×

วิกฤตที่โรงพยาบาล ห้อง ICU เต็ม ผู้ป่วยโควิดล้นเกินระบบสาธารณสุข 5 เท่า

30.07.2021
  • LOADING...
Hospital Crisis

การระบาดของโควิดในปัจจุบันนี้สามารถพูดได้เต็มปากว่าระบบสาธารณสุขในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอาจไม่สามารถรองรับได้อีกแล้ว เตียง ICU เต็มทุกโรงพยาบาล ส่วนเตียงที่รองรับผู้ป่วยสีเหลืองในโรงพยาบาลก็เต็มหมด นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยโควิดอาการระดับสีเหลืองต้องนอนรอในห้องฉุกเฉิน นั่นหมายความว่าโรงพยาบาลไม่สามารถรับผู้ป่วยทางบ้านได้อีก เพราะเมื่อเตียงว่าง (ไม่ว่าจะว่างลงเพราะผู้ป่วยหายแล้วหรือเสียชีวิต) ก็ต้องนำผู้ป่วยที่นอนรอในห้องฉุกเฉินเข้าไปรักษาก่อน ทุกวันนี้ทำให้เราเห็นหลายโรงพยาบาลประกาศปิดห้องฉุกเฉินชั่วคราว

 

THE STANDARD มีโอกาสเข้าไปดูห้อง ICU ผู้ป่วยโควิดที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ สถานการณ์ที่นี่ไม่แตกต่างจากทุกโรงพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล แพทย์ทุกคนที่เราพูดคุยด้วยสะท้อนตรงกันว่าสิ่งที่บั่นทอนจิตใจพวกเขามากที่สุดไม่ใช่ภาระงานที่หนัก แต่คือการต้องปฏิเสธรักษาคนไข้ เพราะไม่สามารถรองรับได้จริงๆ ทั้งที่รู้อยู่แก่ใจว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะวิกฤตระดับที่ต้องรีบรักษาทันที

 

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงสถานการณ์เตียงรองรับผู้ติดเชื้อโควิดว่า จำนวนเตียงในกรุงเทพฯ และปริมณฑล บางจังหวัดที่มีการระบาดมากๆ จะเจอปัญหาเตียง ICU หรือกึ่ง ICU ไม่เพียงพอรองรับผู้ป่วย ตอนนี้ทางออก คือ หากอาการไม่หนัก ต้องให้รักษาที่บ้าน (Home Isolation) ซึ่งในกรุงเทพฯ ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำไปแล้วกว่า 30,000 เตียง ส่วนกรุงเทพฯ ก็ทำไปแล้วหลายพันเตียง รวมถึงแยกกักในชุมชน (Community Isolation) ก็เป็นจุดหนึ่งที่ดำเนินการอยู่

 

“ถ้าผู้ป่วยในกรุงเทพฯ เกินพันก็แย่แล้ว วันนี้ยอดทั่วประเทศ 1.7 หมื่นคน เป็นกรุงเทพฯ 4-5 พันคน เรียนตรงๆ เตียงไม่พอทั้งสีเหลือง สีแดง ตอนนี้เต็มหมด จะมีสีเขียวที่ว่างตาม Hospitel ที่สีเขียวเริ่มว่าง เพราะเราทำ Home Isolation ซึ่งก็มีปัญหาเรื่องซัพพลายยาซึ่งหลายฝ่ายกำลังช่วยกันอยู่ เตียงในกรุงเทพฯ หากมีผู้ป่วย 3-4 พันราย เกินรองรับมาแล้ว 3 เท่า ตอนนี้เพิ่มเป็น 5 เท่า ก็เกินลิมิตไปแล้ว 5 เท่า เห็นแผนที่สีแดงที่คนกดขอความช่วยเหลือ ต้องขออภัยจริงๆ หน้างานไม่ไหวจริงๆ นำเข้าไปก็ไม่รู้จะให้ไปนอนที่ไหน ER (ห้องฉุกเฉิน) หลายโรงพยาบาลบางครั้งต้องปิดชั่วคราว เพราะไม่มีที่แม้กระทั่งที่ตั้งเตียง” นพ.สมศักดิ์กล่าว

 

นพ.สมศักดิ์บอกกับ THE STANDARD ด้วยว่า Home Isolation และ Community Isolation คือ ทางออกจากวิกฤตระยะสั้น แต่จำเป็นต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งโรงพยาบาลรัฐ คลินิก และโรงพยาบาลเอกชนร่วมกันทำให้ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ควบคู่กับการเปลี่ยน Hospitel ในกรุงเทพฯ ให้รองรับผู้ป่วยสีเหลืองได้ ซึ่งตอนนี้ก็ยังขาดเครื่องผลิตออกซิเจนที่เริ่มขาดตลาดและหายากมากขึ้น

 

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

Hospital Crisis

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising