×

เศรษฐกิจโลกทำพิษ! ส่งออกเดือน พ.ย. ติดลบ 6% หดตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน

27.12.2022
  • LOADING...
เศรษฐกิจโลก

กระทรวงพาณิชย์เผยตัวเลขการส่งออกเดือนพฤศจิกายนขยายตัวติดลบ​ 6% หดตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ขณะที่ภาพรวมการส่งออก 11 เดือนแรกยังโต 7.6%

 

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงข่าวภาวะการค้าระหว่างประเทศเดือนพฤศจิกายน 2565 พบว่า ตัวเลขการส่งออกขยายตัวติดลบ 6% คิดเป็นมูลค่ารวม 2.23 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 8.46 แสนล้านบาท อย่างไรก็ดี ตัวเลขการส่งออกในภาพรวมช่วง 11 เดือนแรกของปี 2565 ยังคงขยายตัวได้ 7.6% คิดเป็นมูลค่า 2.65 แสนล้านดอลลาร์ หรือ 9.16 ล้านล้านบาท

 

ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 2.36 หมื่นล้านดอลลาร์ ขยายตัว 5.6% และ 11 เดือน มีมูลค่า 2.80 แสนล้านดอลลาร์ ขยายตัว 16.3% ส่งผลให้ดุลการค้าเดือนพฤศจิกายนขาดดุล 1.34 พันล้านดอลลาร์ และ 11 เดือน ขาดดุล 1.50 หมื่นล้านดอลลาร์

 

ทั้งนี้ หากจำแนกดูตามหมวดสินค้าพบว่า การส่งออกหมวดสินค้าเกษตรขยายตัวติดลบ 4.5% คิดเป็นมูลค่าราว 1.98 พันล้านดอลลาร์ หรือ 7.52 หมื่นล้านบาท สำหรับสินค้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ ผลไม้แช่แข็ง ผลไม้แห้ง ไก่สด-แช่เย็น-แช่แข็ง สับปะรดสด ทุเรียนสด และมะม่วงสด

 

ขณะที่หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรขยายตัว 1% คิดเป็นมูลค่าราว 1.74 พันล้านดอลลาร์ หรือ 6.62 หมื่นล้านบาท โดยมีสินค้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ น้ำตาลทราย ไอศกรีม ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี และเครื่องดื่ม

 

ด้านหมวดสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวติดลบ 5.1% คิดเป็นมูลค่า 1.78 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 6.78 แสนล้านบาท มีรายการสินค้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์และส่วนประกอบ อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด เครื่องปรับอากาศ รถจักรยานยนต์ รถยนต์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ

 

สำหรับตลาดที่ขยายตัวสูง 10 อันดับแรก ประกอบด้วย
1. อิรัก +215.6%
2. บาห์เรน +153.1%

  1. ซาอุดีอาระเบีย +40.1%
    4. สหราชอาณาจักร +22.2%
    5. สปป.ลาว +21.3%
  2. เบลเยียม+11.4%
  3. เม็กซิโก +10.5%
    8. เมียนมา +3.7%
    9. สหรัฐอเมริกา +1.2%
    10. อินเดีย +0.7%

 

สำหรับปัจจัยบวกสำคัญที่ช่วยสนับสนุนตัวเลขการส่งออกเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ประกอบด้วย

  1. ตลาดโลกยังมีความต้องการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหาร
  2. การเติบโตของเทคโนโลยี 5G และเศรษฐกิจดิจิทัล
  3. สถานการณ์ขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ที่คลี่คลายและมีแนวโน้มดีขึ้น

 

ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่

  1. เศรษฐกิจโลกชะลอตัว
  2. สถานการณ์เงินเฟ้อทั่วโลกที่ยังอยู่ในระดับสูง และแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางในต่างประเทศ
  3. ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ยังคงอยู่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising