เมื่อเริ่มปีใหม่ทุกๆ ปี สิ่งหนึ่งที่เป็นหน้าที่ของพลเมืองผู้มีรายได้ (ถึงเกณฑ์) ต้องทำนั้นก็คือ ‘การยื่นภาษีประจำปี’ ปีภาษี 2567 โดยปีนี้กรมสรรพากรเปิดช่องทางให้ยื่นภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th ตั้งแต่วันนี้ – 8 เมษายน 2568 สำหรับใครที่ยังต้องการยื่นเอกสารในรูปแบบกระดาษอยู่ สามารถยื่นได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 มีนาคม 2568
เงินเดือนเท่าไรต้องเสียภาษี?
ตามระเบียบของสรรพากรระบุว่า ผู้ที่มีรายได้ขั้นต่ำต่อปี โดยมีเงินได้สุทธิทั้งปีมากกว่า 120,000 บาทต่อปี จำเป็นต้อง ‘ยื่นภาษีเงินได้’ (ภ.ง.ด.91) แต่ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี
ทั้งนี้ เงินได้สุทธิทั้งปีสามารถคำนวณได้ผ่านสูตร ‘รายได้ตลอดทั้งปี – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อนภาษี = รายได้สุทธิ’
เปิดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ยิ่งเงินเดือนมากยิ่งเสียภาษีมาก
- รายได้สุทธิต่อปีตั้งแต่ 150,001-300,000 บาท จะต้องเสียภาษีในอัตรา 5%
- รายได้สุทธิต่อปีตั้งแต่ 300,001-500,000 บาท จะต้องเสียภาษีในอัตรา 10%
- รายได้สุทธิต่อปีตั้งแต่ 500,001-750,000 บาท จะต้องเสียภาษีในอัตรา 15%
- รายได้สุทธิต่อปีตั้งแต่ 750,001-1,000,000 บาท จะต้องเสียภาษีในอัตรา 20%
- รายได้สุทธิต่อปีตั้งแต่ 1,000,001-2,000,000 บาท จะต้องเสียภาษีในอัตรา 25%
- รายได้สุทธิต่อปีตั้งแต่ 2,000,001-5,000,000 บาท จะต้องเสียภาษีในอัตรา 30%
- รายได้สุทธิต่อปีตั้งแต่ 5,000,001 บาทขึ้นไป จะต้องเสียภาษีในอัตรา 35%
เปิดช่องทางการ ยื่นภาษี และระยะเวลายื่นภาษี
ทั้งนี้ ช่องทางการยื่นภาษี ประจำปีภาษี 2567 สามารถทำได้ 2 ช่องทาง ดังนี้
- ยื่นภาษี แบบเอกสาร สามารถยื่นภาษีได้ตามสำนักงานสรรพากรทุกสาขา โดยระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม – 31 มีนาคม 2568
- ยื่นภาษี ผ่านระบบ e-Filing และระบบ D-MyTax (Digital MyTax) ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th และแอปพลิเคชัน RD Smart Tax ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม – 8 เมษายน 2568
อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ที่มีภาษีต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นได้ สามารถขอผ่อนชำระภาษีได้ 3 งวด
สรุปรายการลดหย่อน ประจำปีภาษี 2567
ส่วนตัว / ครอบครัว
- ส่วนตัว 60,000 บาท
- คู่สมรส (ไม่มีรายได้) 60,000 บาท
- บุตร คนละ 30,000 บาท
- บุตรคนที่ 2 ขึ้นไป (เกิดตั้งแต่ปี 2561) 60,000 บาท
- ค่าคลอดบุตร ไม่เกินท้องละ 60,000 บาท
- ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา คนละ 30,000 บาท
- ค่าเลี้ยงดูผู้พิการ / ทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
- ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 100,000 บาท
- Easy e-Receipt 2567 ไม่เกิน 50,000 บาท
- เที่ยวเมืองรอง 2567 ไม่เกิน 15,000 บาท
- สร้างบ้านใหม่ 2567-2568 ไม่เกิน 100,000 บาท (10,000 บาทต่อค่าก่อสร้างทุก 1 ล้านบาท)
ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
- ค่าซ่อมบ้าน ไม่เกิน 100,000 บาท
- ค่าซ่อมรถ ไม่เกิน 30,000 บาท
(ที่จ่ายไประหว่างวันที่ 16 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2567) *เฉพาะเขตพื้นที่ที่กำหนด
ประกันชีวิตและการลงทุน
- ประกันชีวิตทั่วไป / สะสมทรัพย์ ไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันสุขภาพตนเอง ไม่เกิน 25,000 บาท
- ประกันสุขภาพพ่อแม่ ไม่เกิน 15,000 บาท
- ประกันชีวิตคู่สมรส (ไม่มีรายได้) ไม่เกิน 10,000 บาท
- ประกันสังคม ไม่เกิน 9,000 บาท
- เงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ไม่เกิน 100,000 บาท
- กองทุน ThaiESG (30% ของเงินได้) ไม่เกิน 300,000 บาท
- กองทุน SSF (30% ของเงินได้) ไม่เกิน 200,000 บาท
- กองทุน RMF (30% ของเงินได้) ไม่เกิน 500,000 บาท
- ประกันบำนาญ (15% ของเงินได้) ไม่เกิน 200,000 บาท
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ไม่เกิน 30,000 บาท
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) (15% ของค่าจ้าง) ไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนสงเคราะห์ครูฯ ไม่เกิน 500,000 บาท
- กบข. ไม่เกิน 500,000 บาท
เงินบริจาค
- กลุ่มการศึกษา / กีฬา / มูลนิธิด้านการแพทย์และการสาธารณสุข (ตาม พ.ร.ฎ. 771 พ.ศ. 2566) 2 เท่าของเงินบริจาค (ไม่เกิน 10% ของเงินได้ หลังหักค่าลดหย่อน)
- บริจาคสถานพยาบาลของรัฐ 2 เท่าของเงินบริจาค (ไม่เกิน 10% ของเงินได้ หลังหักค่าลดหย่อน)
- บริจาคทั่วไป ตามที่จ่ายจริง (ไม่เกิน 10% ของเงินได้ หลังหักค่าลดหย่อน)
- พรรคการเมือง ไม่เกิน 10,000 บาท
ภาพประกอบ: กันยกร กาญจนวิไล