกระทั่ง Deploy ผมว่านี่คือศักยภาพที่เห็นในทีม เรามีจุดแข็งหรือความสามารถอื่นๆ นอกเหนือจากงานที่เราทำอยู่ มันอาจขาดแค่โอกาส ขาดแค่เวทีที่จะได้ทำจริงจัง แต่กิจกรรมนี้ให้โอกาสเราได้ลองทำอะไรใหม่ๆ เอาไอเดียที่ไม่เคยคิดว่าจะได้ทำ ก็ได้ลองมานำเสนอ
“เรื่องความเป็นทีมเวิร์กก็เห็นชัดมาก เข้าใจการทำงานเป็นทีมมากขึ้น เพราะถึงพวกเราจะอยู่แผนกเดียวกัน แต่ก็ไม่เคยทำโปรเจกต์ร่วมกันเลย มันทำให้เห็นความสามารถบางอย่างของเพื่อนร่วมทีมซึ่งเราไม่เคยรู้ รวมทั้งศักยภาพของเราเองด้วย ถ้าเราลงมือมันก็ทำได้จริง”
กระทิง-เรืองโรจน์ พูนผล ประธาน KASIKORN Business-Technology Group (KBTG)
ด้านผู้บริหาร กระทิง-เรืองโรจน์ พูนผล ประธาน KASIKORN Business-Technology Group (KBTG) ผู้เป็นลมใต้ปีกผลักดันคน KBTG ให้มี Innovation Culture บอกว่า Deep Space by KBTG ครั้งนี้พิสูจน์แล้วว่าคน KBTG ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ ตอกย้ำความเป็น TAVIA DNA ของ KBTG ที่ต้องการให้ทุกคนเชื่อว่า ฉันสามารถสร้างนวัตกรรมได้ “เราหวังว่าการจัด Internal Hackathon จะเป็นแรงเหวี่ยงและกลายเป็นวัฒนธรรม เมื่อมันเป็นส่วนหนึ่งแล้ว ไม่ว่าเขาทำงานตรงไหน เขาก็สามารถสร้างนวัตกรรมได้เสมอ และทำให้นวัตกรรมเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานประจำวัน เมื่อนั้นแหละถึงจะเรียกว่า Innovation Culture
“งานนี้ทำผมเซอร์ไพรส์อยู่เหมือนกันนะ แต่เป็นเซอร์ไพรส์ที่ดี ไม่น่าเชื่อว่า Developer จะพรีเซนต์กันเก่งมาก และทุกทีมก็มี Customer Centric เพราะเขาเข้าใจลูกค้า เขาสามารถเข้าใจ Pain Point และหาวิธีแก้ปัญหาได้ถูกต้อง เขาสามารถรวม Customer Centric และ Business Model ให้อยู่ด้วยกันได้ ไม่ใช่ทำโปรดักต์เขียนโค้ดอย่างเดียว แต่ดูว่ามันมีอิมแพ็กกับลูกค้าอย่างไร
“ทุกทีมน่าสนใจหมด ถ้ามีเวลามากกว่านี้ผมเชื่อว่าพวกเขาจะทำได้ดีกว่านี้ ที่เลือกทีม Heru (เซอร์วิสเหรัญญิก) เพราะมันเป็น Pain Point ที่กรรมการทุกคนเห็นหมด เป็นปัญหาที่ไม่เคยถูกแก้ ซึ่งวิธีแก้ที่เขาคิดออกมามันง่ายมาก เราเชื่อว่ามัน Prototype เอาไปใช้งานได้ทันที
“วันนี้เราได้เห็นความเป็น One KBTG เกิดขึ้นจริงๆ เพราะวัฒนธรรมมันเกิดจากทุกคน เกิดจากการทำงานร่วมกัน ตรงกับวัตถุประสงค์ในการจัด Internal Hackathon ต้องบอกว่าได้เห็นเกินกว่าที่หวังด้วย เพราะเราตั้งใจจะให้ตอบโจทย์ TAVIA DNA คือ T = Team Work แต่กลายเป็นว่าดึงความเป็นคน KBTG ออกมาชัดเจนครบทุกด้าน ทั้ง Team work I = Innovation และ A = Agility”
โฉมหน้าชาว KBTG ผู้เต็มเปี่ยมด้วยแพสชันที่จะเปลี่ยนโลกด้วยนวัตกรรม
“สุดท้ายแล้ว Innovation ต้องมาจากแพสชัน งานนี้เราได้เห็นความมุ่งมั่นของคน KBTG และมันจะเป็นรากฐานที่แข็งแรงของ Innovation Culture อย่างแท้จริง”
ต้องขออภัยที่บทความนี้ไม่อาจเปิดเผยไอเดียของทั้ง 10 ทีมได้ แต่รับประกันว่าถ้าคุณมองให้ลึกลงไปในวัฒนธรรมองค์กรของ KBTG คุณจะได้เรียนรู้อะไรอีกมากและเชื่อว่า “คุณเองก็สร้างนวัตกรรมได้ ถ้าคุณมีปัญหา และอยากหาทางแก้”
พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า