×

อัตราว่างงานในสหรัฐฯ แตะระดับ 14.7% สูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากพิษโควิด-19, แบงก์ชาติจีนยันเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจอย่างรอบคอบ-ยืดหยุ่น: 5 ปัจจัยที่นักลงทุนต้องรู้ (11 พ.ค. 2563)

โดย FINNOMENA
11.05.2020
  • LOADING...
  • ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 รัฐบาลอินเดียดำเนินมาตรการต่างๆ อาทิ การลงพื้นที่เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการย้ายฐานการผลิตมายังประเทศอินเดีย รวมไปถึงการให้สิทธิพิเศษทางด้านภาษีเพื่อดึงดูดบริษัทอเมริกันกว่า 1,000 แห่งให้ย้ายฐานการผลิตออกจากจีน หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดปัญหาห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก จึงทำให้หลายๆ ประเทศให้ความสำคัญกับการกระจายฐานการผลิตมากขึ้นนอกเหนือไปจากจีน

 

  • สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) เผยรายงานว่า ธุรกิจสายการบินจะเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 มากที่สุด ซึ่งส่งผลให้ 2 ใน 3 ของเครื่องบินพาณิชย์ทั่วโลกกว่า 26,000 ลำต้องหยุดบิน สร้างผลกระทบต่อพนักงานสายการบินกว่า 25 ล้านคน สอดคล้องกับยอดขายตั๋วที่อาจลดลงกว่า 314,000 ดอลลาร์สหรัฐ และอาจส่งผลให้สายการบินกว่าครึ่งล้มละลายในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า หากรัฐบาลไม่ช่วยเหลือ

 

  • สหรัฐฯ เผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรหดตัว 20.5 ล้านตำแหน่ง ส่งผลให้อัตราการว่างงานแตะระดับ 14.7% ซึ่งมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้ต้องดำเนินนโยบายล็อกดาวน์ในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวยังดีกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะหดตัว 22 ล้านตำแหน่ง ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการว่างงานแตะระดับ 16% จากการจ้างงานในภาคการเงินและเทคโนโลยีที่หดตัวน้อยกว่าคาด

 

  • โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทวีตข้อความระบุว่า สัปดาห์นี้รัฐบาลสหรัฐฯ จะเริ่มซื้อผลิตภัณฑ์นม เนื้อสัตว์ และผลผลิตต่างๆ จากเกษตรกรและคนเลี้ยงสัตว์ในสหรัฐฯ เป็นวงเงินราว 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลังความต้องการสินค้าเกษตรลดลงอย่างหนักในช่วงก่อนหน้า

 

  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) ออกแถลงการณ์สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่า PBOC จะดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเหมาะสม รอบคอบ และยืดหยุ่น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะเกิดภาวะทางการเงินที่เอื้ออำนวยต่อการป้องกันและควบคุมโรคระบาด ไปพร้อมๆ กับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ สร้างเสถียรภาพด้านอัตราแลกเปลี่ยน และแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของจีนอย่างแท้จริง พร้อมทั้งระบุว่านโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านตลาดอสังหาริมทรัพย์จะไม่ถูกนำมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นในครั้งนี้ เนื่องจากอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงเชิงระบบต่อไป

 

ภาวะตลาดวันศุกร์ที่ผ่านมา

  • ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นหลังตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรออกมาน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ แสดงภาพรวมเศรษฐกิจอาจไม่ได้แย่อย่างที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้นักลงทุนกล้าที่จะเข้าซื้อหุ้นที่เป็นสินทรัพย์เสี่ยง สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นยุโรปที่ปรับตัวขึ้นเช่นกันจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ รวมไปถึงการผ่อนคลายการล็อกดาวน์ที่อาจช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาดีขึ้นเร็วๆ นี้

 

  • สัญญาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นแรงหลังจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ ลดลงอย่างต่อเนื่อง แสดงถึงอุปทานที่เริ่มลดลง ในขณะที่ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันเริ่มสูงขึ้น หลังหลายๆ ประเทศเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ด้านสัญญาทองคำปรับตัวลงเล็กน้อยหลังตลาดหุ้นกลับมาคึกคักอีกครั้ง ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มเทขายทองคำที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยออกมา

 

สหรัฐฯ

  • Dow 30 อยู่ที่ 24331.32 เพิ่มขึ้น 455.43 (1.91%)
  • S&P 500 อยู่ที่ 2929.8 เพิ่มขึ้น 48.61 (1.69%)
  • Nasdaq อยู่ที่ 9121.32 เพิ่มขึ้น 141.66 (1.58%)

 

ยุโรป

  • DAX อยู่ที่ 10904.48 เพิ่มขึ้น 145.21 (1.35%)
  • FTSE 100 อยู่ที่ 5935.98 เพิ่มขึ้น 82.22 (1.4%)
  • Euro Stoxx 50 อยู่ที่ 2908.11 เพิ่มขึ้น 27.51 (0.95%)
  • FTSE MIB อยู่ที่ 17439.3 เพิ่มขึ้น 194.26 (1.13%)

 

เอเชีย

  • Nikkei 225 อยู่ที่ 20179.09 เพิ่มขึ้น 504.32 (2.56%)
  • S&P/ASX 200 อยู่ที่ 5391.1 เพิ่มขึ้น 26.9 (0.5%)
  • Shanghai อยู่ที่ 2895.34 เพิ่มขึ้น 23.82 (0.83%)
  • SZSE Component อยู่ที่ 11001.58 เพิ่มขึ้น 138.29 (1.27%)
  • China A50 อยู่ที่ 13526.28 เพิ่มขึ้น 118.92 (0.89%)
  • Hang Seng อยู่ที่ 24230.17 เพิ่มขึ้น 249.54 (1.04%)
  • Taiwan Weighted อยู่ที่ 10901.42 เพิ่มขึ้น 58.5 (0.54%)
  • SET อยู่ที่ 1266.02 เพิ่มขึ้น 8.04 (0.64%)
  • KOSPI อยู่ที่ 1945.82 เพิ่มขึ้น 17.21 (0.89%)
  • IDX Composite อยู่ที่ 4597.43 ลดลง -11.36 (-0.25%)
  • BSE Sensex อยู่ที่ 31642.7 เพิ่มขึ้น 199.32 (0.63%)
  • PSEi Composite อยู่ที่ 5621.94 ลดลง 0 (0%)

 

Commodity

  • ราคาน้ำมันดิบ WTI อยู่ที่ 24.74 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.03 (4.34%)
  • ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ อยู่ที่ 30.97 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.59 (5.41%)
  • ราคาทองคำอยู่ที่ 1702.65 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ลดลง -11.77 (-0.69%)

 

FINNOMENA

 

อ้างอิง: 

  • Infoquest
  • Bloomberg
  • Investing
  • CNBC
  • Reuters

 

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X