×

สรุปน้ำท่วม 64 (30 กันยายน) 18 จังหวัดน้ำยังท่วม ชัยภูมิกระทบหนักกว่า 7 หมื่นครัวเรือน

โดย THE STANDARD TEAM
30.09.2021
  • LOADING...
flood in thailand 2564

flood in thailand 2564

 

วันนี้ (30 กันยายน) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขอรายงานสถานการณ์สาธารณภัยประจำวัน ระบุว่าจากอิทธิพลพายุโซนร้อน ‘เตี้ยนหมู่’ ซึ่งเคลื่อนตามแนวร่องมรสุมเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2564 ถึงปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ 31 จังหวัด (เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, ตาก, สุโขทัย, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, พิจิตร, กำแพงเพชร, เลย, ขอนแก่น, ชัยภูมิ, ยโสธร, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, จันทบุรี, นครสวรรค์, อุทัยธานี, ชัยนาท, ลพบุรี, สระบุรี, สุพรรณบุรี, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, นครปฐม) 190 อำเภอ, 956 ตำบล, 6,335 หมู่บ้าน, 1 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 227,470 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 7 ราย (จ.ลพบุรี ชาย 6 ราย, จ.เพชรบูรณ์ ชาย 1 ราย) มีผู้สูญหาย 1 ราย (จ.เพชรบูรณ์ หญิง 1 ราย) ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 13 จังหวัด (เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, ตาก, บุรีรัมย์, นครปฐม, ยโสธร, สุรินทร์, เลย, ศรีสะเกษ, สระแก้ว, จันทบุรี, ปราจีนบุรี) ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 18 จังหวัด ได้แก่

 

  1. สุโขทัย ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ (ศรีสำโรง, คีรีมาศ เมืองสุโขทัย) ระดับน้ำลดลง อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ (จุดอพยพวัดกระชงคาราม อ.เมืองสุโขทัย ยังไม่มีผู้พักพิง)  

 

  1. พิษณุโลก เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ (วังทอง, พรหมพิราม, บางระกำ) ปัจจุบันระดับน้ำลดลง 

 

  1. เพชรบูรณ์ เกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่ 6 อำเภอ (หนองไผ่, วิเชียรบุรี, ศรีเทพ, เมืองเพชรบูรณ์, น้ำหนาว, บึงสามพัน) ปัจจุบันระดับน้ำลดลง 

 

  1. พิจิตร เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 อำเภอ (บึงนาราง, โพธิ์ประทับช้าง, โพทะเล, สามง่าม) ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตร ระดับน้ำทรงตัว อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ 

 

  1. กำแพงเพชร ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ (ขาณุวรลักษบุรี, คลองขลุง) ปัจจุบันระดับน้ำลดลง 

 

  1. ขอนแก่น เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมขังในพื้นที่ 9 อำเภอ (ภูผาม่าน, ชุมแพ, หนองเรือ, แวงน้อย, แวงใหญ่, โคกโพธิ์ชัย, ชนบท, มัญจาคีรี, โนนศิลา) ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ 

 

  1. ชัยภูมิ ยังคงเหลือ 5 อำเภอ (เมืองชัยภูมิ, ภูเขียว, บ้านเขว้า, จัตุรัส, คอนสวรรค์) ระดับน้ำเพิ่มขึ้น อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ จุดอพยพ 1 จุด ยังไม่มีผู้พักพิง 

 

  1. นครราชสีมา ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 13 อำเภอ (ด่านขุนทด, สูงเนิน, โนนสูง, เมืองนครราชสีมา, พิมาย, ปักธงชัย, โนนไทย, คง, พระทองคำ, จักราช, สีดา, ขามสะแกแสง, บ้านเหลื่อม) ระดับน้ำเพิ่มขึ้น อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ ซึ่งไหลมาจากอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร  

 

  1. อุบลราชธานี ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่อำเภอเมืองอุบลราชธานี ระดับน้ำเพิ่มขึ้น มีจุดอพยพ 9 จุด 101 ครัวเรือน 

 

  1. นครสวรรค์ ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 2 อำเภอ (ลาดยาว, ท่าตะโก) ระดับน้ำลดลง อยู่ระหว่างการเร่ง ระบายน้ำ 

 

  1. อุทัยธานี ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 3 อำเภอ (เมืองอุทัยธานี, ทัพทัน, สว่างอารมณ์) ระดับน้ำลดลง 

 

  1. ชัยนาท เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 8 อำเภอ (มโนรมย์, วัดสิงห์, เนินขาม, หันคา, สรรคบุรี, สรรพยา, เมืองชัยนาท, หนองมะโมง) ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 

 

  1. ลพบุรียังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 อำเภอ (เมืองลพบุรี, ชัยบาดาล, บ้านหมี่, โคกสำโรง) ระดับน้ำลดลง 

 

  1. สระบุรี เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 9 อำเภอ (วังม่วง, แก่งคอย, เสาไห้, บ้านหมอ, หนองโดน, วิหารแดง, พระพุทธบาท, เมืองสระบุรี, มวกเหล็ก) ระดับน้ำเพิ่มขึ้น  

 

  1. สุพรรณบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ (บางปลาม้า, สองพี่น้อง) ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 

 

  1. สิงห์บุรี เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ (อินทร์บุรี, เมืองสิงห์บุรี, ค่ายบางระจัน) ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น 

 

  1. อ่างทอง เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 4 อำเภอ (เมืองอ่างทอง, วิเศษชัยชาญ, ไชโย, ป่าโมก) ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้น จากเหตุแม่น้ำเจ้าพระยาล้นพนังกั้นน้ำ บริเวณหมู่ที่ 5 ตำบลบางปลากด อำเภอป่าโมก  

 

  1. พระนครศรีอยุธยา เกิดน้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ (ผักไห่, เสนา, บางบาล, พระนครศรีอยุธยา, บางไทร) ปัจจุบันมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และคลองโผงเผง ซึ่งอยู่นอกคันกั้นน้ำระดับน้ำเพิ่มขึ้น ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่เพื่อเร่งระบายน้ำแล้ว 

ภาพประกอบ: นิสากร ฤทธาภัย

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X