×

ปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์เหนือท้องฟ้าไทย ส่งท้ายปี 66 อัตราการตกเฉลี่ยสูงสุด 120 ดวงต่อชั่วโมง

โดย THE STANDARD TEAM
15.12.2023
  • LOADING...
ฝนดาวตกเจมินิดส์

ฝนดาวตกเจมินิดส์ หรือฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ เหนือน่านฟ้าตำบลสระลงเรือ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี ในช่วงหลัง 00.00 น. ของวันที่ 14 จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ฝนดาวตกจะปรากฏให้เห็นเป็นลำแสงวาบพาดผ่านทั่วท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง ดูได้ด้วยตาเปล่าในที่มืดสนิท ซึ่งปีนี้ไร้แสงจันทร์รบกวน

 

ด้านสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) รายงานว่า ฝนดาวตกเจมินิดส์ปีนี้มีปริมาณมากสุดถึง 120 ดวงต่อชั่วโมง

 

ฝนดาวตกเจมินิดส์เกิดจากการที่โลกเคลื่อนเข้าผ่านสายธารของเศษหินและฝุ่นขนาดน้อยใหญ่ที่ดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟธอน (3200 Phaethon) หลงเหลือทิ้งไว้ขณะเคลื่อนผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน เมื่อโลกโคจรผ่านสายธารดังกล่าว แรงโน้มถ่วงของโลกจะดึงดูดเศษหินและฝุ่นเหล่านั้นเข้ามาในชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดการเสียดสีและเผาไหม้ ปรากฏให้ผู้สังเกตการณ์บนโลกเห็นเป็นลำแสงคล้ายลูกไฟสว่างวาบเคลื่อนผ่านท้องฟ้า หรือในบางครั้งเกิดเป็นลูกไฟขนาดใหญ่ เรียกว่า Fireball ซึ่ง ‘ฝนดาวตก’ จะแตกต่างจาก ‘ดาวตก’ ทั่วไป คือเป็นดาวตกที่มีทิศทางเหมือนมาจากจุดจุดหนึ่งบนท้องฟ้า เรียกว่า จุดศูนย์กลางการกระจาย (Radiant) เมื่อจุดศูนย์กลางการกระจายตรงหรืออยู่ใกล้เคียงกับกลุ่มดาวใด ก็จะเรียกชื่อฝนดาวตกตามกลุ่มดาวนั้นๆ

 

   

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X