×

ข้อดีของกลยุทธ์การลงทุนแบบ Factor Investing

02.06.2021
  • LOADING...
Factor Investing

ในโลกของการลงทุนนั้น นักลงทุนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงการลงทุนในหุ้นหรือตราสารหนี้เป็นอันดับแรกๆ แต่ความเป็นจริงแล้วยังมีสินทรัพย์ทางเลือกชนิดอื่นๆ ให้นักลงทุนสามารถลงทุนได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ สินค้าทางเลือก เช่น ทองคำ น้ำมัน รวมถึงสกุลเงินต่างๆ ซึ่งทรัพย์สินหรือหลักทรัพย์เหล่านี้จะสร้างผลตอบแทนได้มากน้อยแค่ไหน ก็มักจะขึ้นอยู่กับสภาวะทางเศรษฐกิจนั่นเอง

 

สำหรับการจัดสรรสินทรัพย์นับว่าเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างผลตอบแทนและความเสี่ยง โดยเป็นการจัดพอร์ตการลงทุนตามเป้าหมายของแต่ละบุคคล โดยการจัดสรรสินทรัพย์การลงทุนในยุคแรกๆ มักเป็นเพียงการจัดสรรสินทรัพย์ระหว่างตราสารทุน ตราสารหนี้ และเงินสด หลังจากนั้นพอเริ่มมีการขยายการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ก็เริ่มมีการแบ่งสัดส่วนการลงทุนตามภูมิภาคต่างๆ ทำให้การจัดสรรสินทรัพย์มีความซับซ้อนมากขึ้น แต่ถ้าเรามองย้อนไปยังวิกฤตที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตซับไพรม์ในปี 2008 หรือวิกฤตจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปี 2020 ที่ผ่านมา จะพบว่าสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลก มีความผันผวนสูงขึ้นเป็นอย่างมาก และเกือบทุกสินทรัพย์ก็ให้ผลตอบแทนติดลบไปพร้อมๆ กัน ทำให้การกระจายความเสี่ยงไปยังสินทรัพย์ที่หลากหลายจะไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม เมื่อเราวิเคราะห์ผลตอบแทนของสินทรัพย์เหล่านี้ และแยกวิเคราะห์องค์ประกอบของผลตอบแทน เราจะเห็นได้ชัดเจนถึงปัจจัยสภาวะเศรษฐกิจหลักที่เป็นตัวขับเคลื่อนผลตอบแทน เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ฯลฯ เมื่อเราเข้าใจหรือคาดการณ์ปัจจัยเหล่านี้ได้ เราก็จะเลือกส่วนผสมและกลยุทธ์ที่เหมาะสม เพื่อสร้างผลตอบแทนและควบคุมความเสี่ยงตามเป้าหมายได้ ซึ่งการวิเคราะห์ปัจจัยสำหรับการลงทุนดังกล่าวเรียกว่า ‘Factor Investing’

 

กลยุทธ์ที่มักถูกนำมาใช้ควบคู่กับ Factor Investing ก็คือกลยุทธ์ Risk Premia ซึ่งจะทำให้เราสามารถกระจายความเสี่ยงได้ดีแม้จะมีวิกฤตเกิดขึ้นก็ตาม ซึ่งเมื่อแบ่งที่มาของปัจจัยในกลยุทธ์นี้อาจจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มปัจจัย ได้แก่

 

กลุ่ม 1 Micro Individual Equities หรือ Style Factor เช่น การลงทุนในหุ้นกลุ่มเน้นคุณค่า (Value) คือการซื้อ (Long) หุ้นที่มีราคาต่ำเมื่อเทียบกับปัจจัยราคาพื้นฐาน และการขาย (Short) หุ้นที่มีราคาสูงเมื่อเทียบกับปัจจัยพื้นฐาน หรือการลงทุนหุ้นกลุ่ม Momentum คือซื้อ (Long) หุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงในช่วงที่ผ่านมา และขาย (Short) หุ้นที่ให้ผลตอบแทนต่ำในช่วงที่ผ่านมา 

 

กลุ่ม 2 Macro Factor คือการฉวยโอกาสจากราคาของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในระยะสั้นและระยะยาวที่แตกต่างกัน ซึ่งเกิดจากอุปสงค์และอุปทาน เป็นต้น

 

โดยสาเหตุหลักที่ทำให้ปัจจัยเหล่านี้สามารถสร้างผลตอบแทนได้นั้นมาจากเหตุผล 3 ประการ ได้แก่ 

 

  1. ความเต็มใจของนักลงทุนที่จะรับความเสี่ยง 
  2. ข้อจำกัดจากอุปสรรคเชิงโครงสร้าง
  3. พฤติกรรมของนักลงทุน (Behavioral Finance) ที่ว่านักลงทุนบางคนไม่ได้ลงทุนอย่างมีเหตุผลตลอดเวลา

 

สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในกองทุนที่มีกลยุทธ์แบบ Factor Investing นั้น บลจ.ไทยพาณิชย์ ได้นำเสนอกองทุนเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของนักลงทุน เช่น กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Global Machine Learning Equity (SCBGML) ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน ETF หรือหน่วยลงทุนกองทุนรวมต่างประเทศ มีเป้าหมายในการลงทุนที่ให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management) โดยใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณ และมีการใช้เทคนิคทาง Machine Learning มาใช้คัดเลือกหน่วยลงทุนในการลงทุน และมีการวิเคราะห์กรอบการลงทุนในประเทศต่างๆ

 

และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Machine Learning China All Share (SCBMLCA) เน้นลงทุนในหุ้นที่ออกโดยบริษัทสัญชาติจีน โดยเบื้องต้นจะลงทุนใน 3 ตลาดสำคัญของประเทศจีน ได้แก่ 

 

1. ตลาด A-Share ตลาดหุ้นจีนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้และเซินเจิ้น เน้นลงทุนในธุรกิจการบริโภคอุปโภคภายในประเทศ 

2. ตลาด H-Share ตลาดหุ้นจีนที่จดทะเบียนในฮ่องกง ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของนักลงทุนสถาบันและลงทุนระยะยาว
3. ตลาด ADR บริษัทที่ประกอบธุรกิจในจีน แต่จดทะเบียนซื้อขายในสหรัฐอเมริกา

 

ทั้งนี้ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน รวมถึงควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนตัดสินใจลงทุน สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการ ได้ที่ SCBAM Call Center โทร.0 2777 7777 กด 0 กด 6 หรือผู้สนับสนุนการขายทุกราย สนใจเปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชัน SCBAM Fund Click ได้ที่ https://scbam.link/scbam_fund_click

 

พิสูจน์อักษร: นัฐฐา สอนกลิ่น

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising