×

กองทุนหุ้นยุโรปดิ่งถ้วนหน้า สงคราม ‘รัสเซีย-ยูเครน’ ดันราคาพลังงานกระทบพื้นฐานเศรษฐกิจ ชี้ยังไม่ใช่เวลาลงทุน

14.03.2022
  • LOADING...
กองทุนหุ้นยุโรป

สถานการณ์ของหุ้นยุโรปตั้งแต่ต้นปี 2565 ที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นภูมิภาคที่ปรับตัวลงค่อนข้างหนัก โดยในส่วนของดัชนีที่สะท้อนภาพรวมอย่าง Euro Stoxx 50 ปรับตัวลง 15% ขณะที่ดัชนีสำคัญอย่าง DAX เยอรมัน ลดลง 15.4% CAC 40 ฝรั่งเศส ลดลง 13.2% และ FTSE 100 อังกฤษ ลดลง 3.9% 

 

สำหรับกองทุนไทยที่เน้นลงทุนในหุ้นยุโรปต่างให้ผลตอบแทนติดลบทั้งสิ้น โดยกองทุนที่ทำผลตอบแทนได้ดีที่สุด 5 อันดับแรก ล้วนติดลบในระดับ 8-11% ในปีนี้

 

 

หุ้นยุโรปตั้งแต่ต้นปี 2565 ที่ผ่านมา ปรับตัวลงค่อนข้างหนัก ในส่วนของดัชนีที่สะท้อนภาพรวม Euro Stoxx 50 ปรับตัวลง 15% ขณะที่ดัชนีสำคัญอย่าง DAX เยอรมัน ลดลง 15.4% CAC 40 ฝรั่งเศส ลดลง 13.2% และ FTSE 100 อังกฤษ ลดลง 3.9% 

 

สำหรับกองทุนไทยที่เน้นลงทุนในหุ้นยุโรปต่างให้ผลตอบแทนติดลบทั้งสิ้น โดยกองทุนที่ทำผลตอบแทนได้ดีที่สุด 5 อันดับแรก ต่างติดลบในระดับ 8-11% ในปีนี้

 

 

ปัจจัยหลักที่เข้ามากระทบต่อหุ้นยุโรปคงจะหนีไม่พ้นเรื่องของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่เกิดขึ้นในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งในประเด็นนี้ วิริยะชัย จิตตวัฒนรัตน์ รองผู้อำนวยการฝ่าย Private Wealth Management ธนาคารกรุงไทย มองว่า ผลกระทบต่อหุ้นยุโรปในขณะนี้เกิดขึ้นทั้งในด้าน Sentiment เชิงลบจากนักลงทุนและปัจจัยพื้นฐานที่แย่ลง 

 

ในส่วนของปัจจัยพื้นฐาน ยุโรปนำเข้าพลังงานทั้งในส่วนของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย ประมาณ 1 ใน 3 ของการบริโภคทั้งหมด ทำให้ยุโรปเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง

 

“การฟื้นตัวแรงของหุ้นยุโรปเมื่อ 2 วันก่อน อาจเป็นเพียง Technical Rebound เพราะความเสี่ยงที่สำคัญในเรื่อง Stagflation คือเงินเฟ้อสูงในขณะที่การเติบโตต่ำ ทำให้หุ้นยุโรปอาจจะเติบโตได้ไม่ดี”

 

โดยส่วนตัวมองว่าราคาพลังงานที่ลดลงมาบ้างยังอยู่ในจุดที่วางใจไม่ได้ เพราะภาวะสงครามเปลี่ยนแปลงได้เร็ว

 

“ช่วงที่ผ่านมาค่าไฟฟ้าในอังกฤษขึ้นมาเป็นเท่าตัว ซึ่งจะกระทบต่อความสามารถในการบริโภคของคนแน่นอน ขณะเดียวกันค่าอาหารหรือการเดินทางก็ปรับตัวขึ้นเช่นกัน” 

 

ในมุมของการลงทุน วิริยะชัยมองว่า จุดเข้าซื้อของหุ้นยุโรปเริ่มใกล้เข้ามา แต่ยังไม่ใช่ตอนนี้ เพราะเรื่องของสงครามและราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นยังเป็นความเสี่ยงสำคัญ ซึ่งจะกระทบต่อพื้นฐานของเศรษฐกิจยุโรปโดยตรง 

 

จุดซื้อที่เริ่มปลอดภัยอาจต้องรอดูว่าการเจรจาระหว่างรัสเซียและยูเครนในครั้งถัดไปจะนำไปสู่การตกลงหยุดยิงหรือไม่ และจะมีทางออกที่ชัดเจนสำหรับเรื่องนี้อย่างไร รวมถึงฝั่งของยุโรปตะวันตกจะมีนโยบายด้านพลังงานอย่างไร เช่น พัฒนาการเกี่ยวกับการคว่ำบาตรรัสเซียจะมีการผ่อนปรนหรือไม่ ขณะที่รัสเซียก็ขู่ว่าจะหยุดส่งก๊าซธรรมชาติ ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงจะทำให้ยุโรปมีปัญหาแน่นอน เพราะการเปลี่ยนไปซื้อจากแหล่งอื่น เช่น สหรัฐฯ จะทำให้ต้นทุนพลังงานสูงขึ้นมาก 

 

สำหรับนักลงทุนที่อาจจะเข้าลงทุนในหุ้นยุโรปตั้งแต่ก่อนหน้านี้ อาจต้องพิจารณาลักษณะของหุ้นหรือกองทุนที่เข้าลงทุน โดยอาจจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ

 

  1. หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของยุโรป โดยทั่วไปแล้วจะไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น หากเทียบกับหุ้นในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป เพราะฉะนั้นอาจจะถือลงทุนต่อเพื่อรอการฟื้นตัวได้ 

 

  1. หุ้นกลุ่มอื่นๆ ที่นอกเหนือจากกลุ่มเทคโนโลยี โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มธนาคาร ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากเรื่องของเศรษฐกิจและการเชื่อมโยงกับธนาคารในรัสเซีย ซึ่งก่อนหน้านี้มีข่าวจากทาง Fitch Rating ว่าความเสี่ยงของธนาคารในยุโรปเพิ่มสูงขึ้นจากสงครามครั้งนี้ หากหุ้นเหล่านี้ฟื้นตัวอาจจะตัดขายออกไปบางส่วน 

 

ส่วนประเด็นที่ธนาคารกลางยุโรปอาจจะลดวงเงิน QE และขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด อาจจะไม่ได้ทำให้ตลาดแปลกใจมากนัก เพราะเริ่มมีการคาดเดาเกี่ยวกับประเด็นนี้อยู่บ้างก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ตลาดจะให้น้ำหนักมากกว่าในช่วงนี้คือเรื่องของสงคราม 

 

ด้าน รัฐศรัณย์ ธนไพศาลกิจ หัวหน้าฝ่ายหลักทรัพย์ต่างประเทศและฟิวเจอร์ส บล.บัวหลวง มองว่า ในภาพใหญ่ของปีนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังคงถูกกดดันจากเรื่องของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน เพราะเป็นปัจจัยที่กระทบต่อยุโรปโดยตรง 

 

“การฟื้นตัวของหุ้นยุโรปอาจจะเป็นจังหวะในการขายในระยะสั้น แม้ราคาหุ้นยุโรปจะปรับฐานลงมาพอสมควร แต่ดูแล้วยังไม่คุ้มเสี่ยงที่จะเข้าลงทุน ควรรอดูสถานการณ์ไปก่อน” 

 

สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนต่างประเทศมองว่า สหรัฐฯ และเวียดนาม อาจเป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่า ในส่วนของสหรัฐฯ อาจจะได้ประโยชน์จากการที่ยุโรปอาจจะหันไปซื้อสินค้าจากสหรัฐฯ เพิ่มเติมบางส่วน ทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมาต่อเนื่อง 

 

ส่วนของเวียดนามที่ประกาศตัวเป็นกลางในสงครามครั้งนี้ ในแง่เศรษฐกิจทำให้เวียดนามสามารถทำธุรกิจได้กับทั้งสองฝั่ง และปีนี้เวียดนามจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 5 แสนล้านบาทออกมา

 

ภาพประกอบ: ฉัตรชัย เฉยชิต

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X