โจ ไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ เตรียมประกาศรายชื่อบุคคลที่จะเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ระดับสูงในคณะรัฐบาลของเขาในอีกไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า โดยกระบวนการเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา หลังสำนักงานที่ดูแลการเปลี่ยนผ่านตำแหน่งประธานาธิบดีของไบเดน ประกาศชื่อ รอน เคลน หนึ่งในที่ปรึกษาทีมหาเสียงที่ไบเดนไว้วางใจมากที่สุด ให้รับตำแหน่งหัวหน้าเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาว
นอกจากนี้ไบเดนยังต้องเลือกเจ้าหน้าที่ระดับสูงในคณะรัฐบาลอีกหลายตำแหน่ง รวมถึงรัฐมนตรี 15 กระทรวง ผู้อำนวยการสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ผู้อำนวยการสำนักงานงบประมาณและการจัดการ เอกอัครราชทูตผู้แทนการค้า ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ และผู้อำนวยการสำนักงานวิสาหกิจขนาดย่อม
โดยสำนักข่าว CNN เปิดเผยรายชื่อบุคคลที่คาดว่าเป็นตัวเต็งที่อาจได้รับเลือกในตำแหน่งเหล่านี้ จะมีใครบ้างและโปร์ไฟล์แต่ละคนเหมาะสมกับตำแหน่งแค่ไหน
- หัวหน้าเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาว
รอน เคลน (ประกาศชื่อแล้วเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน)
– เป็นผู้ช่วยไบเดนมายาวนานและเป็นที่ปรึกษาสูงสุดในทีมหาเสียงของไบเดน
– อดีตหัวหน้าเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวและผู้ช่วยอาวุโสของประธานาธิบดี บารัก โอบามา
– อดีตหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของรองประธานาธิบดี อัล กอร์ และ เจเน็ต เรโน อัยการสูงสุด
– เคยได้รับการแต่งตั้งจากโอบามา เป็นผู้ประสานงานรับมืออีโบลาของทำเนียบขาวในปี 2014
– เป็นที่ปรึกษาด้านการเตรียมตัวสำหรับการดีเบตของไบเดน, โอบามา, บิล คลินตัน, อัล กอร์, จอห์น เคอร์รี, ฮิลลารี คลินตัน
- เจ้าหน้าที่อาวุโสทำเนียบขาว
เซดริก ริชมอนด์
– ทีมหาเสียงและทีมเปลี่ยนผ่านตำแหน่งประธานาธิบดีของไบเดน
– ส.ส. พรรคเดโมแครตจากรัฐลุยเซียนา
– อดีตประธานสมาชิกสภาผิวสี (Congressional Black Caucus)
- รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
ซูซาน ไรซ์
– อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติในยุครัฐบาลโอบามา
– เป็นหนึ่งในตัวเลือกคู่ชิงรองประธานาธิบดีของไบเดน
– เคยถูกมองว่าจะเป็นตัวแทน ฮิลลารี คลินตัน ในการรับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
– เคยตกเป็นเป้าวิจารณ์จากพรรครีพับลิกัน กรณีแสดงความเห็นปกป้องรัฐบาลโอบามาในการรับมือกับเหตุโจมตีและสังหารทูตและชาวอเมริกัน 3 คน ที่สถานกงสุลในเมืองเบนกาซีของลิเบีย
– อดีตผู้อำนวยการองค์การระหว่างประเทศและการรักษาสันติภาพของสภาความมั่นคงแห่งชาติ
– อดีตผู้ช่วยเลขาธิการสำนักกิจการแอฟริกันของกระทรวงการต่างประเทศ
– อดีตผู้อำนวยการอาวุโสด้านกิจการแอฟริกันของทำเนียบขาว
– อดีตผู้ช่วยพิเศษของประธานาธิบดี บิล คลินตัน
แอนโทนี บลินเคน
– อดีตรัฐมนตรีช่วยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ยุครัฐบาลโอบามา
– อดีตผู้ช่วยประธานาธิบดีโอบามา
– อดีตรองประธานที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติยุครัฐบาลโอบามา
– อดีตที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติของรองประธานาธิบดีไบเดน
– สมาชิกอาวุโสศูนย์การศึกษายุทธศาสตร์และการต่างประเทศ
– อดีตผู้อำนวยการอาวุโสด้านการเขียนสุนทรพจน์และวางแผนยุทธศาสตร์
– ผู้อำนวยการเจ้าหน้าที่พรรคเดโมแครตในคณะกรรมาธิการความสัมพันธ์ต่างประเทศของวุฒิสภา
– อดีตสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติในยุครัฐบาลคลินตัน
– อดีตผู้ช่วยพิเศษของประธานาธิบดีคลินตัน
– อดีตผู้อำนวยการอาวุโสด้านกิจการยุโรป
วุฒิสมาชิก คริส คูนส์
– ปัจจุบันดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิกรัฐเดลาแวร์
– สนิทสนมกับไบเดนมายาวนาน
– เป็นหนึ่งในสมาชิกสภาคองเกรสกลุ่มแรกที่สนับสนุนการลงสมัครชิงประธานาธิบดีของไบเดน
– เคยดำรงตำแหน่งคณะกรรมาธิการในวุฒิสภาหลายชุด ทั้งคณะกรรมาธิการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะกรรมาธิการการจัดสรร คณะกรรมาธิการตุลาการ คณะกรรมาธิการวิสาหกิจและผู้ประกอบการขนาดย่อม และคณะกรรมาธิการจริยธรรม
– เป็นที่รู้จักจากการทำงานกับกลุ่มการเมืองทุกฝ่าย มีความสัมพันธ์อันดีกับสมาชิกระดับสูงของพรรครีพับลิกันหลายคน ที่มีแนวทางและความสนใจในการทำงานร่วมกัน
- รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง
เลล เบรนาร์ด
– ปัจจุบันดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะผู้ว่าการธนาคารกลางของสหรัฐฯ
– อดีตปลัดกระทรวงการคลัง
– อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงการคลังในยุครัฐบาลโอบามา
– เคยรับหน้าที่ผู้แทนสหรัฐฯ เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีช่วยกระทรวงการคลังของกลุ่ม G20 และ G7
– อดีตสมาชิกคณะกรรมการเสถียรภาพทางการเงินในยุครัฐบาลคลินตัน
– รองที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและรองผู้ช่วยประธานาธิบดีคลินตัน
– ผู้แทนส่วนตัวของประธานาธิบดีคลินตัน เข้าร่วมการประชุม G7/G8
– หากได้รับเลือก จะเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลังหญิงคนแรกของสหรัฐฯ
ซาราห์ บลูม ราสกิน
– อดีตรัฐมนตรีช่วยกระทรวงการคลังในยุครัฐบาลโอบามา
– อดีตผู้ว่าการคณะกรรมการธนาคารกลางสหรัฐฯ
– อดีตกรรมาธิการกฎระเบียบทางการเงินของรัฐแมรีแลนด์
– เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับกลุ่มสมาชิกหัวก้าวหน้าในพรรคเดโมแครต
- รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม
มิเชล เฟลอร์นอย
– หากได้รับเลือก จะเป็นรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมหญิงคนแรกของสหรัฐฯ
– อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม ดูแลด้านนโยบายในรัฐบาลโอบามา
– เคยรับหน้าที่หัวหน้าทีมเปลี่ยนผ่านกระทรวงกลาโหมของโอบามา
– อดีตรองผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมด้านยุทธศาสตร์และการลดภัยคุกคาม
– อดีตรองผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมด้านยุทธศาสตร์
– ร่วมก่อตั้งศูนย์ความมั่นคงใหม่ของชาวเมริกัน
– ร่วมก่อตั้งบริษัทให้คำปรึกษาด้านยุทธศาสตร์ WestExec Advisors
– อดีตที่ปรึกษาอาวุโสศูนย์การศึกษายุทธศาสตร์และการต่างประเทศ
- รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ
อเลฮานโดร มายอร์กาส์
– อดีตรัฐมนตรีช่วยกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิยุครัฐบาลโอบามา
– อดีตผู้อำนวยการสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและสัญชาติ (USCIS)
– ระหว่างดำรงตำแหน่งใน USCIS เขาเคยกำกับดูแลโครงการคุ้มครองเยาวชนผู้อพยพเข้าประเทศที่ไม่มีเอกสาร ไม่ให้ถูกเนรเทศ
ลิซา โมนาโก
– มีบทบาทสำคัญในการดำรงตำแหน่งคณะกรรการคัดเลือกของรองประธานาธิบดีไบเดน
– อดีตที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งมาตุภูมิและการต่อต้านก่อการร้ายในยุครัฐบาลโอบามา
– อดีตผู้ช่วยอัยการสูงสุดด้านความมั่นคงแห่งชาติของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ
– อดีตหัวหน้าเจ้าหน้าที่และที่ปรึกษาของโรเบิร์ต มุลเลอร์ ผู้อำนวยการสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯในยุครัฐบาลโอบามา
- อัยการสูงสุด (รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม)
ดัก โจนส์
– วุฒิสภาจากรัฐแอละแบมา (เพิ่งพ่ายในการเลือกตั้งให้แก่ ทอมมี ทูเบอร์วิลล์ จากรีพับลิกัน)
– เคยได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี บิล คลินตัน ให้ดำรงตำแหน่งอัยการเขตเหนือของรัฐแอละแบมา
– เคยเป็นผู้นำการฟ้องร้องสมาชิกกลุ่มชาตินิยมผิวขาว Ku Klux Klan ในคดีวางระเบิดโบสถ์ Street Baptist ที่ 16
– มีส่วนร่วมในการดำเนินคดี อีริก รูดอล์ฟ ผู้ก่อการร้ายชาวอเมริกัน ที่ก่อเหตุโจมตีคลินิกทำแท้งและสังหารตำรวจในเมืองเบอร์มิงแฮม
แซลลี เยตส์
– ถูกประธานาธิบดีทรัมป์ไล่ออกจากตำแหน่งรักษาการอัยการสูงสุด หลังมีข่าวว่าเธอเป็นผู้แจ้งต่อคณะทนายความของกระทรวงยุติธรรม ไม่ให้ดำเนินการโต้แย้งทางกฎหมายเพื่อปกป้องคำสั่งพิเศษของประธานาธิบดีทรัมป์ เรื่องการห้ามประชากรจาก 7 ชาติมุสลิมเดินทางเข้าสหรัฐฯ เป็นเวลา 90 วัน และระงับการรับผู้ลี้ภัยทั้งหมดเป็นเวลา 120 วัน และระงับโครงการรับผู้ลี้ภัยจากซีเรียแบบไม่มีกำหนด ซึ่งต่อมาคำสั่งพิเศษดังกล่าวถูกผู้พิพากษาศาลปัดตก ก่อนที่ศาลสูงสุดจะพิจารณาสนับสนุนคำสั่งพิเศษในฉบับปรับแก้เนื้อหา
- รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย
ส.ส. เด็บ ฮาแลนด์
– สมาชิกสภาคองเกรสหญิงจากรัฐนิวเม็กซิโก
– รองประธานคณะกรรมการทรัพยากรธรรมชาติของสภาผู้แทนราษฏร
– คณะอนุกรรมการอุทยานแห่งชาติป่าไม้และที่ดินสาธารณะ
– เป็นหนึ่งในหญิงชนพื้นเมืองอเมริกันที่ได้รับตำแหน่งในสภาคองเกรส
– ไบเดนเคยบอกว่า ต้องการให้คณะรัฐบาลของเขามีความคล้ายกับประเทศ
– หากได้รับเลือกเป็นรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย จะถือเป็นรัฐมนตรีชนพื้นเมืองอเมริกันคนแรก
- รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน
ซารา เนลสัน
– ประธานระหว่างประเทศของสมาคมพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน – CWA
– โดดเด่นจากภาพลักษณ์ดาวรุ่งในการออกมาเคลื่อนไหวด้านแรงงานระหว่างที่เกิดการชัตดาวน์รัฐบาล ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2018 – มกราคม 2019 ซึ่งเธอให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์และใช้โซเชียลมีเดียเตือนอันตรายจากการไม่จ่ายค่าแรงพนักงานสนามบิน และเรียกร้องให้มีการประท้วงของกลุ่ม AFL–CIO ซึ่งเป็นสหพันธ์สหภาพแรงงานที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ
วุฒิสมาชิก เบอร์นี แซนเดอร์ส
– วุฒิสมาชิกจากรัฐเวอร์มอนต์ตั้งแต่ปี 2007 – ปัจจุบัน
– ลงสมัครชิงตัวแทนพรรคเดโมแครตสู้ศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2016 และ 2020
– ระหว่างการหาเสียงชิงตัวแทนพรรคเดโมแครตลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดี แซนเดอร์สพยายามเรียกเสียงสนับสนุนจากกลุ่มแรงงาน แต่ยังถูกมองว่ายากจะเอาชนะไบเดน และได้รับเสียงสนุนจากกลุ่มผู้นำแรงงานบางส่วน
– แซนเดอร์สให้สัมภาษณ์ต่อ CNN เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (11 พฤศจิกายน) ว่าหากไบเดนขอให้เขารับตำแหน่งรัฐมนตรีแรงงาน เขาจะยอมรับตำแหน่ง พร้อมระบุว่าหากผลงานของเขาทำให้เขาสามารถยืนหยัดต่อสู้เพื่อครอบครัวแรงงานได้ เขาก็จะทำ
มาร์ตี วอลช์ นายกเทศมนตรีบอสตัน
– นายกเทศมนตรีเมืองบอสตัน
– ได้รับการสนับสนุนจากประธานสหพันธ์สหภาพแรงงาน AFL-CIO ให้รับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ถือเป็นแรงสนับสนุนสำคัญที่อาจก่อให้เกิดการหารือในพรรคเดโมแครต
– เกิดในครอบครัวสหภาพแรงงานและเป็นผู้นำสหภาพแรงงานบอสตัน ก่อนจะได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรี
แอนดี เลวิน ส.ส. รัฐมิชิแกน
– เป็นที่นิยมในฐานะ ส.ส. หัวก้าวหน้า และเติบโตทางการเมืองด้วยฐานเสียงสนับสนุนจากผู้นำแรงงานหลายกลุ่ม
– มีบทบาทการจัดการในกลุ่มสหภาพแรงงาน
– ได้รับความน่าเชื่อถือในฐานะนักเคลื่อนไหวด้านสภาพภูมิอากาศ จากการช่วยผลักดันโครงการ Green Jobs Initiative หรือการจ้างงานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- รัฐมนตรีกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์
วิเวก เมอร์ธี
– แพทย์อายุรศาสตร์
– ประธานร่วมในคณะกรรมการที่ปรึกษาโควิด-19 ของไบเดน
– อดีตเจ้ากรมแพทย์ทหารยุครัฐบาลโอบามา แต่ลาออกในปี 2017 หลังจากการร้องขอของรัฐบาลทรัมป์
- รัฐมนตรีกระทรวงการเคหะและพัฒนาเมืองสหรัฐฯ
ไคชา แลนซ์ บอตทอมส์ นายกเทศมนตรีแอตแลนตา
– นายกเทศมนตรีแอตแลนตา และดาวรุ่งของพรรคเดโมแครต
– เป็นที่จับตามองจากทั่วประเทศ หลังจากที่ออกมาประณามการก่อจลาจลในแอตแลนตา ภายหลังการประท้วงเรียกร้องความยุติธรรมให้ จอร์จ ฟลอยด์ ชายผิวสีที่เสียชีวิตในมินนิแอโปลิส จากการถูกตำรวจใช้เข่ากดคอ
– อดีตผู้พิพากษาและสมาชิกสภาเมือง
– เคยได้รับการพิจารณาเป็นคู่ชิงรองประธานาธิบดีสหรํฐฯ คู่กับไบเดน
- รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
แรนดี ไวน์การ์เทน
– ประธานสหพันธ์ครูอเมริกัน
– สมาชิกสหพันธ์สหภาพแรงงาน AFL-CIO
– มีบทบาทผลักดันการปฏิรูปการศึกษา
– อดีตประธานสหพันธ์ครู
– อดีตกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจาก แอนดรูว์ คัวโม ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก
– อดีตประธานคณะกรรมการแรงงานเทศบาลนครนิวยอร์ก
- ผู้อำนวยการสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
เจย์ อินส์ลี
– ผู้ว่าการรัฐวอชิงตัน
– อดีต ส.ส. รัฐวอชิงตัน ของพรรคเดโมแครต
– ลงสมัครชิงตัวแทนพรรคเดโมแครตสู้ศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2020
– อุทิศตนแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัญหาสิ่งแวดล้อม และชูนโยบายสิ่งแวดล้อมเป็นนโยบายหลักในการหาเสียง
– เคยทำหน้าที่คณะกรรมาธิการด้านพลังงานและการพาณิชย์ และคณะกรรมาธิการด้านพลังงานและภาวะโลกร้อน ของสภาผู้แทนราษฎร
- ทูตสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติ
พีต บุตติเจจ
– อดีตนายกเทศมนตรีเมืองเซาท์เบนด์ รัฐอินดีแอนา
– ลงสมัครชิงตัวแทนพรรคเดโมแครตสู้ศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2020 เป็นผู้สมัครอายุน้อยที่สุด และเป็นชาว LGBTQ คนแรกที่ประกาศตัวชิงตำแหน่งประธานาธิบดี
– ทลายกำแพงด้วยการเป็นผู้สมัครเกย์คนแรกที่เอาชนะในการเลือกตั้งขั้นต้นของพรรคเดโมแครตที่รัฐไอโอวาและนิวแฮมป์เชียร์
อ้างอิง: