×

กระรอกอาจจัดระเบียบชีวิตได้เก่งกว่าคุณ

20.09.2017
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

1 Mins. Read
  • แม้สมองของกระรอกจะมีเพียงขนาดเท่าถั่วที่เรากินใน M&M แต่มันกลับมีสัญชาตญาณในการเอาตัวรอดสูง รวมถึงการจัดระเบียบอันเป็นเลิศด้วย
  • ด้วยความสามารถในจำแนกชนิดเพื่อใช้ในการจัดเก็บ ช่วยให้กระรอกจดจำข้อมูลง่ายขึ้น ย่นเวลาในการเลือกที่จะไปจุดๆ หนึ่งเพื่อเอาถั่วที่ปรารถนา เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับกระรอก ที่ปีหนึ่งๆ เก็บเสบียงถั่วไว้ 3,000-10,000 ชิ้น

     เวลาหาของไม่เจอก็พานทำให้เสียทั้งเวลาและอารมณ์ คงดีกว่าหากมีการจัดระเบียบให้ง่ายขึ้น หรือพูดอีกอย่างคือ ‘เลียนแบบกระรอก’

     คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-เบิร์กลีย์ (University of California-Berkeley) ใช้เวลานับ 2 ปี ติดตามศึกษาพฤติกรรมของกระรอก 45 ตัวจนสามารถสรุปได้ว่า แม้สมองของมันจะมีเพียงขนาดเท่าถั่วที่เรากินใน M&M แต่มันกลับมีสัญชาตญาณในการเอาตัวรอดสูง รวมถึงทักษะการจัดระเบียบอันเป็นเลิศด้วย

 

 

     เหล่ากระรอกจะได้รับการให้ถั่ว 16 ชิ้น โดยมีชนิดวอลนัต, พีแคน, อัลมอนด์ และเฮเซลนัต หลังจากนั้นนักวิจัยก็จะติดตามตัวด้วยเครื่องมือ GPS โดยลำดับการให้ถั่วบางตัวทีละชนิดก่อนที่จะค่อยๆ เปลี่ยน บางตัวอาจได้แบบสุ่มชนิดไปเรื่อยๆ แต่เรื่องนี้ก็ไม่สาหัสเกินกว่าเจ้ากระรอกจะรับไหว พวกมันสามารถที่จะแยกชนิดของถั่วเพื่อแบ่งไปซ่อนคนละจุดได้อย่างดีเยี่ยม

     สำหรับบางตัวที่กินถั่วไปหลังได้รับทันที นักวิจัยก็จะให้ถั่วชนิดเดิมจนกว่ากระรอกจะเอาไปตุนไว้

     ด้วยความสามารถในจำแนกชนิดเพื่อใช้ในการจัดเก็บ ช่วยให้กระรอกจดจำข้อมูลง่ายขึ้น ย่นเวลาในการเลือกที่จะไปจุดๆ หนึ่งเพื่อเอาถั่วที่ปรารถนา เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับกระรอกที่ปีหนึ่งๆ เก็บเสบียงถั่วไว้ 3,000-10,000 ชิ้น

     ไมเคิล เดลกาโด (Mikel Delgado) ผู้นำการวิจัยเปิดเผยว่า “นี่เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการจำแนกเพื่อจัดเก็บในสัตว์ที่กักตุนอาหาร และชี้ให้เห็นว่ากระรอกใช้กลยุทธที่ยืดหยุ่นเพื่อจัดระเบียบอาหารตามอาหารที่ได้รับ”

     งานที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Royal Society Open Science ชิ้นนี้ยังย้ำให้เห็นว่า กระรอกเข้าใจว่าถั่วมีน้ำหนักต่างกัน และเลือกที่จะเอาถั่วหนักๆ ไปไว้ที่อื่นแทนที่จะเก็บไว้กับถั่วเบาๆ

     “กระรอกใช้ระบบการจำแนกเพื่อจัดเก็บในแบบเดียวกับที่คุณจัดเก็บของชำ คุณอาจแบ่งผลไม้ไปตู้หนึ่ง ผักไปอีกตู้หนึ่ง ทำให้เวลาอยากได้กล้วยก็รู้ว่าต้องเปิดตู้เพียงใบเดียว ไม่ต้องเปิดหมด” ลูเซีย จาค็อบส์ (Lucia Jacobs) ผู้ร่วมวิจัยกล่าว

 

อ้างอิง:                                       

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising