×

ถอดแนวคิดเหล่าผู้นำจากงาน ‘GC Circular Living Symposium 2022’ อะไรคือแนวทางความร่วมมือเพื่อเดินหน้าสู่ ‘Together To Net Zero – เพราะศูนย์ไม่ใช่แค่เป้าหมาย แต่คือเส้นชัยของเราทุกคน’ [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
05.09.2022
  • LOADING...

‘Net Zero’ เป้าหมายที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกัน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อสร้างกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพในการรับมือวิกฤตภาวะโลกร้อน ‘เพราะศูนย์ไม่ใช่แค่เป้าหมาย แต่คือเส้นชัยของเราทุกคน’ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ผู้นำในธุรกิจเคมีภัณฑ์ระดับสากล จับมือกับสำนักข่าว THE STANDARD จัดเวทีเสวนาระดับโลก GC Circular Living Symposium 2022: ภายใต้แนวคิด ‘Together To Net Zero’ เมื่อวันที่ 25-26 สิงหาคมที่ผ่านมา 

 

งานในครั้งนี้ถือเป็นการยกระดับความร่วมมือด้านความยั่งยืนในหลายมิติ เพื่อขยายผลสู่แนวทางการลดการปล่อยคาร์บอน นำไปสู่การผลักดันเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์อย่างเป็นรูปธรรมผ่านกิจกรรมมากมาย รวมถึงแนวคิดและประสบการณ์จากผู้นำทางความคิด และผู้ขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน หลากหลายวงการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่มาร่วมกันคิด แชร์ และต่อยอดสู่เป้าหมายสร้างโลกแบบ Net Zero 

 

THE STANDARD ถือโอกาสถอดแนวคิดของเหล่าผู้นำจากหัวข้อ ‘How Sustainability Action is Unlocking New Possibilities’ และ ‘Green Recovery: How Sustainable Finance Shape The Future of Business’  

 

 

โดย วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวเปิดงานพร้อมเผยว่า การจัดการกับวิกฤตโลกร้อนในทุกมิติ เป็นสิ่งสำคัญที่ประเทศไทยต้องจัดการ ขณะนี้รัฐบาลกำลังพิจารณาการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC Nationally Determined Contributions) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 โดยเพิ่มเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็น 40% ภายในปี 2573 แบ่งสัดส่วนการจัดการภายในประเทศเป็น 30% และจากความร่วมมือระหว่างประเทศ 10% และได้นำเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยเร่งกำลังพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economy (BCG) อย่างจริงจัง รัฐบาลได้ริเริ่มระบบการเงินสีเขียว (Green Finance) เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนในนวัตกรรมและธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสรรค์สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้แก่ภาคสังคมธุรกิจต่อไป

 

 

เวทีเสวนาหัวข้อ ‘How Sustainability Action is Unlocking New Possibilities’


ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ (CEO) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงแนวคิดปลดล็อกวิถีธุรกิจเพื่อสร้างความยั่งยืนว่า ที่ผ่านมา GC ได้นำหลักธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ESG รวมถึงแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาเป็นหลักในการดำเนินงานทุกขั้นตอนของ GC อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อตอบโจทย์เมกะเทรนด์โลก ตลอดจนริเริ่มโครงการและนวัตกรรมด้านโซลูชันที่ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนมากมาย

 

 

“ปีนี้ GC ยกระดับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน ด้วยการตั้งเป้า ‘Together to Net Zero’ หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2050 ตามข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบการลดคาร์บอนต่ำ ซึ่ง GC ขับเคลื่อนการทำงานด้าน Climate Actions อย่างยั่งยืนในหลายมิติ มีการพัฒนานวัตกรรม และนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ สิ่งสำคัญคือการสร้าง Ecosystem ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมแก้ปัญหาโลกร้อนร่วมกัน สร้างสังคม Net Zero ให้เกิดทั้งในรายใหญ่และรายย่อยระดับชุมชน บุคลากรของ GC จะทำหน้าที่เป็นเหมือนพี่เลี้ยง แชร์ประสบการณ์และสร้างแพลตฟอร์มกลาง ‘YOUเทิร์น’ เพื่อบริหารจัดการพลาสติกใช้แล้วให้กลับมาเพิ่มมูลค่า เพื่อดึงทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย Net Zero ด้วยกัน โดยเฉพาะซัพพลายเออร์ ชุมชน คนรุ่นใหม่ อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์เป็นทางเลือกที่จับต้องได้ อาทิ ผลิตภัณฑ์ไบโอพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์รีไซเคิล และอัปไซเคิล เพื่อต่อยอดการทำงานร่วมกับพันธมิตร” 

 

 

วิคเตอร์ เซียห์ ประธานกรรมการ และประธานคณะผู้บริหาร เนสท์เล่ อินโดไชน่า กล่าวว่า เนสท์เล่ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 ผ่านแผนงาน 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก การดูแลและจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน การจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

 

“เราตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยคาร์บอนลงจากเดิม 20% ภายในปี 2025 และเพิ่มขึ้นเป็น 50% ภายในปี 2030 โดยจะขับเคลื่อนผ่านนวัตกรรมในการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้สามารถนำไปรีไซเคิลได้ 100% ภายในปี 2025 พร้อมกับลดการใช้พลาสติกผลิตใหม่ลง 1 ใน 3 ซึ่งในปัจจุบันบรรจุภัณฑ์ของเนสท์เล่ในไทยถึง 93% สามารถนำไปรีไซเคิลได้แล้ว นอกจากนี้ สิ่งที่เราให้ความสำคัญคือการเปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้าหมุนเวียนให้ได้ทั้งหมด 100% ภายในปี 2025 ซึ่งในขณะนี้โรงงานของเรา 5 แห่งจากทั้งหมด 7 แห่งในประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านมาสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนไปใช้ยานพาหนะที่ใช้พลังงานไฟฟ้า และการใช้เครื่องทำความเย็นที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”

 

 

ด้าน อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมดิจิทัลเผยว่า การจะทำให้เป้าหมายลดคาร์บอนเป็นศูนย์ ทางหัวเว่ยเองก็ต้องปรับตัวเองด้วยนวัตกรรมเพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอนในตัวเองก่อน ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน 2.7 เท่า และช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนเหลือแค่ 2% ของการปลดปล่อยคาร์บอนมาจากอุตสาหกรรมไอซีที ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการนำดิจิทัลมาใช้ในอุตสาหกรรมพลังงานจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพอย่างมีนัยสำคัญ

 

“ปัญหาหลักของการปลดปล่อยคาร์บอนในภาคส่วนต่างๆ มาจากภาคการผลิตไฟฟ้า 37% รองมาคือภาคขนส่ง 28% ซึ่งการผลิตไฟฟ้านั้นมาจากก๊าซธรรมชาติถึง 62% ดังนั้นเป้าหมายของประเทศไทยคือการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนให้ถึง 50% แต่ตอนนี้มีแค่ 10%” 

 

ทางหัวเว่ยเองได้เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนในพอร์ต 50% ในปี 2050 จากการพัฒนาเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และโซลาร์ นอกจากนี้ หัวเว่ยมีโซลูชันสมาร์ทพีวี (Smart PV) ตลอดช่วง 6 ปีที่ผ่านมา สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าสะอาดได้ 6,740 ล้านหน่วย ซึ่งช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนได้ทั้งสิ้น 6.72 ล้านตัน

 

 

สำหรับแนวทางของภาครัฐ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การจะตั้งเป้า Net Zero ต้องทำความเข้าใจและแบ่งแยกระยะเวลาของกรอบการดำเนินงานและศึกษาอย่างจริงจัง รัฐบาลจะต้องโปรโมตนโยบาย Net Zero ที่ชัดเจน และเข้าถึงได้ง่าย แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1. บริการที่ดี 2. อินฟราสตรัคเจอร์ที่ดี และ 3. สร้างสัมพันธ์ที่ดี

 

“ปัญหาโลกร้อนถือเป็นปัญหาระดับโลก ดังนั้นนโยบายต้องชัดเจน ปีนี้มีน้ำฝนมากกว่าค่าเฉลี่ย 52% ฝนตกเป็นหย่อมอย่างรุนแรง เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) โดยประเทศไทยอยู่อันดับ 9 ของประเทศที่มีปัญหา คนกลัวเรื่องระดับน้ำที่สูงขึ้น กทม. ได้สร้างความร่วมมือในเรื่องของการใช้รถ การลดปริมาณขยะ และการปลูกต้นไม้ เราตั้งเป้าปลูกต้นไม้ 1 ล้านตัน พบว่าภาคเอกชนช่วยได้ดี วันนี้มีความร่วมมือกันแล้วกว่า 1.6 ล้านต้น เพียงแค่ 3 เดือน ถือเป็นพลังความร่วมมือที่ไม่เคยเห็น ดังนั้นภาครัฐจะต้องอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ภาคเอกชน เพื่อเกิดความร่วมมือในทุกๆ ด้านต่อไป”

 

 

เวทีเสวนาหัวข้อ ‘Green Recovery: How Sustainable Finance Shape The Future of Business’


รณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ฉายภาพเฟรมเวิร์กของ Sustainable Finance ภายใต้กรอบของธนาคารแห่งประเทศไทยว่า ภาคธุรกิจต้องหันมาให้ความตระหนัก เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Climate Change เกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของพวกเรา และมันจะเกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจอย่างเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเมกะเทรนด์ของโลก ต้องการเห็นโลกมีความเป็นกรีนมากขึ้น ในฐานะที่แบงก์ชาติเป็นฟันเฟืองหนึ่งในการกำหนดทิศทางต่างๆ มองว่าหากยังไม่เริ่มลงมือ ต้นทุนของการผลิต ต้นทุนของการกู้ยืมก็จะสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว แต่เรื่องของจังหวะการปรับเปลี่ยน และความเร็วในการปรับเปลี่ยนก็ต้องดูให้เหมาะ 

 

 

ตอนนี้ 5 หน่วยงาน ได้แก่ แบงก์ชาติ, สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง, ตลาดหลักทรัพย์, ก.ล.ต. และผู้ที่ดูแลด้านประกันภัยคือ คปภ. ได้ออกแผนพัฒนาภาคการเงินที่เรียกว่า ‘Sustainable Finance Initiatives for Thailand’ มุ่งเน้นให้ความสำคัญ และกำหนดทิศทางในกรอบการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวกับ Sustainable Finance โดยเน้นไปที่โครงสร้างของการทำธุรกิจ ที่จะทำให้ตอบโจทย์เรื่องการทำ Sustainable Finance มากขึ้น 

 

ซึ่งทางแบงก์ชาติเองก็เพิ่งออกเปเปอร์ที่จะใช้เป็นทิศทางของการพัฒนาความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย พูดถึง 5 Building Blocks ที่สำคัญ ได้แก่ 1. กำหนดให้สถาบันการเงินต้องออกผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินด้านสิ่งแวดล้อมที่ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจ 2. มีการจำแนกกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ชัดเจน เพื่อจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่า Taxonomy 3. สร้างฐานข้อมูลที่เป็นระบบและเข้าถึงได้ มีมาตรฐานในการเปิดเผยข้อมูลของสถาบันการเงิน 4. โครงสร้างแรงจูงใจส่งเสริมการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม และ 5. ต้องเสริมองค์ความรู้และทักษะของบุคลากรในภาคการเงิน

 

 

ด้าน ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วางกรอบการทำงานเพื่อส่งเสริม Sustainable Finance โดยแบ่งเป็นสองภาคส่วนคือ บริษัท ทำอย่างไรให้เขาอยากทำเรื่องของความยั่งยืน และให้เขารู้สึกว่ามันมีประโยชน์ โดยตลาดหลักทรัพย์อาจทำไกด์ไลน์ หรือสร้างให้เกิดคอมมูนิตี้ รวมถึงการให้รางวัล Sustainability Awards of Honor ในขณะที่ภาคส่วนของนักลงทุน โจทย์คือทำอย่างไรให้เขาอยากลงทุนในบริษัทที่ทำดี สิ่งสำคัญคือจะต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วนเพื่อตรวจสอบได้ ทางตลาดหลักทรัพย์และหลายหน่วยงานที่เป็นพันธมิตรจึงพยายามทำเรื่องข้อมูลของบริษัท 

 

เมื่อมองภาพรวมระดับโลก ธนาคารระดับโลก กฤษฎา แพทย์เจริญ ผู้อำนวยการบริหาร ฝ่ายพาณิชย์ธนกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย เผยว่า “ปัจจุบันนักลงทุนรายใหญ่ๆ โดยเฉพาะกองทุนและแบงก์ใหญ่ๆ หลายแห่งในยุโรป อเมริกา หรือตะวันออกกลาง จะลงทุนหรือปล่อยกู้หรือไม่ จะให้ความสำคัญกับเรื่องของ Sustainable Risk ซึ่ง HSBC เองปัจจุบันก็นำเกณฑ์ Climate Risk Assessment ให้กับลูกค้าแต่ละรายประกอบการตัดสินใจสำหรับปล่อยกู้หรือการลงทุน” 

 

 

พร้อมทั้งยกตัวเลขที่น่าสนใจมาเล่าให้ฟังว่า ปี 2021 Global Bond Markets ที่เป็น Sustainable เกิน 1 ล้านล้านดอลลาร์ขึ้นไป ในขณะเดียวกัน ทางด้าน Loan ก็เกิน 7 แสนล้านดอลลาร์ และทางฝั่งยูโรเปี้ยนเริ่มมีนโยบายเข้มข้นเกี่ยวกับ Sustainable ฟากเอเชีย-แปซิฟิกผลิตภัณฑ์ที่เห็นส่วนใหญ่เป็น Sustainability Linked Loans (SLL) มากกว่า Green Loan และถ้าพูดถึงเซ็กเตอร์ที่มาระดมทุนผ่านตลาด Loan ใหญ่สุดก็เป็น Utilities ตามมาด้วย Financial Services 

 

เมื่อทิศทางและนโยบายมาแบบนี้ GC ในมิติของความท้าทาย และการทำ Sustainable Finance มาปรับใช้ ได้ลงมือทำอะไรไปแล้วบ้าง ภัทรลดา สง่าแสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เผยว่า GC ต้องการเป็น Pilot Case และ Role Model เพื่อให้ทุกคนร่วมเดินทางในเส้นทางที่ GC กำลังมุ่งหน้า ตามที่เคยประกาศเป้าปี 2050 ที่จะเป็น Net Zero ทำให้ทั้งองค์กรต้องปรับตัว ทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพ ทำอย่างไรให้ใช้พลังงานน้อยลง รวมถึงเรื่องของการปรับพอร์ตโฟลิโอการลงทุน 

 

 

ปัจจุบัน GC เพิ่งไปซื้อกิจการของ allnex ทั่วโลกมา ใช้เม็ดเงิน 5 พันล้านดอลลาร์ ทำให้วันนี้มีโรงงานในเมืองไทย 40 โรงงาน และอีก 42 โรงงานทั่วโลก ซึ่งการจะไปถึง Net Zero ได้ GC ยังมองเรื่องของการทำ Compensation-driven อย่างการลงทุนซื้อ หรือลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการจัดเก็บหรือกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วเอาไปผลิตเป็นปิโตรเคมีเพิ่มเติม 

 

“GC มีหลายอย่างที่เป็น Case Study ที่พร้อมแล้ว สำหรับการที่จะใช้เครื่องมือทางการเงิน ตลาดเงิน ตลาดทุน ที่เรียกว่า Green Financing เราจะเป็น Ahead of the Game ได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีคุณภาพ มีการตอบรับและต้นทุนแข่งขันได้ และนำมาสนับสนุนลงทุนในธุรกิจที่เรียกว่า Low Carbon Business ทำให้เราขับเคลื่อนเป้าหมาย Net Zero ได้ในอีก 32 ปีข้างหน้า” 

 

สำหรับประเด็นเรื่อง Pain Point จากการนำเสนอ Sustainable Finance และโซลูชันที่ช่วงส่งเสริมลูกค้าองค์กร ประกอบ เพียรเจริญ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และวาณิชธนกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บอกว่า ที่ผ่านมาในฐานะธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อ เราทำ Bonds ให้กับลูกค้าเยอะ จึงปักธงต้องการให้ทุกธุรกิจที่เป็นลูกค้าธนาคาร ผู้ประกอบการ มีความเข้าใจที่จะ Improve Operation ตัวเองให้มีความเขียวมากขึ้น เห็นแก่สังคมมากขึ้น 

 

 

แต่ปัญหาที่พบคือไม่ใช่ทุกคนจะเข้าใจเรื่อง Sustainable Finance คนธนาคารเองก็ใช่ว่าจะเข้าใจกันหมด ระบบทุนนิยมทำให้คนทำธุรกิจมองเรื่องรีเทิร์นเป็นอันดับแรก แต่สิ่งที่ธนาคารจะช่วยก็คือ หากผู้ประกอบการที่ยังไม่มี Track Record ธนาคารจะต้องช่วยปรับโครงสร้าง พร้อมทั้งอธิบายให้เข้าใจว่าทำไมถึงเวลาที่จะต้องเริ่มทำ 

 

“การทำกระบวนการนี้จะดูกันที่ 3 คีย์เวิร์ดคือ H, I และ S หนึ่งคือ Historical ในอดีตเราทำได้ดีแค่ไหน ตอนนี้ในอนาคต KPI เซ็ตกันต้องเข้มข้นกว่าเดิม จะได้มี Improvement ที่ดี เรื่อง I คือ Industry’s Peers บริษัทอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันทั้งในและต่างประเทศ ลดคาร์บอนได้เร็วกว่าเราแค่ไหน และ S เป็นเรื่องของ Science Based Scenarios เป็นเรื่องยาก เพราะเป็นการทำงานของฝั่งไฟแนนซ์และฝั่งวิศวกรรม ในการที่เราจะต้องทำร่วมกันว่าจะคำนวณ Greenhouse Gas Emission อย่างไร และโปรเจกต์จะลดได้อย่างไร แต่พอเราทำตรงนี้ได้ ทำเป็นโปรดักต์ที่เรียกว่า Sustainable Linked คือ Bonds กับ Loan ที่ได้ออกไป บริษัทสามารถใช้เงินที่ไหนก็ได้” 

 

กฤษฎากล่าวเสริมผ่านแนวทางการทำงานของ HSBC ว่า การทำ Sustainable Finance ทุกวันนี้ยังขึ้นอยู่กับความเข้าใจของแต่ละแบงก์ จึงต้องมี Common Ground Taxonomy เพื่อจำแนกให้ชัดเจนว่าอะไร Green อะไร Brown เพราะสิ่งที่สำคัญไปกว่านั้น กลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่บางราย ถ้าต้องการไประดมทุนในตลาดต่างประเทศ สิ่งที่เราทำอยู่ในเมืองไทยมันอาจไม่กรีนในกฎเกณฑ์ของเขาก็ได้ HSBC จึงแก้ปัญหาด้วยการมองลักษณะของ End to End อะไรคือวัตถุประสงค์ของธุรกิจ และทาง HSBC จะมีโปรดักต์หรือโซลูชันอะไรมาช่วยซัพพอร์ตได้ 

 

“HSBC เป็นแบงก์แรกในเมืองไทยที่มี Green Deposit ลูกค้าที่เป็นลูกค้ารายแรกของเราคือ Indorama และ CP ALL เป็นบัญชีที่แสดงให้เห็นว่ามันถูกใช้ไปในโปรเจกต์ที่กรีน และอันดับต่อไปเราช่วยธนาคารเพื่อการเกษตรออก Bonds เป็น Sustainability Bonds เอามาใช้ในการปลูกป่า และใช้ในการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ” 

 

 

ด้านธนาคารกรุงศรีอยุธยาเองก็มีการทำ Product Program เป็นการเพิ่ม Awareness ให้กับลูกค้าที่จะต้องปล่อยสินเชื่อไปในแนวนี้มากขึ้น อย่างโปรดักต์ที่เกิดขึ้นก็จะมี Green Bonds / Green Loan หรือโปรดักต์เพื่อสังคมอย่าง Social Bonds ที่เป็น Women Bonds เราระดมเงินมาปล่อยให้กับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีผู้หญิงเป็นผู้นำ

 

คำถามคือ แล้ว Sustainable Finance จะช่วยขับเคลื่อนภาคธุรกิจและเศรษฐกิจไทยได้อย่างไร หรือมีแนวทางใดที่จะพัฒนาภาคธุรกิจให้บรรลุการเติบโตอย่างยั่งยืน ทางธนาคารแห่งประเทศไทยเน้นย้ำว่า สิ่งแรกที่ทำให้การขับเคลื่อนไปข้างหน้ายั่งยืน ต้องให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูล โดยชี้ถึงประโยชน์ 3 ประการ คือ 1. ข้อมูลที่มีคุณภาพ ครบถ้วน จะทำให้รู้ฐานะปัจจุบันว่าเราเป็นธุรกิจ Green จริงหรือไม่ 2. ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้เกี่ยวข้อง และ 3. เป็นแต้มต่อให้กับธุรกิจ 

 

“ผมอยากจะทำให้ Journey นี้ไปด้วยกัน เราไม่ได้ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือ SMEs เพราะคงไม่ใช่เรื่อง Sustainable Finance ว่าจะต้องการต้นทุนที่ถูกลง แต่มันเป็นการตอบโจทย์เชิงธุรกิจที่จะผลักดันให้ประเทศเราขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้”

 

ด้านธนาคารกรุงศรีอยุธยามองว่า เรื่องความยั่งยืนยากที่สุดคือเรื่อง Mindset ก่อนหน้านี้มองเป็น Cost แต่พอเกิดประเด็นเรื่องโควิด มีดิสรัปชันมา มุมมองเปลี่ยน เรื่องของความยั่งยืนกลายเป็นเรื่องของ Risk Management ซึ่งเป็นเรื่องที่บริษัททุกระดับต้องเร่งลงมือ  

 

“ตอนนี้ตลาดมี Facility ที่ช่วยทุกขั้นตอน และสิ่งที่จะแก้ไขเรื่องนี้ได้อย่างจริงจังคือ เรื่องของ Data เพราะข้อมูลที่ลึกและวัดผลได้ ใช้ในการตัดสินใจได้จริง ก็จะเป็นจุดที่ทำให้เรื่องของ Green Wash หายไป อีกเรื่องที่ผมคิดว่าเป็น Way Forward ที่เริ่มเห็นเทรนด์เวลาคนพูดเรื่องความยั่งยืน คนจะให้ความสำคัญกับเรื่องที่ลงลึก เราในฐานะตลาดก็คงจะสนับสนุนในเรื่องของความรู้ จับเรื่องเทรนด์มาแชร์ให้กับบริษัทจดทะเบียน”

 

กฤษฎากล่าวเสริมว่า “Climate Risk เป็นเรื่องจริง และเป็นปัญหาที่รุนแรง ซึ่งต้องได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว และการที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ มันจะต้องมีการลงทุนในแง่ของการเปลี่ยนผ่าน มีการลงทุนในแง่ของโครงสร้างอีกหลายอย่าง”

 

 

ในมุมของเจ้าบ้าน GC มองเห็นความท้าทายเป็นเรื่องของการบาลานซิ่งระหว่างเวลาที่เหมาะสมที่ตลาดมาถึง และทรัพยากรที่จะทุ่มทุนไปในขณะที่ธุรกิจปัจจุบันยังต้องเดินได้และแข่งขันได้ด้วย รวมถึงเรื่องเงินทุน หากไม่มีเงินทุนที่เหมาะสม และคนที่เข้าใจทิศทางของธุรกิจก็ไปไม่ถึงดวงดาว

 

แนวทางของ GC วันนี้ก็คือ การจับมือเดินหน้าสู่เป้าหมายเดียวกัน “การที่เรามีองค์กร มีพาร์ตเนอร์ มันจะพัฒนาขับเคลื่อนไปในทางเดียวกัน Sustainable Finance เป็นกลไกสำคัญมาก มันเหมือนเราเห็นเกาะอยู่ตรงนั้นว่าโลกต้องเปลี่ยนไปแบบนั้น เรากำลังสร้างสะพาน Sustainable Finance คือสะพานที่วางไปถึงเกาะนั้น เราจะไปตามเป้า ได้เร็วกว่าเป้า หรือไม่ได้ ขึ้นอยู่กับเม็ดเงินที่ท่านทั้งหลายใน Ecosystem จะสนับสนุน และขึ้นอยู่กับคอมมิตขององค์กร ทำในสิ่งใหม่ สิ่งยิ่งใหญ่ด้วยกัน

 

“ถ้าเราร่วมพลัง Connect the Dots จับมือกัน เรื่องของ Net Zero ที่เราบอกว่าเลขศูนย์มันคือเส้นชัย เลขศูนย์คือศูนย์รวมใจ และ Climate Change หรือ Net Zero ไม่ใช่เทรนด์ แต่มันคือความจริง ในวันนี้ก็อยากจะเรียนเชิญทุกท่านร่วมเดินทางไปกับเรา ไม่ต้องไปในสเปซที่เหมือนๆ กัน แต่เราจะจูงมือกันไป และเข้าสู่เส้นชัยตามเป้าหมายที่ท่านวางไว้ด้วยกัน”  

 

ใครที่สนใจอยากฟังการอภิปรายแบบเต็มๆ สามารถเข้าไปชมย้อนหลังได้ที่

 

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising