×

GFPT – 4Q66 ดีเกินคาดจากส่วนแบ่งกำไร

21.02.2024
  • LOADING...
GFPT

เกิดอะไรขึ้น:

 

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 บมจ.จีเอฟพีที (GFPT) รายงานกำไรสุทธิ 4Q66 อยู่ที่ 410 ล้านบาท ลดลง 9%YoY แต่เพิ่มขึ้น 29%QoQ สูงกว่าคาด 10% เพราะส่วนแบ่งกำไรทั้งจาก GFN และ McKey แข็งแกร่ง หากตัดกำไรอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 8 ล้านบาทออกไป กำไรปกติ 4Q66 อยู่ที่ 403 ล้านบาท ลดลง 4%YoY โดยเกิดจากยอดขายและมาร์จิ้นที่ลดลง แต่เพิ่มขึ้น 27%QoQ โดยเกิดจากยอดขาย มาร์จิ้น และส่วนแบ่งกำไรที่ดีขึ้น เงินปันผลปี 2566 อยู่ที่ 0.15 บาทต่อหุ้น (XD วันที่ 4 มีนาคม) ใน 4Q66 มีรายการที่สำคัญ ดังนี้

 

  1. ยอดขายลดลง 3%YoY สู่ 4.8 พันล้านบาท เนื่องจากยอดขายที่ลดลงในธุรกิจอาหาร (ลดลง 9%YoY เพราะปริมาณขายและราคาลดลง) ไปหักล้างยอดขายที่สูงขึ้นในธุรกิจฟาร์มและธุรกิจอาหารสัตว์ (เพิ่มขึ้น 4%YoY) สำหรับธุรกิจอาหาร ปริมาณการส่งออกโดยตรงอยู่ที่ 7,700 ตัน ลดลง 11%YoY จากการส่งออกไปยังญี่ปุ่นและจีนลดลง ในขณะที่การส่งออกไปยังยุโรปปรับตัวดีขึ้น แต่เพิ่มขึ้น 17%QoQ จากการส่งออกในทุกตลาดที่สำคัญปรับตัวดีขึ้น 

 

ราคาขายส่งออกของอุตสาหกรรมไปยังยุโรปอยู่ที่ 4,100 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (ลดลง 11%YoY และลดลง 2%QoQ) และไปยังญี่ปุ่นอยู่ที่ 5,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (ทรงตัว YoY แต่เพิ่มขึ้น 9%QoQ) ราคาผลิตภัณฑ์พลอยได้โครงไก่ในประเทศอยู่ที่ 14.5 บาทต่อกิโลกรัม ลดลง 29%YoY แต่เพิ่มขึ้น 26%QoQ 

 

  1. อัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 12.4% ลดลง 130bps YoY เพราะยอดขายส่งออกที่มีมาร์จิ้นสูงปรับตัวลดลง แต่เพิ่มขึ้น 30bps QoQ เพราะยอดขายส่งออกดีขึ้นและต้นทุนอาหารสัตว์ลดลง 

 

  1. ส่วนแบ่งกำไรเพิ่มขึ้นสู่ 198 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 21%YoY และ 78%QoQ) เนื่องจากส่วนแบ่งกำไรจาก McKey เพิ่มขึ้นสู่ 133 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 44%YoY เพราะยอดขายส่งออกดีขึ้น ซึ่งช่วยชดเชยส่วนแบ่งกำไรจาก GFN ที่ลดลงสู่ 65 ล้านบาท ลดลง 9%YoY เพราะราคาผลิตภัณฑ์พลอยได้ในประเทศที่ลดลงไปหักล้างการส่งออกที่ดีขึ้น

 

สำหรับประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์ ดังนี้

 

  1. การส่งออกดีขึ้น GFPT ตั้งเป้าปริมาณการส่งออกปี 2567 เติบโต 8-10%YoY สู่ 31,000-32,000 ตัน (ใกล้เคียงกับ 33,000 ตันในปี 2565) โดยปริมาณส่งออกไปยังญี่ปุ่นและจีนจะเพิ่มขึ้นจากฐานต่ำ และปริมาณส่งออกไปยังยุโรปจะเพิ่มขึ้นในระดับปานกลางท่ามกลางราคาส่งออกในระดับทรงตัว YoY โดยใน 1Q67 

 

GFPT คาดว่าปริมาณการส่งออกจะปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ ~8,000 ตัน (เพิ่มขึ้น 16%YoY และ 4%QoQ) ด้วยแรงหนุนจากปริมาณส่งออกไปยังยุโรปที่แข็งแกร่ง เนื่องจากความขัดแย้งในทะเลแดงส่งผลทำให้ระยะเวลาในการขนส่งนานขึ้น 2 สัปดาห์ ลูกค้าในยุโรปจึงเร่งสั่งซื้อและยอมรับราคาผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น (ราคาผลิตภัณฑ์ CIF ในยุโรปเพิ่มขึ้น 2-5%QoQ YTD แต่ยังลดลง 8%YoY) ทั้งนี้ GFPT มีการรับออร์เดอร์ล่วงหน้าและมีการล็อกต้นทุนค่าขนส่งในอีก 1 เดือนถัดไป โดยผลกระทบนับถึงปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ 

 

  1. ราคาในประเทศและต้นทุนอาหารสัตว์ใน 1Q67TD ราคาไก่มีชีวิตและผลิตภัณฑ์พลอยได้โครงไก่ในประเทศอยู่ที่ 40.5 บาทต่อกิโลกรัม (ลดลง 7%YoY แต่เพิ่มขึ้น 5%QoQ) และ 16.5 บาทต่อกิโลกรัม (ลดลง 13%YoY แต่เพิ่มขึ้น 17%QoQ) ใน 1Q67TD ราคา Spot ข้าวโพดและราคากากถั่วเหลืองนำเข้าปรับตัวลดลง YoY สู่ 10.4 บาทต่อกิโลกรัม (ลดลง 22%YoY แต่ทรงตัว QoQ) และ 22.8 บาทต่อกิโลกรัม (ลดลง 3%YoY แต่เพิ่มขึ้น 4%QoQ) สำหรับปี 2567 GFPT คาดว่าราคาไก่ในประเทศจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับ 1Q67TD โดยอิงกับอุปสงค์และอุปทานในปัจจุบันและต้นทุนข้าวโพดที่ลดลง 

 

  1. ส่วนแบ่งกำไรในปี 2567 ส่วนแบ่งกำไรจาก McKey มีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย YoY แต่ GFN จะปรับตัวดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดใน 1H67 จากการส่งออกที่ดีขึ้น

 

กระทบอย่างไร:

 

หลังรายงานผลประกอบการในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ราคาหุ้น GFPT ปรับขึ้น 1.71% สู่ระดับ 11.90 บาท ขณะที่ SET Index ปรับขึ้น 0.87% สู่ระดับ 1,393.10 จุด 

 

แนวโน้มผลประกอบการ 2567:

 

InnovestX Research คาดว่ากำไร 1Q67 จะเติบโต YoY โดยเกิดจากปริมาณการส่งออกที่ดีขึ้นและมาร์จิ้นที่กว้างขึ้น (ยอดขายส่งออกที่มีมาร์จิ้นสูงปรับตัวเพิ่มขึ้นและต้นทุนอาหารสัตว์ลดลง) แต่จะลดลง QoQ จากปัจจัยฤดูกาล ด้วยการส่งออกที่ดีขึ้นและต้นทุนอาหารสัตว์ที่ลดลง ดังนั้นจึงปรับประมาณการกำไรปี 2567 เพิ่มขึ้น 7% 

 

สำหรับกลยุทธ์การลงทุนได้ปรับคำแนะนำสำหรับ GFPT ขึ้นจาก Neutral สู่ Outperform โดยปรับราคาเป้าหมายกลางปี 2567 อ้างอิงวิธี STOP ใหม่เป็น 14.5 บาทต่อหุ้น (จาก 13.5 บาท) โดยอิงกับ P/E 13 เท่าสำหรับธุรกิจอาหารสัตว์ 11 เท่าสำหรับธุรกิจฟาร์ม และ 15 เท่าสำหรับธุรกิจอาหาร

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ การเปลี่ยนแปลงในต้นทุนอาหารสัตว์และนโยบายรัฐบาล รวมทั้งอุปทานสุกร (โปรตีนทดแทน) ที่สูงขึ้น ปัจจัยเสี่ยงด้าน ESG ที่สำคัญคือ การบริหารจัดการพลังงาน ของเสีย และน้ำ ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน (E) นโยบายด้านสุขภาพและความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงาน (S)

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X