2 บริษัทเซมิคอนดักเตอร์ยักษ์ใหญ่ที่สำคัญที่สุดในสหรัฐอเมริกาอย่าง Intel และ NVIDIA ต่างกำลังถกเถียงกันว่า กฎของมัวร์ยังจำเป็นกับพวกเขาอยู่หรือไม่
Pat Gelsinger ซีอีโอของบริษัทผลิต CPU ยักษ์ใหญ่อย่าง Intel กล่าวในงานเปิดตัวสินค้าใหม่ในช่วงที่ผ่านมาว่า ‘กฎของมัวร์’ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่กล่าวว่าชิปประมวลผลจะทำงานเร็วขึ้น แต่ราคาจะปรับลดลงต่อเนื่องในอัตราที่คาดการณ์ได้ จากผู้ก่อตั้งบริษัทอย่าง Gordon Moore นั้นยัง ‘ใช้ได้และใช้ดี’
ผ่านมา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- โจ ไบเดน เตรียมขยายข้อห้ามบริษัทสหรัฐฯ ส่งออกเซมิคอนดักเตอร์และอุปกรณ์สำหรับผลิตชิปไปจีน
- COM7 คาดอานิสงส์ iPhone 14 ดันงบ Q3 ดีกว่าปกติ พร้อมหวังกินมาร์เก็ตแชร์ตลาดไอที มูลค่า 2 แสนล้านบาท เพิ่มเป็น 30%
- แกะพอร์ต 10 หุ้น ในมือ สุระ คณิตทวีกุล เจ้าของ COM7 มหาเศรษฐีไทย อันดับที่ 49
ทั้งนี้ NVIDIA ซึ่งขณะนี้เป็นบริษัทที่ใหญ่กว่า Intel ถึงสามเท่า มีความคิดที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะ Jensen Huang ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของบริษัทกล่าวว่ากฎของมัวร์สิ้นสุดลงแล้ว
“วิธีการจ่ายไฟให้ทรานซิสเตอร์อย่าง Brute Force และกฎของมัวร์นั้นไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้อีกแล้ว” Huang กล่าวกับนักลงทุนหลังเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่
ทัศนคตินี้ตอกย้ำความต่างอย่างสิ้นเชิงระหว่าง Intel กับบริษัทเซมิคอนดักเตอร์อื่นๆ ของสหรัฐฯ โดย Intel มุ่งมั่นที่จะผลิตชิปบางส่วนของตนต่อไป ขณะที่ NVIDIA และบริษัทอื่นๆ เลือกที่จะพึ่งพาโรงงานของบริษัทอื่นนอกสหรัฐฯ เป็นหลัก
เป็นเวลาหลายปีที่ Intel เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ และผลิตชิปที่มีทรานซิสเตอร์หนาแน่นที่สุดในโลกอย่างต่อเนื่อง แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Intel ถูกแซงหน้าโดย Taiwan Semiconductor Manufacturing Company และ Samsung ซึ่งปัจจุบันสามารถผลิต CPU ที่มีทรานซิสเตอร์ขนาด 5 นาโนเมตร ได้แล้ว ในขณะที่ Intel ยังคงยึดติดกับเทคโนโลยี 10 นาโนเมตรและ 7 นาโนเมตร
หนึ่งในเป้าหมายหลักของ Intel ภายใต้การคุมของ Gelsinger คือการกลับไปเป็น ‘ผู้นำด้านประสิทธิภาพ’ นั่นหมายความว่าชิปของ Intel จะต้องรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเท่ากับชิปที่ทำโดยคู่แข่ง
Intel ต้องการให้กฎของมัวร์ยังคงอยู่ เนื่องจากบริษัทยังคงพยายามยัดเยียดทรานซิสเตอร์ให้มากขึ้นบนชิปตัวเดียว แต่ขนาดก็มีข้อจำกัด เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่ง ทรานซิสเตอร์จะมีขนาดเล็กมากจนเกิดปัญหาทางฟิสิกส์
โปรเซสเซอร์ใหม่ล่าสุดของ NVIDIA นั้นถูกผลิตโดย TSMC ซึ่งปัจจุบันมีเทคนิคการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่ล้ำหน้าที่สุด และเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดในโลก
แทนที่จะเป็นกฎของมัวร์ คำตอบของ NVIDIA ต่อความท้าทายด้านวิศวกรรมในการสร้างทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กคือแนวคิดที่ Huang เรียกว่า ‘การประมวลผลแบบเร่งความเร็ว’
ในวิสัยทัศน์ของเขา โปรแกรมที่ใช้ทรัพยากรเยอะอย่างปัญญาประดิษฐ์หรือ AI จะสามารถทำงานบนโปรเซสเซอร์เฉพาะที่ทำงานกับมันได้ดีที่สุด ซึ่งจะเป็นโปรเซสเซอร์กราฟิกที่ NVIDIA พัฒนาขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญพิเศษของ Intel แล้ว
อ้างอิง:
ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH
- Twitter: twitter.com/standard_wealth
- Instagram: instagram.com/thestandardwealth
- Official Line คลิก https://lin.ee/xfPbXUP