วันนี้ (26 กันยายน) เวลา 10.30 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่าระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม – 26 กันยายน 2567 เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 36 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย, เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน, ตาก, พะเยา, น่าน, ลำพูน, ลำปาง, แพร่, อุตรดิตถ์, สุโขทัย, พิษณุโลก, นครสวรรค์, เพชรบูรณ์, เลย, อุดรธานี, หนองคาย, นครพนม, ขอนแก่น, ชัยภูมิ, บึงกาฬ, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี, ปราจีนบุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, ปทุมธานี, ระยอง, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, ภูเก็ต, ยะลา, นครศรีธรรมราช, พังงา, ตรัง และสตูล รวมพื้นที่ได้รับผลกระทบ 193 อำเภอ 845 ตำบล รวม 4,355 หมู่บ้าน และ 170,780 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตรวม 49 คน และได้รับบาดเจ็บรวม 28 คน
ทั้งนี้ ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย, เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน, น่าน, ลำปาง, ลำพูน, แพร่, ตาก, เพชรบูรณ์, พิษณุโลก, สุโขทัย, เลย, หนองคาย, อุดรธานี, ขอนแก่น, ชัยภูมิ, อุบลราชธานี, ปราจีนบุรี และพระนครศรีอยุธยา รวมพื้นที่ได้รับผลกระทบ 72 อำเภอ 268 ตำบล รวม 1,132 หมู่บ้าน และ 26,250 ครัวเรือน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
- จังหวัดเชียงราย น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองเชียงราย, แม่สาย และเวียงป่าเป้า รวม 10 ตำบล 35 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,501 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- จังหวัดเชียงใหม่ น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่ริมและอำเภอเมืองเชียงใหม่ รวม 7 ตำบล 42 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,027 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- จังหวัดแม่ฮ่องสอน น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอปาย รวม 3 ตำบล 6 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
- จังหวัดน่าน น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนาน้อย, นาหมื่น และเวียงสา รวม 9 ตำบล 10 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 96 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- จังหวัดลำปาง น้ำท่วมในพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลำปาง, งาว, เกาะคา, ห้างฉัตร, แม่พริก, สบปราบ, เถิน, แม่เมาะ, วังเหนือ, แม่ทะ และแจ้ห่ม รวม 42 ตำบล 181 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,024 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- จังหวัดลำพูน น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลำพูน, ป่าซาง, บ้านธิ, ทุ่งหัวช้าง และแม่ทา รวม 21 ตำบล 100 หมู่บ้าน ระดับน้ำทรงตัว
- จังหวัดแพร่ น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอลอง, วังชิ้น และสูงเม่น รวม 11 ตำบล 27 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 819 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- จังหวัดตาก น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามเงาและบ้านตาก รวม 4 ตำบล 36 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 132 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
- จังหวัดเพชรบูรณ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชนแดน, ศรีเทพ, หล่มเก่า และหนองไผ่ รวม 5 ตำบล 13 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 26 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
- จังหวัดพิษณุโลก น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพิษณุโลก, พรหมพิราม, บางระกำ, บางกระทุ่ม และวังทอง รวม 15 ตำบล 45 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,057 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
- จังหวัดสุโขทัย น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสวรรคโลกและศรีสำโรง รวม 7 ตำบล 26 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 563 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
- จังหวัดเลย น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองเลย รวม 2 ตำบล 5 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 109 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- จังหวัดหนองคาย น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีเชียงใหม่, ท่าบ่อ, เมืองหนองคาย และโพนพิสัย รวม 26 ตำบล 146 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,717 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- จังหวัดอุดรธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุดรธานีและสร้างคอม รวม 6 ตำบล 23 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 270 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
- จังหวัดขอนแก่น น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านไผ่, แวงน้อย และแวงใหญ่ รวม 4 ตำบล 4 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 330 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
- จังหวัดชัยภูมิ น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคอนสวรรค์, เมืองชัยภูมิ, บ้านแท่น, ภูเขียว และแก้งคร้อ รวม 15 ตำบล 46 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 82 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- จังหวัดอุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเขมราฐ, โพธิ์ไทร, นาตาล, โขงเจียม และเมืองอุบลราชธานี รวม 11 ตำบล 90 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 340 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- จังหวัดปราจีนบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอประจันตคาม, นาดี, กบินทร์บุรี และศรีมหาโพธิ รวม 5 ตำบล 10 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 240 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
- จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางบาล, ผักไห่, เสนา, พระนครศรีอยุธยา, บางปะอิน และบางไทร รวม 64 ตำบล 287 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,917 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
ทั้งนี้ ปภ. ได้ระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัย เช่น เฮลิคอปเตอร์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย KA-32, เครื่องสูบส่งน้ำระยะไกล, เครื่องสูบน้ำ, รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย, รถกู้ภัยเคลื่อนที่เร็ว, รถผลิตน้ำดื่ม, รถไฟฟ้าส่องสว่างขนาด 200 KVA, รถบรรทุกเล็ก, รถลากเรือเคลื่อนที่เร็ว, เรือท้องแบน และอุปกรณ์กู้ภัยทางน้ำ จากศูนย์ ปภ. เขตในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง
รวมถึงศูนย์ ปภ. เขตในภาคอื่นที่ไม่มีสถานการณ์ภัยเข้าร่วมปฏิบัติการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ภัย รวมถึงช่วยฟื้นฟูถนนหนทางและอาคารบ้านเรือนในพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด