×

พบสาเหตุม้าตายที่ปากช่องหลายร้อยตัว มาจากฟาร์มนักการเมือง นำเข้าม้าลายติดเชื้อกาฬโรคในม้ามาเลี้ยง

โดย THE STANDARD TEAM
03.04.2020
  • LOADING...

เมื่อวานนี้ (2 เมษายน) จากเหตุการณ์ม้าสายพันธุ์ต่างประเทศล้มตายจำนวนมากในพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 26 มีนาคมที่ผ่านมานั้น

 

ล่าสุดพบว่ามีฟาร์มม้าสายพันธุ์ต่างประเทศเสียชีวิตทั้งหมด 131 ตัว และชาวบ้านเกรงจะลุกลามไปติดยังฟาร์มหมู ฟาร์มไก่ ฟาร์มวัวในพื้นที่ ช่วงการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ยังมีการแพร่ระบาดไม่หยุด ทำให้เจ้าของฟาร์มม้าพันธุ์ต่างประเทศได้นำมุ้งมาปิดบริเวณคอกม้า เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้ามาติดม้าที่ยังรอดชีวิต พร้อมทำตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่จากกรมปศุสัตว์ที่เข้ามาเก็บตัวอย่างเลือดม้าที่เสียชีวิต และยืนยันว่าไม่ใช่เชื้อโควิด-19 แต่อย่างใด

 

มีรายงานแจ้งว่า ในวงการผู้เลี้ยงม้าสายพันธุ์ต่างประเทศและผู้รักกีฬาขี่ม้า รับรู้ข้อมูลว่า มีฟาร์มในพื้นที่อำเภอปากช่องรายหนึ่ง ที่เป็นผู้นำม้าลายจากต่างประเทศเข้ามาเลี้ยง เป็นตัวแพร่เชื้อโรคจากม้าสู่ม้า จนเป็นสาเหตุทำให้โรคม้าแพร่กระจายและล้มตายเพียงไม่กี่วัน ขณะที่ฟาร์มม้าดังกล่าวเป็นของนักการเมืองคนหนึ่ง สำหรับมาตรการมีเพียงการออกคำสั่งห้ามเคลื่อนย้ายม้าในพื้นที่อำเภอปากช่องก่อนได้รับอนุญาต

 

ล่าสุด น.สพ.ชาญประเสริฐ พลซา ปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น ร่วมกับเจ้าหน้าที่ด่านกักกันสัตว์ขอนแก่น และ ผศ.สพญ.สุพรรณิการ์ พุทธชาลี อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาศัลยศาสตร์ หน่วยม้า คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าตรวจสอบบ้านเลขที่ 42 หมู่ที่ 17 ตำบลท่าพระ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เนื่องจากสืบทราบว่ามีการลักลอบเคลื่อนย้ายม้าจากอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยไม่ได้ขออนุญาต 

 

สอบสวน บุญเหลือ สมบุญมี ยอมรับเป็นเจ้าของม้า และยอมรับว่าลักลอบเคลื่อนย้ายม้าจำนวน 10 ตัวจากอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เข้ามาในจังหวัดขอนแก่น โดยด่านกักกันสัตว์ขอนแก่นได้เปรียบเทียบปรับ กระทำความผิดตามมาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 เป็นเงิน 5,000 บาท และสำนักงานปศุสัตว์อำเภอเมืองขอนแก่นได้สั่งกักม้าทั้งหมดไว้ในฟาร์มจำนวน 17 ตัว ระยะเวลา 30 วัน และแนะนำป้องกันแมลงดูดเลือดโดยติดตั้งมุ้งและทำลายมูลม้า แหล่งเพาะพันธุ์แมลง กำจัดแมลงดูดเลือด สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เจาะเลือดเพื่อตรวจหาโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness: AHS) ต่อไป

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising