ในปีนี้จำนวนกองทุน ESG ที่กำลังเปิดตัวลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการกำกับดูแลที่เข้มงวดยิ่งขึ้น ทำให้ผู้จัดการกองทุนอ้างว่า กองทุนเหล่านี้กำลังลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ได้ยากขึ้น
ตามข้อมูลของ Jefferies วาณิชธนกิจจากสหรัฐฯ ระบุว่า การเปิดตัวกองทุนสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ลดลง 60% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การจัดประเภทกองทุนใหม่ (Reclassification) โดยเพิ่มองค์ประกอบด้าน ESG เข้าไปได้ในกองทุนเดิม เพื่อทำให้กองทุนที่มีอยู่แล้วกลายเป็นกองทุน ESG ใหม่ ลดลงถึง 84% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- 8 หุ้นเนื้อทอง เซียนหุ้น รุมตอม ร่วมลงทุนติดอันดับผู้ถือหุ้นใหญ่
- ทองคำ กำลังไหลเข้าเอเชีย ท่ามกลางดอกเบี้ยโลกที่กำลังขึ้นต่อเนื่อง
- เงินบาทอ่อนค่าทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์เป็นที่เรียบร้อย ทำสถิติต่ำสุดในรอบ 16 ปี
โดยยุโรปเป็นภูมิภาคที่มีจำนวนกองทุน ESG เปิดตัวใหม่ลดลงมากที่สุด เนื่องจาก เป็นภูมิภาคที่มีการกำหนดกฎระเบียบก้าวหน้าที่สุด
ปัจจุบันหน่วยงานกำกับดูแลในสหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา กำลังเร่งตรวจสอบกองทุน ESG ท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นว่า ผู้จัดการกองทุนกระตือรือร้นที่จะขายผลิตภัณฑ์ที่มีแต่ความหวังมากกว่าการทำเพื่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลจริงๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของนักลงทุน
โดยผู้จัดการสินทรัพย์ยังมีแนวโน้มจะเปลี่ยนชื่อผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ แทนที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ทำให้เกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับการรับรองกองทุน ESG และทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการฟอกเขียวที่กำลังแพร่หลาย
ทั้งนี้ การฟอกเขียว (Greenwashing) คือการสร้างภาพลักษณ์ว่าผลิตภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ จะช่วยลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมได้จริงๆ
ขณะเดียวกันผลวิจัยโดย PwC ยังพบว่า 71% ของนักลงทุนสถาบัน ต้องการให้ข้อกำหนดด้านกฎระเบียบ ESG เข้มงวดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการของอุตสาหกรรมการจัดการกองทุน โดยหวังว่ากฎระเบียบเพิ่มเติมจะสามารถทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการสร้างความไว้วางใจ และลดความเสี่ยงในการติดฉลากผิดพลาด
ปัจจุบันสหภาพยุโรปถือเป็นผู้นำโลกในการดำเนินการตามกฎระเบียบการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่ยั่งยืนตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2021 แต่กรอบการทำงานที่ก้าวล้ำดังกล่าวยังคงได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าขาดความชัดเจนเกี่ยวกับแนวคิดหลัก ตัวอย่างเช่น หน่วยงานกำกับดูแลของสหภาพยุโรปยังคงรอให้คณะกรรมาธิการยุโรปให้คำแนะนำโดยละเอียดเกี่ยวกับความหมายของ ‘การลงทุนที่ยั่งยืน’
ด้าน Hortense Bioy ผู้อำนวยการระดับโลกด้านการวิจัยอย่างยั่งยืนของ Morningstar กล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่า ประเด็นสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมนี้คือ คำจำกัดความของ ‘การลงทุนที่ยั่งยืน’ โดยยังมีที่ว่างสำหรับการตีความมากเกินไป
อ้างอิง: