ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิดที่ผ่านมา เชื่อว่าหลายคนคงจะมีประสบการณ์ต้องปิดกิจการชั่วคราว หรือหยุดทำงานจนทำให้เกิดปัญหาเงินช็อตกันบ้าง ส่วนใครที่ยังไม่เคยเจอปัญหาแบบนี้ก็ขอแสดงความยินดีด้วย
แต่เพื่อความไม่ประมาท SCB CIO ชวนทุกคนมาสร้างเกราะป้องกันเอาไว้แต่เนิ่นๆ เผื่อวันข้างหน้าจะได้รับมือไหว โดยไอเท็มดีๆ ที่ SCB CIO มองว่าสามารถใช้เป็นแหล่งเก็บเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน รวมถึงเงินออมเพื่อเป้าหมายระยะสั้นๆ ได้ก็คือ กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market) นั่นเอง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- SCB EIC คาดนักท่องเที่ยวจีนทะลักเข้าไทยปีนี้ ‘ไม่ต่ำกว่า 4 ล้านคน’ พร้อมมองความเสี่ยงโลกถดถอยเริ่มลดลงจาก 3 ปัจจัย
- SCB CIO มองเงินบาทสิ้นปีแตะ ‘33-34 บาทต่อดอลลาร์’ แนะนักลงทุนป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน
- SCBX โชว์กำไรสุทธิปี 65 จำนวน 3.75 หมื่นล้าน โต 5.5% รับรายได้ดอกเบี้ยพุ่ง ขณะที่ ttb กวาดกำไรทะลุ 1.4 หมื่นล้าน เพิ่มจากปีก่อน 36%
ใครที่กำลังมองหาช่องทางเก็บเงินเตรียมไว้ใช้เผื่อมีอะไรฉุกเฉิน Money Market ถือเป็นเครื่องมือที่ตรงสเปกพอสมควร เพราะขึ้นชื่อว่าเงินเผื่อฉุกเฉินก็ควรจะนำออกมาใช้ได้ไวในยามที่ต้องการ ซึ่ง Money Market เป็นกองทุนรวมที่ได้เงินคืนไวพอสมควร คือขายวันนี้ในเวลาทำการ ก็ได้เงินแล้วในวันทำการถัดไป แถมยังเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ดังนั้นจึงถือเป็นไอเท็มที่ดีสำหรับการใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างวินัยการออมและการลงทุนด้วย
ส่วนคำแนะนำในการเตรียมเงินเพื่อเป็นสภาพคล่องเผื่อฉุกเฉิน คือควรจะมีอย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน แต่ถ้าจะให้ดี จากการผ่านสถานการณ์โควิดที่ธุรกิจปิดๆ เปิดๆ กันอย่างยาวนานแล้ว หากสามารถทำได้ก็ควรเตรียมสภาพคล่องเผื่อฉุกเฉินเอาไว้ 6 เท่าของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนจะดีกว่า
สาเหตุที่แนะนำให้แบ่งเงินสภาพคล่องหรือเงินที่จะใช้เพื่อเป้าหมายระยะสั้นๆ มาเก็บผ่านกองทุน Money Market ก็เพราะว่ายุคนี้โอนง่าย จ่ายสะดวก อาจจะทำให้เผลอหยิบเงินที่เตรียมไว้เป็นสภาพคล่องไปช้อปปิ้งหรือใช้จ่ายฟุ่มเฟือยได้ ทางที่ดีแยกเก็บคนละช่องทางแบบนี้ก็จะช่วยให้อุ่นใจได้มากกว่า
นอกเหนือจากการลงทุนใน Money Market เพื่อเก็บสภาพคล่องแล้ว ใครที่ต้องการเก็บเงินเพื่อเป้าหมายระยะสั้นอื่นๆ เช่น ซื้อบัตรคอนเสิร์ต ซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ กองทุนนี้ก็เป็นช่องทางที่ตอบโจทย์ได้ดี เพราะเมื่อเป้าหมายอยู่ไม่ไกลก็ไม่ควรจะนำไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงๆ
ตัวอย่างการแบ่งเก็บเงินใน Money Market ก็คือ ในกรณีเป็นมนุษย์เงินเดือน สามารถใช้วิธีการแบ่งเงินทันทีหลังจากได้รับเงินเดือน หรือได้รับรายได้ในแต่ละครั้ง เช่น อาจจะแบ่งไว้ 10-20% เพื่อไปลงทุน พักเงินไว้ใน Money Market จากนั้นก็ทำเช่นนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เงินที่ตุนไว้เพียงพอ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนในที่สุด
ส่วนในกรณีที่วางแผนเก็บเงินเพื่อเป้าหมายระยะสั้นๆ ก็อาจจะใส่เงินลงทุนเพิ่มขึ้นไปอีก โดยอาจทยอยแบ่งเงินจากเงินเดือนหรือรายได้ที่ได้รับเก็บสะสมเพิ่มเติมจากอัตราที่แบ่งเก็บปกติ พอถึงเวลาต้องการใช้จริงก็มีเงินเพียงพอแล้ว
สำหรับใครที่ไม่รู้ว่า Money Market ไปลงทุนอะไร ขออธิบายเพิ่มเติมว่า Money Market เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 1 คือ ความเสี่ยงต่ำ จะมีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก เป็นต้น โดยกองทุนจะลงทุนไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน สำหรับกองทุน Money Market แนะนำ ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ตราสารรัฐตลาดเงิน พลัส (ชนิดหน่วยลงทุน B) หรือ SCBTMFPLUS-B เงินลงทุนขั้นต่ำครั้งละ 1,000 บาท
เอาเป็นว่าใครตั้งใจเก็บเงินเป็นสภาพคล่องไว้ใช้ยามฉุกเฉิน หรือเพื่อเป้าหมายระยะสั้น ลองใช้ไอเท็มกองทุนรวม Money Market กันดูได้
คำเตือน:
- กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ตราสารรัฐตลาดเงิน พลัส (ชนิดหน่วยลงทุน B) หรือ SCBTMFPLUS-B มีความเสี่ยงระดับ 1 คือ เสี่ยงต่ำ
- การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน
- ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
- ศึกษาข้อมูลกองทุนหลักและหนังสือชี้ชวนกองทุนรวมเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ไทยพาณิชย์ จำกัด