×

เศรษฐีจีน เมียนมา รัสเซีย แห่ย้ายสินทรัพย์มาไทย ดันตลาดคอนโดหรูแข่งเดือด! ไรมอนแลนด์ แสนสิริ ทุ่มหมื่นล้าน จับตลาดไฮเอน

19.04.2025
  • LOADING...

ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทยทุ่มทุนสร้างคอนโดหรูและบ้านหรูคึกคัก! หลังอานิสงส์ผู้ซื้อชาวต่างชาติที่มีฐานะร่ำรวยต่างหลั่งไหลย้ายถิ่นฐานและสินทรัพย์มาไทย วงการอสังหาหวังคลายผลกระทบจากภาวะชะลอตัวของตลาด

 

สำนักข่าว Nikkei รายงานว่า เริ่มจากกลุ่มไรมอนแลนด์ เปิดตัวคฤหาสน์อัลตร้าลักชัวรี่ ‘THE 528 ESTATE’ จำนวน 4 หลัง มูลค่าโครงการกว่า 4,000 ล้านบาท บนทำเลศักยภาพใจกลางสุขุมวิท ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟฟ้า BTS พร้อมพงษ์ในกรุงเทพฯ เพียง 10 นาที

 

โครงการนี้มีกำหนดแล้วเสร็จในช่วงต้นปี 2027 โดยแต่ละยูนิตจะมีพื้นที่ 780 ตารางเมตรขึ้นไป ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 880 ล้านบาท (26 ล้านดอลลาร์)

 

กร ณรงค์เดช ประธานบริษัท ไรมอนแลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ RML เปิดเผยว่า ความต้องการที่อยู่อาศัยระดับไฮเอนในประเทศไทยกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

 

เมื่อเห็นถึงแนวโน้มดังกล่าว จึงได้ลงทุน 11,000 ล้านบาทในช่วง 3 ปีจนถึงปี 2570 ในกรุงเทพฯ และพื้นที่อื่นๆ โดยมีแผนที่จะจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับเจ้าของที่ดินเพื่อให้ได้พื้นที่ก่อสร้างเพิ่มเติมในราคาที่ถูกกว่าอีกด้วย

 

ขณะเดียวกัน แสนสิริมีแผนที่จะพัฒนาที่อยู่อาศัยระดับไฮเอน มูลค่า 19,000 ล้านบาท เช่นกัน พร้อมเปิดขายในช่วงปลายปี 2568 ซึ่งมากกว่าตัวเลขในช่วงปลายปี 2567 ถึงสองเท่า โดยปัจจุบัน ได้เริ่มขายไปแล้ว 4 โครงการ รวมถึงผ่าน นาราสิริ หนึ่งใน Sansiri Luxury Collection แบรนด์ระดับไฮเอนด์ จากแสนสิริ

 

ขณะที่ ผู้เล่นชาวญี่ปุ่นก็กำลังจับตามองตลาดในประเทศไทยเช่นกัน โดยมิตซุย ฟูโดซังได้จับมือกับแสนสิริในช่วงปลายปี 2567 เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยโครงการแนวราบระดับไฮเอน

 

รวมถึง มิตซูบิชิ เอสเตท ได้ร่วมมือกับเอพี (ไทยแลนด์) เพื่อสร้างคอนโดมิเนียมระดับไฮเอนด์ เช่นเดียวกับโนมูระ เรียลเอสเตท ดีเวลลอปเมนท์ที่ร่วมมือกับออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้

 

โครงการระดับหรูเหล่านี้ส่วนใหญ่เน้นจับกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติที่มีฐานะร่ำรวย โดยปีที่ผ่านมา ชาวต่างชาติซื้อคอนโดมิเนียมถึง 14,753 ยูนิตในประเทศไทย ซึ่งใกล้เคียงระดับเดิมเมื่อเทียบกับปี 2566 แต่เพิ่มขึ้น 26% เมื่อเทียบกับปี 2565

 

5 อันดับลูกค้าต่างชาติกว้านซื้อคอนโดมิเนียมสูงสุดในไทย

 

จากข้อมูดังกราฟิก จะพบว่า ชาวจีนซื้อไปแล้ว 5,670 ราย ซึ่งมากกว่ากลุ่มอื่นๆ อย่างมาก เชื่อกันว่าชาวจีนที่มีฐานะดีย้ายถิ่นฐานไปต่างประเทศและอีกจำนวนมากย้ายมายังกรุงเทพฯ 

 

“ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ซบเซาและการเฝ้าติดตามของรัฐบาล และอีกส่วนเป็นกลุ่มที่มีฐานะดีจากรัสเซียและเมียนมาร์ก็ย้ายสินทรัพย์ไปยังต่างประเทศรวมถึงผ่านไทย”

 

บรรดาแบรนด์หรูระดับโลกเองก็กำลังทำงานร่วมกับนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชาวไทย ไม่ว่าจะเป็น ผู้ประกอบการโรงแรมและรีสอร์ตหรูกลุ่ม Aman กำลังสร้างคอนโดมิเนียมใหม่ในใจกลางกรุงเทพฯ

 

รวมถึงโครงการที่พักอาศัยสุดหรู Porsche Design Tower Bangkok จากรถยนต์หรูปอร์เช่เลือกกรุงเทพฯ เป็นสถานที่สำหรับพัฒนาคอนโดมิเนียมแห่งแรกในเอเชียอีกด้วย 

 

ตามข้อมูลของ C9 Hotelworks ระบุ ประเทศไทยเป็นตลาดแบรนด์เนม ซึ่งมีมูลค่าถึง 6.2 หมื่นล้านดอลลาร์ (ณ สิ้นปี 2024) ซึ่งมากที่สุดในตลาดเอเชีย 

 

การให้ความสำคัญกับความหรูหราเกิดส่วนหนึ่งดังกล่าวส่วนหนึ่งมาจากแรงผลักดันในการปลุกความอ่อนแอของตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยรวมของไทย ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รายงานว่า ยอดขายบ้านในไทยลดลง 5% ในปี 2024 เหลือประมาณ 348,000 หลัง โดยยอดขายราคาบ้าน 3 – 5 ล้านบาทได้รับผลกระทบหนัก

 

แม้ว่า หนี้ครัวเรือนของไทยจะสูงแตะระดับ 90% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งส่วนหนึ่งอาจมาจากปัจจัยผลจากการผ่อนคลายนโยบายการเงินและการเติบโตของตลาดแรงงานที่ซบเซาหลังจากการระบาดของโควิด-19 ทว่า ผู้บริหารของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์สัญชาติญี่ปุ่นที่ดำเนินกิจการในไทยมองว่า ผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางประมาณ 40% “ไม่สามารถขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้”

 

ส่งผลให้ รายได้ในปี 2567 ของแสนสิริเติบโตลดลงเหลือ 2% จาก 10% ในปี 2566 และกำไรสุทธิของกลุ่มลดลง 13% เหลือ 5.2 พันล้านบาท ส่งผลให้บริษัทหันไปลงทุนในตลาดสินค้าลักชูรี่

 

อย่างไรก็ตาม ชาวต่างชาติที่มีฐานะร่ำรวยมักซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ซึ่งหมายความว่าการเติบโตอย่างรวดเร็วในภาคส่วนสินค้าลักชูรี่ อาจนำไปสู่ภาวะฟองสบู่แตกได้ 

 

โดยเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเดือนมีนาคมที่ถล่มไทยและเมียนมาร์ ส่งผลให้ตึกสูงในกรุงเทพฯ ถล่มลงมา อาจทำให้อุปสงค์ลดลงได้เช่นกัน

 

“ผู้คนให้ความสนใจกับความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวมากขึ้น” ยูจิ คาโตะ จากสถาบันวิจัยโนมูระ ประเทศไทย กล่าว

 

ภาพ: MIphototype/Getty images

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising