ปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญกับทั้งภาคเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก รวมถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจขององค์กรและการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ที่ได้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยเปลี่ยนโลก ซึ่งเห็นได้จากนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ โดยหนึ่งในนั้นก็คือการพลิกโฉมของกลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์ หรือ Healthcare Innovation ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเมกะเทรนด์ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวนี้ไม่เพียงแต่จะสร้างประโยชน์ในเชิงการรักษาและป้องกันโรคเท่านั้น ยังก่อให้เกิดประโยชน์เชิงธุรกิจอีกด้วย
โดยจากอดีตจนถึงปัจจุบันจะเห็นได้ว่าโลกพลิกโฉมเปลี่ยนแปลงไปมาก ซึ่งหากพูดถึงเรื่องอุตสาหกรรมทางการแพทย์ในอดีต เราอาจจะนึกถึงเรื่องโรงพยาบาลและยาเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันเมื่อพูดถึงเรื่องนี้ เราจะเห็นได้ถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ข้อมูลทางพันธุกรรมที่หลากหลาย และปัจจัยด้านโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น จำนวนประชากรผู้สูงอายุที่มีจำนวนมากขึ้น ผู้คนที่ใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้น และการอุบัติของโรคใหม่ จึงทำให้กลุ่มธุรกิจนี้มีแนวโน้มที่จะเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ไปพร้อมกับนวัตกรรมและวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของมนุษย์ โดยมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์เข้ามามีส่วนช่วยเพื่อให้การรักษามีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการรักษาที่ไม่ใช่เพียงแค่การรักษาตามอาการ การวินิจฉัย เครื่องมือและอุปกรณ์ ซึ่งแตกต่างจาการแพทย์แบบดั้งเดิมที่ต้องใช้เวลาเข้าถึงยากและราคาสูง เช่น การตรวจหามะเร็งด้วยวิธีการตัดชิ้นเนื้ออาจถูกแทนที่ด้วยการตรวจเลือด การรักษาที่ช่วยลดขั้นตอนการผ่าตัด หรือการลดการใช้ยาที่มีความรุนแรงมากขึ้น เป็นต้น
นอกจากนี้ยังรวมถึงการให้บริการ Telehealth คือ การนำเทคโนโลยีการสื่อสารรูปแบบต่างๆ มาใช้ในการบริการด้านสุขภาพ เพื่อให้เข้าถึงการรักษาพยาบาลได้สะดวกขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องมาที่โรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างแพทย์ถึงแพทย์ การให้คำปรึกษาระหว่างแพทย์กับคนไข้ หรือการให้ความรู้เรื่องยาจากเภสัชกรสู่ประชาชน
ในส่วนของการลงทุนนั้น หากพิจารณาถึงโอกาสและความสำคัญการลงทุนในการลงทุนตามธีม Healthcare Innovation จะเห็นว่าเป็นอีกหนึ่งธีมการลงทุนที่ส่งผลดีกับตลาดและนักลงทุนที่กำลังจับตามองถึงเทรนด์และศักยภาพในการเติบโตนี้ และด้วยวิกฤตการณ์โควิดที่ทั่วโลกได้เผชิญ ถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้เกิดการคิดค้นและวิจัยพัฒนา เพื่อการรักษาด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ และทำให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของกลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์มากยิ่งขึ้น
สำหรับนักลงทุนที่อยากเกาะเทรนด์ Healthcare Innovation ห้ามพลาดกับกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Healthcare Innovation (SCB Healthcare Innovation: SCBIHEALTH) เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว ได้แก่ Baillie Gifford Worldwide Health Innovation Fund (กองทุนหลัก) ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน บริหารโดย Baillie Gifford Investment Management (Europe) Limited จดทะเบียนภายใต้กฎหมายของประเทศไอร์แลนด์ และอยู่ภายใต้ UCITS กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging) ตามความเหมาะสมสำหรับสภาวการณ์ในแต่ละขณะ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการลงทุน
โดยกองทุนหลักบริหารโดยทีมผู้เชี่ยวชาญจาก Baillie Gifford ที่มีปรัชญาการลงทุนมุ่งเน้นการเติบโตระยะยาว และลงทุนครบครันในธีมนวัตกรรมทางการแพทย์ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง เช่น 10x Genomics – บริษัทด้าน Biotechnology ที่พัฒนาเครื่องมือในการวิเคราะห์ระดับ DNA จากสหรัฐฯ, Ambu – ผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบ Single-use ลดโอกาสในการติดเชื้อเมื่อใช้ซ้ำจากเดนมาร์ก, Moderna – ผู้นำในเทคโนโลยีการรักษา mRNA ที่ใช้ข้อมูลเชิงพันธุกรรมจากสหรัฐฯ, Masimo – บริษัทด้าน Medtech ผลิตเครื่องมือในการติดตามอาการ จัดเก็บและส่งผ่านข้อมูลได้ง่ายขึ้นจากสหรัฐฯ และ M3 – ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ข้อมูลวงการแพทย์และยาจากญี่ปุ่น เป็นต้น
ทั้งนี้ กองทุนหลักจะคัดเลือกหุ้นเด่นรายตัวจากหลากหลายนวัตกรรมทางการแพทย์ (Bottom-up) เพื่อเฟ้นหาไอเดียการลงทุนในบริษัทที่สร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ที่มีโอกาสเป็นไปได้อย่างครบครัน เริ่มตั้งแต่การทำความเข้าใจสาเหตุของโรค การวินิจฉัย การบำบัดรักษา พัฒนาเครื่องมือและผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการป้องกัน และมุ่งให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งยังเน้นพอร์ตการลงทุนที่มีความเชื่อมั่นสูง (High-conviction) ประมาณ 20-50 ตัว โดยไม่ยึดติดน้ำหนักการลงทุนกับดัชนีอ้างอิง นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มุมมอง กับนักวิทยาศาสตร์และนักเขียนเชิงวิชาการชั้นนำ รวมถึงมีการใช้ข้อมูลทั้ง Public และ Private Companies จากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทั่วโลกอีกด้วย
นอกจากนี้ กองทุน SCBIHEALTH ยังได้เปิดให้นักลงทุนทั่วไปได้เลือกลงทุนถึง 4 Share Class ได้แก่ 1. SCBIHEALTH(A) – ชนิดสะสมมูลค่า 2. SCBIHEALTH(E) – ชนิดช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ 3. SCBIHEALTH(P) – ชนิดผู้ลงทุนกลุ่ม/บุคคล และ 4. SCBIHEALTH(SSF) – ชนิดเพื่อการออม
กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวอยู่ในหมวดอุตสาหกรรม Healthcare จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้ยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน RMF/SSF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน รวมถึงควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนตัดสินใจลงทุน เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้