×

สัมภาษณ์พิเศษ โอ ธีรวัฒน์ เกี่ยวกับการออกแบบ Window Display ใหม่ของ Hermès ที่ Central Embassy

11.02.2025
  • LOADING...
hermes-display-terawat

ไม่ว่าคุณจะเดินผ่านร้าน Hermès ที่ปารีส, นิวยอร์ก, โซล, โตเกียว หรือกรุงเทพฯ สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้คือทุกร้านจะมี Window Display ที่ถูกรังสรรค์แตกต่างกัน กับงานฝีมือขั้นเทพและสะท้อนความเหนือจินตนาการด้านกรอบความคิดสร้างสรรค์ โดยล่าสุดกับร้าน Hermès ณ ห้าง Central Embassy ที่ถูกขยายและต่อเติมใหม่ก็มีไฮไลต์อยู่ที่ Window Display เช่นกัน ซึ่งทางแบรนด์ก็ได้ Commission ให้ศิลปินชาวไทยอย่าง โอ-ธีรวัฒน์ เฑียรฆประสิทธิ์ มาออกแบบอีกครั้งหลังร่วมงานกันมาหลายปี

 

อะไรคือแรงบันดาลใจ กระบวนการคิด และแง่มุมด้านความยั่งยืนของ โอ-ธีรวัฒน์ เฑียรฆประสิทธิ์ ในการดีไซน์สอง Window Display ของร้าน Hermès ที่ Central Embassy ทาง THE STANDARD POP ได้ไปสัมภาษณ์ พร้อมถามเรื่องมุมมองต่อการเป็นศิลปินในยุคนี้ และความฝันว่าในอนาคตอยากทำงานกับ Hermès ถึงขั้นไหน

 

โอ-ธีรวัฒน์ เฑียรฆประสิทธิ์

โอ-ธีรวัฒน์ เฑียรฆประสิทธิ์

 

อยากให้เล่าถึงแรงบันดาลใจกับการดีไซน์ Window Display ใหม่ของ Hermès ที่ Central Embassy

 

โอ ธีรวัฒน์: มันเริ่มมาจาก Theme of the Year ที่ต้องเกี่ยวข้องกับการวาด ซึ่งเอาจริงๆ อย่างแรกที่ผมประทับใจเกี่ยวกับ Hermès มาจากผ้าพันคอ เพราะผมเป็นนักวาดภาพประกอบ ดังนั้นเลยหลงใหลกับการวาด แล้วปรากฏว่าผ้าพันคอ Hermès ที่เคยเห็นมามันสวยจับใจมาตลอด เราดูผ้าพันคอ Hermès มานานมากแล้ว เนื่องจากธีมมันเกี่ยวข้องกับการวาด เลยรู้สึกการวาดที่อิมแพ็กต์มากที่สุดของ Hermès คือด้านผ้าพันคอ จึงเอาผ้าพันคอผืนที่เราเห็นครั้งแรกแล้วชอบเลย มันคือผ้าพันคอ Mon Petit Cheval Mexicain ซึ่งจริงใจมากเลย เป็นม้าที่ใส่อานม้าสไตล์เม็กซิกัน แล้วยืนอยู่ตัวเดียวเลย กรอบภาพก็เป็นสี Solid ธรรมดา รู้สึกว่ามันงดงามและซื่อสัตย์มากๆ  ดูเป็น Hermès ได้แบบหมดจด ทุกอย่างถูกที่ถูกใจไปหมดเลย ก็เลยมีภาพนั้นติดในหัวมาโดยตลอด รู้สึกว่าชอบผ้าพันคอผืนนั้นมาก จนพอมารู้ธีมในการทำ Window เราเลยดึงความประทับใจแรกที่เห็นผ้าพันคอผืนนั้นมาตีความเป็น Window Display มันจะต้องธีมของการวาดมาด้วย ผ้าพันคอพอถูกมาทำเป็น Window Display เราก็ใส่กิมมิกของการวาด การปาดสี ที่ทำให้รู้สึกว่าผ้าพันคอนี้มีการเคลื่อนไหวอยู่ในนั้นตลอดเวลา 

 

ส่วนอีก Window Display หนึ่งเลือกใช้เป็นลายอะไร และ Process เป็นอย่างไรบ้าง

 

โอ ธีรวัฒน์: หลังจากผ้าผืนแรกได้รับการ Approve ไปแล้ว เราก็ต้องไปหาว่าอีก Window Display หนึ่งควรจะต้องเป็นผ้าพันคอผืนไหน ซึ่งเราก็คิดถึงผ้าพันคอรุ่น Brides de Gala ที่เรามีความข้องใจเสมอมาว่าคือลายอะไร ซึ่งมันคือบังเหียน (Bridle) ความยากคือทั้งสอง Window อันหนึ่งเป็นม้าตัวเดียว อีก Window หนึ่งเป็นเหมือนเลย์เอาต์ที่มีบังเหียนครอบม้าสองอันวางคู่กัน เราจะทำเป็นสามมิติอย่างไร ก็ต้องมีการ Develop รูปด้านในเพื่อให้ Depth มันมีความแมตชิ่งกับความกว้างของตู้ Window มี Depth ที่น่าสนใจ แต่ก็ต้องนึกถึงว่าเราจะ Install โปรดักต์อย่างไรให้ดูโอเค ถูกเชิดชูในแบบที่ควรจะเป็น ควรจะกลมกลืนกับ Window 

 

พอได้แบบปุ๊บ ก็มีการพัฒนาวัสดุที่เรารู้สึกว่าขั้นตอนนี้ใช้เวลานานที่สุด เรามีวัสดุในใจแล้ว แต่เป็นลักษณะที่คิดแบบคนที่วาดภาพ ซึ่งจะคิดว่าตรงขอบอยากให้เป็นปาดสี ตรงขอบอีกฝั่งหนึ่งอยากให้เป็นซี่ๆ เพราะว่าเราอยากได้ฟีลลิ่งของงานคราฟต์ที่เป็นงานท้องถิ่นลงไปใน Window นี้ โดยเราก็ต้องออกไปเฟ้นหาวัสดุเองตามสิ่งที่คิดออก ซึ่งจริงๆ ใกล้ตัวมากเลย เราออกไปก็เจอด้วยความบังเอิญ หรือจะเป็นโชคชะตาไม่รู้ รู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้มันใช่ก็เลยเอามา

 

หลังจากนั้นเราก็ต้องเวิร์กกับทีม Production ให้เขาพัฒนา ซึ่งเราว่า Process นี้นาน เพราะว่าทั้งเราและทีม Production ยังไม่คุ้นเคยกับวัสดุเหล่านี้ ก็ต้องพัฒนาตรงนี้ แล้วก็มีการตรวจเช็กระหว่างทางไปเรื่อยๆ จน Window ออกมาเสร็จเรียบร้อย

 

Window Display ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากผ้าพันคอ Mon Petit Cheval Mexicain

Window Display ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากผ้าพันคอ Mon Petit Cheval Mexicain

Window Display ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากผ้าพันคอ Mon Petit Cheval Mexicain

 

แล้วมีวัสดุไหนของ Window Display ที่เน้นเรื่องความยั่งยืนไหม

 

โอ ธีรวัฒน์: จริงๆ พาร์ตหนึ่งที่ใช้เป็นหลักเลยก็คือการนำหนังจริงๆ ของ Hermès ที่นอกเหนือจากการผลิตสินค้าเอามาใช้ตกแต่ง Window ซึ่งถือว่าเป็นพาร์ตใหญ่ของ Window รอบนี้เลย Hermès เองก็มีสีหนังจาก Petit H ให้เลือกใช้ และสีมันก็ตรงกับมู้ด Window ที่เลือกไว้อยู่แล้ว ก็เลยคุยกับทีมไทยแลนด์เลยว่าสเปกในพาร์ตนี้ขอเป็นหนัง เพราะว่าเราจะได้มีการนำสิ่งนั้นมาใช้ซ้ำได้ และบางพาร์ตของ Window จะมีฟีลลิ่งดูเป็นกระดาษ​ ส่วนพวกวัสดุท้องถิ่นอย่างไม้ไผ่หรือลูกปัดไม้เราก็ใช้ แต่จะพยายามหลีกเลี่ยงอะไรที่ดูเป็น Chemical มากๆ

 

อีกวัสดุก็คือใยสับปะรดที่เราเอามาทำเป็นหางม้า เป็นวัสดุท้องถิ่นที่มาจากการรีไซเคิล โดยนำใยสับปะรดมาตีกันจนเป็นเส้นใยไฟเบอร์ แล้วก็ทำเป็นรูปทรงของหางม้าและแผงคอ ส่วนเรื่องความยั่งยืนฝั่งคน เราก็ใช้ช่างฝีมือท้องถิ่นทั้งหมด เราไม่ได้มีการให้ศิลปินจากเมืองนอกมาที่ไทยเลย

 

ทุกครั้งที่ดีไซน์ Window มีกระบวนความคิดอะไร หรือสิ่งที่คนเห็นแล้วทราบว่าคุณโอคือผู้ออกแบบ Window นี้ 

 

โอ ธีรวัฒน์: ผมเอา Theme of the Year เป็นหลักก่อน แล้วค่อยๆ หาทางปรับแบบให้มันเข้ากับแบรนด์ ซึ่งผมจะแอด Element ที่ตัวผมเองรู้สึกว่าเป็น Hermès และ Hermès ก็จะคิดแบบนี้แน่เลย เขาน่าจะใช้ Element นี้แน่ๆ แต่ผมพยายามไม่ลืมซิกเนเจอร์ของตัวเอง เนื่องจากผมเป็น Illustrator ที่ใส่ใจเรื่อง Silhouette ของ Window Composition กับ Silhouette ของแต่ละ Object มันต้องมาเป็นอย่างที่ผมคิด ผมคิดว่าภาพจำมันน่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Composition, Silhouette แล้วก็ภาพรวมของ Window ที่ต้องแตกต่างกัน แล้วธีมถูกแตกเป็น Direction อีก ด้วยความที่มันต้องเปลี่ยนทั้ง Material และ Style เนื่องจากเข้าใจว่าแบรนด์ไม่อยากให้ Window ดูซ้ำกันทั้งปี ผมก็พยายามคีพซิกเนเจอร์ตัวเองลงไปใน Direction ที่มันแตกต่างกัน 

 

รู้สึกอย่างไรที่ Hermès เน้นการทำ Window แบบ Craftsmanship แทนที่จะเป็นพวกจอ LED หรือนางแบบใส่หุ่นเหมือนแบรนด์อื่นๆ

โอ ธีรวัฒน์: ในฐานะของคนออกแบบ Window เราว่า Window ของ Hermès สะท้อนกับสิ่งที่ Hermès เป็น สินค้าเขาเหมือน Craftsmanship ทำมือแทบจะทั้งหมดเลย เพราะฉะนั้นมันก็เหมาะสำหรับผมที่ Window เราจะเป็นคราฟต์เลเวลนี้ มันก็รีเลตกับความคราฟต์ของโปรดักต์​ รู้สึกว่าสิ่งที่เป็นดิจิทัลมากๆ มันก็ค่อนข้างจะเป็นอีกแบบหนึ่ง เราก็รู้สึกว่าความ Manual ความทำมือ ความงานฝีมือ แล้วก็การเคลื่อนไหวแบบ Kinetic ที่ไม่ใช่การใช้จอมันดูเป็น Hermès มากที่สุด

 

Window Display ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากผ้าพันคอรุ่น Brides de Gala

Window Display ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากผ้าพันคอรุ่น Brides de Gala

Window Display ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากผ้าพันคอรุ่น Brides de Gala

 

ในฐานะศิลปินคนหนึ่งที่ใช้งานฝีมือเล่าเรื่อง รู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับบทบาท AI

 

โอ ธีรวัฒน์: จริงๆ สิ่งนี้ถ้านอกเหนือจากงาน Hermès มันก็ Effect กับความรู้สึกของเราด้วยนะ ในฐานะของคนวาดรูปคนหนึ่ง ในฐานะคนทำ Window ก็อีกความคิดหนึ่ง เรามองว่าสำหรับเรา ถ้าเราวัดจากตัวเอง เราคิดว่าภาพศิลปินส่งถึงศิลปิน มันดูกันออกว่าสิ่งนี้มีความตั้งใจขนาดไหน เพราะฉะนั้นเรารู้สึกว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่ AI ส่งไม่ถึงเรา และเราก็มั่นใจว่าศิลปินด้วยกันเองก็ดูออกว่าสิ่งนี้ AI ครีเอตขึ้นมา สิ่งนี้คนทำขึ้นมา พอถึงในระดับหนึ่งเราอาจจะต้องแคร์สายตาศิลปินด้วยกันมากกว่า

 

แล้วความทรงจำแรกของคุณกับแบรนด์ Hermès คืออะไร?

 

โอ ธีรวัฒน์: ก็กลับไปที่คำถามแรกเลยที่คุยกันเลยว่า เราจำได้เลยว่าเรายังไม่รู้จักแบรนด์เลย เรายังไม่ได้สนใจ Branding อะไรเลย แต่เราก็ไปเกาะ Window เพื่อดูผ้าพันคอผืนหนึ่ง เราจำไม่ได้ด้วยว่าปีไหน มันตั้งแต่ตอนเรายังเรียนอยู่เลย เรารู้สึกว่าโห สวยมาก Hermès เหมือนเปิดโลกของภาพวาดที่ไปปรากฏตรงผ้าพันคอให้เรา หลังจากนั้นพอเรารู้ว่ามันคือ Hermès เราก็ติดตามมาเรื่อยๆ เราเลยเป็นคนที่ส่องดูผ้าพันคอของเขาตลอดมา นั่นละครับ ความทรงจำแรกคืออันนี้

 

จำได้ไหมว่าเป็นดีไซน์ไหน?

 

โอ ธีรวัฒน์: เป็นสีส้ม ถ้าจำไม่ผิดเราว่าน่าจะเป็นสเกตช์ Pegasus สีส้ม ตัวม้าเป็นสีขาว ลายเส้นสเกตช์เห็นที่เมืองนอกครับ

 

ถ้ามีโอกาสได้ร่วมงานกับ Hermès ในมุมอื่นๆ อยากทำพาร์ตไหน?

 

โอ ธีรวัฒน์: อยากไปในเลเวล Hermès Horizon เลยครับ อยากไปเลเวลที่มีคนมา Made to Order สินค้า Hermès กับผลงานเรา เพราะแปลว่าเขาชื่นชอบผลงานเราจริงๆ เขาถึง Select ของเราเป็น Made to Order

 

ร้าน Hermès แบบ Duplex ที่ Central Embassy

ร้าน Hermès แบบ Duplex ที่ Central Embassy

 

แล้วเราอยากจะเห็นผลงานเราไปอยู่ในพาร์ตอะไรของสินค้า Hermès Horizon 

 

โอ ธีรวัฒน์: ผมชอบใบเรือครับ อยู่บนใบเรือ

 

ถ้าจะให้อธิบายแบรนด์ Hermès วันนี้ คุณจะพูดอย่างไร

 

โอ ธีรวัฒน์: ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร แต่เอาเป็นว่าผมในฐานะศิลปินคนหนึ่ง ถ้าให้เลือกผมอยากทำให้ Hermès ที่สุดเสมอมา เพราะรู้สึกว่าดีไซน์ของเรามันจะถูกเอาไป Develop ให้สวยงามในแบบที่เราคาดไม่ถึง อยู่บนคุณภาพที่ดีที่สุด แต่ความเป็น Artistic ของ Hermès กับคุณภาพของ Hermès รู้สึกว่าทั้งสองอย่างมันดูเป็น Hermès ที่สุด 

 

แล้วคิดว่าแบรนด์ Hermès ช่วยส่งเสริมอะไรในการเป็นศิลปินคนหนึ่ง

 

โอ ธีรวัฒน์: เดิมผมเป็น Illustrator ทำงานสองมิติ และผมก็วาดรูปบนกระดาษ พอได้ทำงานกับ Hermès เหมือนทุกอย่างมันถูกพัฒนาขึ้นไปเอง คือทุกวันนี้ผมไม่ได้มองตัวเองเป็น Illustrator ขนาดนั้นแล้ว ทุกวันนี้ผมมองตัวเองว่าเป็นดีไซเนอร์ ผมจะวาด ผมจะออกแบบอะไรก็ตาม มันจะต้องมีที่มาที่ไป มีความเหมาะสมและ Realistic แต่ว่าในขณะที่ Hermès เหมือนเปิดกว้างทางความคิดให้มากๆ แบรนด์ Shape ในด้านการทำงานและเปิดกว้างผมในด้านจินตนาการ

 

ร้าน Hermès ที่ Central Embassy

ร้าน Hermès ที่ Central Embassy

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories