วันนี้ (28 กันยายน) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่า ในระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม – 27 กันยายน 2567 เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 18 จังหวัด รวมพื้นที่ได้รับผลกระทบ 73 อำเภอ 284 ตำบล 1,408 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 32,973 ครัวเรือน รายละเอียดดังนี้
ภาคเหนือ: 10 จังหวัด 43 อำเภอ 142 ตำบล 739 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 16,926 ครัวเรือน
- เชียงราย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองเชียงราย, เวียงป่าเป้า, แม่สรวย และแม่ลาว รวม 12 ตำบล 108 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,892 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- เชียงใหม่ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองเชียงใหม่, แม่อาย และแม่ออน รวม 10 ตำบล 25 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
- น่าน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนาน้อย, นาหมื่น และเวียงสา รวม 9 ตำบล 10 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 96 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- ลำปาง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่พริก, สบปราบ, เถิน, เกาะคา และแจ้ห่ม รวม 21 ตำบล 129 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,571 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
- ลำพูน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลำพูน, ป่าซาง, บ้านธิ, ทุ่งหัวช้าง, แม่ทา, เวียงหนองล่อง และบ้านโฮ่ง รวม 29 ตำบล 234 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,113 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
- แพร่ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองแพร่, ลอง, วังชิ้น และสูงเม่น รวม 11 ตำบล 27 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 819 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- ตาก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามเงา และบ้านตาก รวม 5 ตำบล 39 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,445 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
- เพชรบูรณ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชนแดน, ศรีเทพ, หล่มเก่า, หนองไผ่ และหล่มสัก รวม 7 ตำบล 21 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 738 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
- พิษณุโลก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพิษณุโลก, พรหมพิราม, บางระกำ, บางกระทุ่ม, วังทอง, นครไทย และวัดโบสถ์ รวม 26 ตำบล 103 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,694 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
- สุโขทัย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสุโขทัย, สวรรคโลก และศรีสำโรง รวม 12 ตำบล 43 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,551 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: 6 จังหวัด 20 อำเภอ 72 ตำบล 361 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,491 ครัวเรือน
- เลย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองเลย รวม 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 112 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- หนองคาย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองหนองคาย, ศรีเชียงใหม่, ท่าบ่อ และโพนพิสัย รวม 26 ตำบล 146 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,717 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- อุดรธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุดรธานี และสร้างคอม รวม 6 ตำบล 23 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 270 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
- ชัยภูมิ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคอนสวรรค์, บ้านแท่น, ภูเขียว และจัตุรัส รวม 10 ตำบล 42 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 66 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- มหาสารคาม เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม, กันทรวิชัย, โกสุมพิสัย และเชียงยืน รวม 19 ตำบล 123 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- อุบลราชธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี, เขมราฐ, โพธิ์ไทร, นาตาล และโขงเจียม รวม 9 ตำบล 23 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 303 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
ภาคตะวันออก: 1 จังหวัด 4 อำเภอ 6 ตำบล 21 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 639 ครัวเรือน
1. ปราจีนบุรี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอประจันตคาม, กบินทร์บุรี, ศรีมหาโพธิ และนาดี รวม 6 ตำบล 21 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 639 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
ภาคกลาง: 1 จังหวัด 6 อำเภอ 64 ตำบล 287 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,917 ครัวเรือน
1. พระนครศรีอยุธยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางบาล, ผักไห่, เสนา, พระนครศรีอยุธยา, บางปะอิน และบางไทร รวม 64 ตำบล 287 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,917 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
ปภ. ได้ระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัยจากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่ พื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในภาคอื่นที่ไม่มีสถานการณ์ภัย เข้าร่วมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ภัย รวมถึงช่วยฟื้นฟูถนนหนทาง อาคารบ้านเรือน ในพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด
ปภ. จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รายงานเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง และปักหลักช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มกำลังจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
ประชาชนสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์ ข่าวสารสาธารณภัย ได้ทาง Facebook: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM และ X: @DDPMNews ตลอดจนติดตามการประกาศแจ้งเตือนภัยได้ทางแอปพลิเคชัน THAI DISASTER ALERT ทั้งระบบ iOS และ Android
หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือได้ทาง LINE ปภ. รับแจ้งเหตุ 1784 โดยเพิ่มเพื่อน LINE ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง