×

5 เรื่องราวตระการตา พระราชพิธีเสด็จฯ เลียบพระนครทางชลมารค

12.12.2019
  • LOADING...

ครั้งหนึ่งในชีวิต กับการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าของชาติไทย ด้วยการเฝ้ารับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ชื่นชมพระบารมีด้วยความจงรักภักดีและความภาคภูมิใจในโบราณราชประเพณีอันทรงคุณค่า กับการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพุทธศักราช 2562 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 12 ธันวาคม 2562

 

เสด็จฯ เลียบพระนครทางชลมารค

 

1. ครั้งแรกในรอบ 94 ปี

การเสด็จเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นปี 2486 ในสมัยรัชกาลที่ 7 สู่รัชสมัยรัชกาลที่ 10 จะมีพระราชพิธีครั้งสำคัญการเสด็จเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งประวัติศาสตร์ในวันที่ 12 ธันวาคม 2562

 

2. รัชกาลที่ 10 ประทับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี จะเสด็จประทับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เสด็จเลียบพระนครไปตามแม่น้ำ ตั้งแต่ท่าวาสุกรีถึงท่าราชวรดิฐ ระยะทางประมาณ 3.4 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 45 นาที

 

3. บทเห่เรือให้จังหวะสัญญาณฝีพาย ด้วยความภักดี

สำหรับบทเห่เรือในพระราชพิธีครั้งนี้ มีการประพันธ์บทเห่ขึ้นมาใหม่โดยนาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย ผู้แต่งกาพย์เห่เรือ รวม 3 บท คือ 1. บทสรรเสริญพระบารมี ที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ 2. บทชมเรือ และ 3. บทบุญกฐิน ที่ใช้เนื้อหาเดิม ความยาวบทละ 20-24 นาที

 

4. กำลังพล 2,331 นาย 

กำลังพลประจำเรือพระราชพิธี ได้คัดเลือกกำลังพลจากกองทัพเรือจำนวน 2,331 นาย แบ่งเป็นกำลังพลฝีพาย 2,200 นาย และกำลังพลที่เกี่ยวข้อง เช่น กำลังพลจากสำนักพระราชวัง และนักดนตรีประจำเรือ 131 นาย

 

5. โบราณราชประเพณี มรดกล้ำค่าคู่แผ่นดินไทย

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค หมายถึง ริ้วขบวนเรือพระราชพิธีที่จัดขึ้นสำหรับพระเจ้าอยู่หัว มีมาแต่โบราณกาล ตั้งแต่สมัยสุโขทัยสืบทอดต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน

 

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X