×

สรุปเคล็ดวิชาจาก ‘ตำราพิชัยส่งออก’ โดย EXIM BANK ติดอาวุธ SMEs ไทยให้กล้าแกร่ง ก่อนลงแข่งในตลาดโลก [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
31.12.2021
  • LOADING...
EXIM BANK

HIGHLIGHTS

4 Mins. Read
  • ในจำนวน SMEs ทั้งหมด 6 ล้านรายในประเทศไทยทั้งในและนอกระบบ เป็นผู้ส่งออกไม่ถึง 30,000 ราย อะไรคือจุดอ่อนที่ทำให้ SMEs ก้าวออกนอกประเทศไม่ได้ 
  • ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ในฐานะธนาคารเฉพาะกิจของรัฐที่คอยสนับสนุน ให้คำปรึกษา และอยู่เคียงข้างผู้ส่งออก พร้อมทำหน้าที่โรงเรียนเตรียมทหารติดอาวุธครบมือ ทั้งองค์ความรู้และเครื่องมือทางการเงิน รวมทั้งเกราะป้องกันความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้นักรบเศรษฐกิจไทยพร้อมออกไปแข่งขันในตลาดโลกได้ หนึ่งในนั้นคือ ‘ตำราพิชัยส่งออก’ ว่าด้วยกระบวนท่าพิชัยสงคราม ‘ดิน น้ำ ลม ไฟ’ ที่จะช่วยเพิ่มจำนวน SMEs ส่งออกสินค้าไทยไปแข่งขันในระดับโลก

หากต้องการให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเร็วขึ้นต้องดัน SMEs ให้เติบโต เพราะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวนมากเปรียบได้กับกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจไทย

  

แต่ข้อเท็จจริงที่ประเทศไทยกำลังเผชิญคือ ในจำนวน SMEs ทั้งที่อยู่ในระบบและนอกระบบจำนวน 6 ล้านรายในประเทศไทย มีเพียงไม่ถึง 30,000 รายเท่านั้นที่สามารถส่งออกสินค้าไปแข่งขันในตลาดโลกได้

 

คำถามคือ แล้วจะทำอย่างไรจึงจะเพิ่มจำนวนผู้เล่น SMEs ไทยให้สามารถส่งออกสินค้าไปยังตลาดโลกได้ 

 

EXIM BANK

 

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปรียบสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในตอนนี้ว่า เหมือนนักวิ่งที่บาดเจ็บจากปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เรื้อรัง และยังถูกซ้ำเติมจากการระบาดของโควิดไม่ว่าจะเป็น

  

  • การบริโภคภายในประเทศที่มีแนวโน้มขยายตัวช้าลงจากปัญหาการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และหนี้ครัวเรือนที่สูงแตะระดับ 90% และยังถูกซ้ำเติมจากการล็อกดาวน์ที่เกิดขึ้นเกือบตลอดทั้งปี 2564 
  • การลงทุนจากภาครัฐและเอกชนที่หยุดนิ่งมานาน และแทบไม่มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่เกิดขึ้นเลยในช่วงที่ผ่านมา 
  • การท่องเที่ยวที่มีสัดส่วนสูงถึงเกือบ 20% ต่อ GDP สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด และเป็นการฉุดรั้งให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่นๆ 
  • การส่งออกแม้จะเติบโตสูง แต่โครงสร้างการส่งออกมาจากคนตัวใหญ่เป็นหลัก 


“ในปัจจัยหลักทั้งสี่ มีเพียงการส่งออกยังเสมือนเป็น Support เข่า ซึ่งช่วยพยุงให้นักวิ่งยังวิ่งต่อไปได้ วันนี้ EXIM BANK จึงเร่งปรับโครงสร้างการส่งออก โดยพยายามสร้างผู้ส่งออก SMEs ให้มากขึ้น เพื่อให้ SMEs ลืมตาอ้าปากได้ และทำให้การส่งออกกลายเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำหรับผู้ประกอบการทุกกลุ่มอย่างแท้จริง 


“ปี 2564 เศรษฐกิจโลกเติบโตอยู่ประมาณ 6% การค้าโลกเติบโตเกือบ 10% แต่เศรษฐกิจไทยกลายเป็นนักวิ่งบาดเจ็บที่วิ่งรั้งท้าย โดยตัวเลข GDP ไทยอยู่ที่เพียง 1% บวกลบ ซึ่งหากปล่อยไว้แบบนี้เศรษฐกิจไทยจะยิ่งถูกทิ้งห่างมากขึ้นเรื่อยๆ”

 

ดร.รักษ์ ยังชี้ให้เห็นถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของภาคส่งออกไทย หากต้องการให้ภาคส่งออกเติบโตอย่างยั่งยืนต้องปิดจุดอ่อนให้ได้ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า ทำอย่างไรให้ SMEs ผันตัวเองเป็นผู้ส่งออกได้   

 

EXIM BANK

 

การส่งออกของไทยมีจุดแข็งในเรื่องการกระจายตลาดที่ทำให้โครงสร้างตลาดส่งออกสามารถรักษาบาลานซ์ได้ดี กำลังซื้อที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกำลังจะเปลี่ยนไป แทนที่จะเป็นกำลังซื้อที่เติบโตตามทฤษฎีขั้วการเติบโต (Growth Pole Theory) ตอนนี้ Growth Pole เริ่มกระจายตัว หมายความว่าไม่ใช่สหรัฐฯ จะเติบโตเพียงประเทศเดียว หรือจีนจะเติบโตเพียงลำพัง แต่เป็นกระเปาะเล็กๆ ที่เริ่มโตกระจาย ไม่ใช่ประเทศมหาอำนาจอีกต่อไปที่มีกำลังซื้อ

 

“มองกลับมาที่สูตรสมการของประเทศไทยน่าสนใจตรงที่เราไม่เคยเทหน้าตักไปที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง อาจเพราะประเทศไทยได้รับบทเรียนมาจากวิกฤตต้มยำกุ้งและ Hamburger Crisis ทำให้ไทยปรับสัดส่วนการส่งออกให้มีบาลานซ์ที่ดี ส่งออกไปประเทศต่างๆ อย่างสหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, จีน และ EU เฉลี่ยประเทศละ 10% แต่ในโครงสร้างการส่งออกของหลายประเทศเทไปที่ขั้วใดขั้วหนึ่งเกือบ 50% ความเสี่ยงคือ ถ้าประเทศที่เป็นลูกค้าหลักของเราล้ม เราก็ล้มไปด้วย แต่สำหรับประเทศไทยเท่ากับว่า หากมีประเทศหรือขั้วอำนาจใดทรุด ประเทศไทยจะไม่ทรุดมาก”

 

แต่การส่งออกไทยก็มีจุดอ่อนเช่นเดียวกัน แม้ไทยจะจัดบาลานซ์โครงสร้างตลาดส่งออกได้อย่างดี แต่ยังมีจุดอ่อนสำคัญคือ การส่งออกของไทยพึ่งพาผู้ประกอบการรายใหญ่เป็นหลัก ขณะที่ SMEs มีเพียงไม่ถึง 1% ที่สอดแทรกตัวมาเป็นผู้ส่งออกได้ โดยมีหลายปัจจัยที่กลายเป็นข้อจำกัดทำให้ SMEs ไทยไม่กล้าก้าวออกจากความเคยชินเดิมๆ ทำให้ไม่สามารถผันตัวเองไปเป็นผู้ส่งออกได้

 

EXIM BANK

 

ดร.รักษ์ แบ่งข้อจำกัดของ SMEs ไทยในการผันตัวไปเป็นผู้ส่งออก 2 แบบ คือ

 

1. ต้องปรับ Global Mindset เพื่อเข้าใจตลาดโลก 

วันนี้เราเป็น Global Citizen หากการส่งออกกลับมาเป็นพระเอก เราต้องปรับรสนิยมในการส่งมอบบริการและผลิตภัณฑ์กับคนที่เป็น Global Citizen จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจจริตของคนต่างประเทศ ต่างวัฒนธรรม อะไรควร-ไม่ควร ในการทำการค้ากับคนเหล่านั้น โดยใช้หลัก 4H มาประกอบการปรับ Global Mindset ใหม่ และเป็นสิ่งที่ EXIM BANK เตรียมไว้สำหรับทุกคน คือ

 

  • Hope ธุรกิจของคุณต้องรักโลก มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 
  • Health ในอนาคตจะเป็นของ Healthy Living โลกที่ผู้บริโภคออกแบบอาหารของตัวเองในแต่ละมื้อได้ 
  • Home โควิดทำให้เราต้องอยู่บ้านมากขึ้น สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแต่งบ้าน รีโนเวตบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เป็นที่ต้องการ
  • Happiness สินค้าและบริการที่มอบความสุข เช่น สกินแคร์ เกม อุปกรณ์แก็ดเจ็ต หรือคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มต่างๆ 

 

2. ป้องกันความเสี่ยงจากการทำการค้ากับต่างประเทศ มี Global Risk อะไรบ้างที่ SMEs ไทยต้องรับมือ 

 

  • ป้องกันความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้า ความเสี่ยงจากการไม่ชำระค่าสินค้าหลังจากการวางมัดจำมีสูง EXIM BANK มีบริการประกันการส่งออกเพื่อช่วยในกรณีนี้ หากส่งออกไปแล้วสามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนจาก EXIM BANK ได้ ทาง EXIM BANK จะรับภาระการติดตามการชำระเงิน เสมือนอมยาพิษแทนผู้ประกอบการ
  • ความเสี่ยงของค่าเงิน เนื่องจากค่าเงินที่ผันผวนมีผลต่อราคา Final Price ขณะเดียวกันผู้ประกอบการบางรายอาจจะไม่เข้าใจการทำ Forward หรือ Option ทาง EXIM BANK จะเข้ามารับหน้าที่ดูแลและให้คำแนะนำว่าควรจัดการอย่างไรในการบริหารความเสี่ยงจากค่าเงิน

 

“อีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นคือการระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่ แต่เรามองว่า หากมีการล็อกดาวน์อีกครั้งคุณต้องมีเงินสดในมือ การบริหารจัดการเมื่อมีภาวะฉุกเฉินต้องทำอย่างไร นี่เป็นสิ่งที่ประเทศไทยเคยรับมือมาแล้ว คนที่รอดคือคนที่ปรับแผนธุรกิจ และจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้ประกอบการไทยเริ่มเข้าใจแล้วว่าเราไม่ควรกระจุกดีมานด์ของสินค้าไว้ที่บางทวีปเท่านั้น หากมองจากซัพพลายเชนวันนี้ไทยสามารถกระจายสินค้าไปอาเซียนได้ เพราะสามารถส่งออกทางอากาศได้ แม้กระทั่งขับรถไปส่งที่จีนก็ยังได้ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการเริ่มเรียนรู้จากวิกฤตที่ผ่านมา”

 

EXIM BANK

 

EXIM BANK ปรับ ‘ตำราพิชัยส่งออก’ กระตุ้น SMEs ไทย พร้อมสู่เวทีโลก

วันนี้ EXIM BANK ปรับบทบาทองค์กรให้เป็นเหมือนโรงเรียนเตรียมทหาร เตรียมนักรบเศรษฐกิจไทยให้มีองค์ความรู้และอาวุธครบมือ เพื่อออกไปแข่งขันในตลาดโลก หนึ่งในนั้นคือ ‘ตำราพิชัยส่งออก’ คู่มือทำสงครามยุคใหม่ที่จะช่วยส่งผู้ประกอบการไทยให้ขึ้นนำได้ในสนามโลกาภิวัตน์ ด้วยการปรับกระบวนยุทธ์ให้แข็งแกร่งทุกมิติ หรือที่เรียกว่า ‘พิชัยสงคราม ดิน น้ำ ลม ไฟ’ 

 

  • ดิน: สร้างฐานรากธุรกิจให้มั่นคง สงครามยุคใหม่ต้องมี Plan B เสมอ ในวันที่ความไม่แน่นอนเกิดขึ้นมากมาย จะเล่นไพ่กองเดียวไม่ได้ ต้องมีธุรกิจเสริม ขณะเดียวกันต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี เพื่อรากฐานธุรกิจที่มั่นคง  
  • น้ำ: ปรับตัวเข้ากับตลาดเป้าหมาย หากต้องการเป็นคู่ค้ากับประเทศไหน ต้องเรียนรู้และเข้าใจจริตและตลาดของประเทศนั้น เพื่อ Customization หรือปรับจริตของสินค้าและบริการให้เข้ากับตลาดที่เราจะไป 
  • ลม: เข้าถึงลูกค้าได้อย่างว่องไว เสริมความไวด้วยเทคโนโลยี E-Commerce คือทางรอด EXIM BANK สามารถให้ผู้ประกอบการทำธุรกิจใน Alibaba ซึ่งเป็นคู่ค้าของเราได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังมีแพลตฟอร์มมากมายที่เหมาะกับแต่ละธุรกิจให้เลือก  
  • ไฟ: ทำสินค้าและตลาดได้ตรงจุด ด้วยการทำ Branding ทำโฆษณาสินค้า เรียนรู้เทรนด์ใหม่ๆ เพื่อจะได้สื่อสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย 


“นี่เป็นสิ่งที่สถาบันการเงินยุคใหม่ต้องเติมความรู้ให้กับผู้ประกอบการ นอกเหนือจากการมีเครื่องมือที่ช่วยให้การทำธุรกิจส่งออกสะดวก เช่น ประกันการส่งออก การป้องกันความเสี่ยงด้านค่าเงินผันผวน และแพลตฟอร์ม E-Commerce”

  

ความสามารถในการแข่งขันของไทยกำลังทำให้ไทยตกขบวนหรือเปล่า 

ดร.รักษ์ บอกว่า ต้องถามตัวเองว่าเราอยากได้ฐานทุนขนาดใหญ่ในประเทศไทยอยู่หรือเปล่า ที่ผ่านมาเขาได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เราหรือไม่ หรือมองเราเป็นฐานการผลิต เมื่อโลกกำลังเปลี่ยน เราอาจมองอะไรจากมุมเดิมๆ ไม่ได้

 

“ประเทศไทยคือนักจับแพะชนแกะที่เก่งที่สุดในอาเซียน เราได้เปรียบด้านโลจิสติกส์และที่ตั้ง นั่นคือสิ่งที่ทำให้เราสามารถเปลี่ยนกระบวนการการแข่งขันได้ เราเป็น System Integrator ได้ เราให้ Ecosystem ในมุมอื่น ดึงมุมอื่นๆ ที่ประเทศไทยโดดเด่นมาสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างบทบาทให้กับสิ่งเหล่านั้น แทนที่จะวางตัวเป็นคู่แข่ง ก็เปลี่ยนให้เป็นคู่ค้า อะไรที่เขาขาดเราเสริม เราสามารถวางตำแหน่งตัวเองให้เป็น Regional Headquarters ของ Global MNC ได้

 

“แทนที่จะลงแข่งในมุม FDI เพราะในมุมนักลงทุน เมื่อเขามองหาสถานที่ที่สร้างความได้เปรียบทางการผลิต ไม่ว่าจะเป็นค่าแรง ฐานภาษี หรือความได้เปรียบด้านการส่งออก ต้องยอมรับว่าประเทศไทยไม่มีแต้มต่อตรงนี้เมื่อเทียบกับเวียดนามซึ่งค่าแรงถูกกว่า ถ้าอย่างนั้นเราก็ไปเล่นมุมอื่น ซึ่งตรงนี้ EXIM BANK สามารถให้สินเชื่อนักลงทุนได้ ดังนั้น FDI ที่อยากมาตั้ง Headquarters ในไทยก็มาเป็นลูกค้าเรา หรือถ้าต้องการเป็น System Integrator และ Lead Arranger ในโครงสร้างขนาดใหญ่ EXIM BANK อาจมีเงื่อนไขบางอย่าง เช่น ขอให้คนไทยมีโอกาสในการเติบโตนั้น เช่น FDI ต้องการมาสร้าง Infrastructure ก็ขอให้มีทุนไทยอยู่ในนั้นสัก 30% โดยที่ EXIM BANK สามารถปกป้องสินเชื่อทั้งก้อนหรือเกือบทั้งก้อนได้ และเรายังสามารถให้บริการการประกันความเสี่ยงการลงทุนได้เช่นกัน นั่นคือการนำความเก่งและความแกร่งของเรามาสร้างคุณค่า โดยให้ผู้เล่นต่างชาติมาเล่นในสนามแข่งบ้านเราได้ โดยที่สามารถพัฒนาผู้เล่นคนไทยได้พร้อมกัน”  

 

ดร.รักษ์ ยังกล่าวเสริมว่า หากไทยจะวิ่งกลับเข้าลู่ต้องเริ่มจากหาตัวเองให้เจอว่าอะไรคือจุดแข็ง เช่น การมีระบบ Health Care ที่ดีที่สุดในอาเซียน ระบบสาธารณสุขไทยที่เกือบติด Top 5 ของโลก ทำให้นักลงทุนอยากเข้ามาลงทุนในไทย

 

“วันนี้ทุนไทยมีความแข็งแกร่งมากขึ้น เรามีทุนไทยที่อยู่ใน Top 100 Forbes และใน Top 100 ของโลกในหลายอุตสาหกรรม สามารถสร้าง Ecosystem ในการพึ่งพาพึ่งพิงได้หรือไม่ เช่น ถ้าเราปล่อยซัพพลายเชนของคนตัวใหญ่ SMEs ตัวเล็กก็สามารถต่อแถวได้ ทำให้ SMEs เติบโตไปพร้อมกับคนตัวใหญ่ หรืออาจเขียนลงไปในเอกสารสินเชื่อว่าต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับ SMEs เพื่อให้เขาขยับจากไซส์เล็กไปไซส์กลาง จนเติบโตมาเป็นไซส์ใหญ่ได้

  

“ปัจจุบัน EXIM BANK มีเครื่องมือที่จะช่วยให้ SMEs สามารถเปลี่ยนตัวเองให้พร้อมสู้รบในสนามแข่งที่มีผู้เล่นทุกไซส์ นั่นก็คือ สินเชื่อ EXIM Biz Transformation Loan ด้วยการให้ดอกเบี้ย 2 ปีแรกเพียง 2% กับ SMEs นำไปซื้อนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับโลกอนาคต โดยจะให้ต่อ 1 ราย มากสุดถึง 100 ล้านบาท เราจึงเรียกว่าเป็นสินเชื่อเพื่อเปลี่ยนอนาคตของ SMEs”

 

EXIM BANK

 

‘เขตการค้าเสรี’ ไทยมีโอกาสขนาดไหน

ต้องย้อนกลับมาดูว่าเราเองเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าไปในเขตเศรษฐกิจการค้าหรือไม่ เรื่องการเจรจาด้านการค้าประเทศไทยเดินหน้าไปแล้ว แต่ในทางปฏิบัติ การค้าขายเรามีการส่งออกไปยังกลุ่ม RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) หรือยัง หรือปรับมาตรฐานสินค้าและบริการให้ตรงกับจริตของกลุ่มประเทศเหล่านั้นหรือไม่ หรือเอาใกล้ๆ แค่กลุ่ม CLMV (กัมพูชา, สปป.ลาว, เมียนมา และเวียดนาม) เรารู้หรือยังว่าสินค้า Top 5 ที่พวกเขาต้องการคืออะไร นี่คือสิ่งที่ SMEs ต้องทำความเข้าใจก่อนที่จะเดินเข้าไปทำการค้าในตลาด

 

SMEs ไทยมีพรสวรรค์อยู่แล้ว แค่เติมพรแสวง  

ดร.รักษ์ กล่าวทิ้งท้ายกับ SMEs ไทยว่า “โลกอนาคตเป็นโลกของคนทำธุรกิจที่ต้องมีความรู้ในการช่วงชิงความได้เปรียบ เราจึงต้องใช้พรแสวงมากกว่าพรสวรรค์ แสวงหาโอกาสจากประเทศใกล้ๆ ใช้บริการภาครัฐให้มากกว่าเดิม ใช้ บสย. ให้เป็นประโยชน์ หรือใช้บริการของ EXIM BANK ซึ่งมีสาขาอยู่ในกลุ่ม CLMV จึงสามารถทำ Business Matching ให้ SMEs ได้ ให้คำแนะนำได้ว่าแต่ละประเทศมีความต้องการสินค้าอะไร และจะทำธุรกิจกับประเทศเหล่านี้ต้องเริ่มต้นอย่างไร 

 

“เรามีศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้าของ EXIM BANK (EXIM Excellence Academy: EXAC) ซึ่งเป็นโรงเรียนสร้าง SMEs ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นที่ไม่เคยส่งออกเลย จนสามารถส่งออกได้ หรือผู้ที่ส่งออกอยู่แล้ว แต่ต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อขยายตลาดให้กว้างไกลมากขึ้น รวมไปถึงสินเชื่อสำหรับ SMEs เกิดใหม่ได้ EXIM Biz Transformation Loan ทั้งหมดนี้ก็เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการทำธุรกิจให้กับ SMEs ไทยที่จะแข่งขันได้ทั้งในประเทศ และแกร่งพอเมื่อต้องลงแข่งในตลาดโลก” 

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising