เงื่อนไขการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ หลังรัฐบาลสนับสนุนให้นำรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เข้ามาจำหน่ายในไทย โดยอนุมัติงบประมาณ 2,923.397 ล้านบาท เพื่อดำเนินการตามมาตรดังกล่าว ซึ่งเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 139 ตอนพิเศษ 120 ง ได้ลงประกาศกรมสรรพสามิต เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์
ทั้งนี้ มาตรการของรัฐในการสนับสนุนและส่งเสริมให้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ โดยการลดอัตราหรือยกเว้นอากรขาเข้า การลดอัตราภาษีสรรพสามิต และการให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการ เพื่อให้ราคารถยนต์และรถจักรยานยนต์แบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle: BEV) ลดลงใกล้เคียงกับราคารถยนต์และรถจักรยานยนต์ประเภทเครื่องยนต์สันดาปภายใน โดยค่ายรถยนต์จะต้องเซ็น MOU เข้าร่วมโครงการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) ของรัฐบาลไทย จึงจะได้รับส่วนลดดังกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ตลาดรถยนต์อีวีแข่งเดือด! ค่าย MG เตรียมเปิดตัว ‘All-New MG4’ ในไทยปลายปีนี้ ราคาเริ่มต้น 1.1 ล้านบาท
- BYD ATTO 3 เปิดตัวราคา 1,199,900 บาท เริ่มรับจอง 1 พ.ย. ส่งมอบได้ทันที 500 คัน พร้อมตั้งเป้าขาย 5,000 คัน สำหรับปีนี้
- เปิดตัว ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ THE NEW BMW i7 ราคาเริ่มต้น 7.59 ล้านบาท วิ่งไกลสุด 625 กม./ชาร์จ
สำหรับส่วนลดที่จะได้มีดังนี้
- เงินอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้าและรถกระบะไฟฟ้า 70,000-150,000 บาทต่อคัน และรถจักรยานยนต์ 18,000 บาทต่อคัน (ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จะมีผู้ได้รับสิทธิที่ต้องได้รับเงินอุดหนุนตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าฯ แบ่งเป็นรถยนต์ จำนวน 18,100 คัน และรถจักรยานยนต์ จำนวน 8,800 คัน)
- ลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ไฟฟ้าจาก 8% เป็น 2% และรถกระบะไฟฟ้าเป็น 0% มีผลบังคับใช้ทันทีตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2568
- ลดภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า จาก 40% เหลือ 0% หรือมากสุด 40% มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2565 – 31 ธันวาคม 2566
- ลดอากรขาเข้ารถยนต์ไฟฟ้าที่ผลิตต่างประเทศและนำเข้าทั้งคัน (CBU) สูงสุด 40% สำหรับรถยนต์ ถึงปี 2566
ในส่วนรายละเอียดข้อสำคัญในประกาศฯ เงินอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้า ข้อ 11 เงินอุดหนุนที่มีสิทธิได้รับตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า มีจำนวนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้
11.1 รถยนต์นั่งที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท
ขนาดความจุแบตเตอรี่ ตั้งแต่ 10 kWh แต่น้อยกว่า 30 kWh ได้รับเงินอุดหนุน 70,000 บาทต่อคัน
ขนาดความจุแบตเตอรี่ ตั้งแต่ 30 kWh ขึ้นไป ได้รับเงินอุดหนุน 150,000 บาทต่อคัน (เงื่อนไขหากนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า 100% มาขาย 1 คัน จะต้องผลิตในประเทศให้ได้จำนวน 1 เท่า ภายในปี 2567 หรือขยายระยะเวลาเป็นภายในปี 2568 แต่ต้องผลิต 1.5 เท่า จะเป็นรุ่นใดก็ได้ หากราคาขายปลีกไม่เกิน 2 ล้านบาท)
ข้อ 13 ผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์
13.1 กรณีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท
ต้องผลิตชดเชยรุ่นใดก็ได้ จนครบตามจำนวนการนำเข้ามาในประเทศแบบสำเร็จรูปทั้งคัน ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 (นำเข้า 1 คัน ต้องผลิตคืน 1 คัน) ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 หรือในอัตราส่วน 1 ต่อ 1.5 (นำเข้า 1 คัน ผลิต 1.5 คัน) หากยืดระยะเวลาออกไปอีก 1 ปี หรือวันที่ 31 ธันวาคม 2568
13.2 กรณีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าที่มีราคาขายปลีกแนะนำเกิน 2 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 7 ล้านบาท
ต้องผลิตชดเชยเฉพาะรุ่นที่นำเข้ามา จนครบตามจำนวนการนำเข้ามาในประเทศแบบสำเร็จรูปทั้งคัน ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 (นำเข้า 1 คัน ต้องผลิต 1 คัน) ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 หรือในอัตราส่วน 1 ต่อ 1.5 (นำเข้า 1 คัน ผลิต 1.5 คัน) หากยืดระยะเวลาออกไปอีก 1 ปี หรือวันที่ 31 ธันวาคม 2568
อ้างอิง: