×

วิศวกรชี้ ตึก ใน กทม. สีแดง แค่ 2 แห่ง เร่งซ่อม รพ.ราชวิถี ด้วยวิธีเย็บตึก ส่วนศูนย์ราชการอาคาร A เป็นรอยร้าวเดิม รู้สึกเอียง เพราะตึกทรงป้าน

โดย THE STANDARD TEAM
05.04.2025
  • LOADING...

วานนี้ (4 เมษายน) ที่กระทรวงมหาดไทย เอนก ศิริพานิชกร ผู้แทนวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงกรณีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่มจากเหตุแผ่นดินไหวว่า ประเทศไทยมีกฎกระทรวงตั้งแต่ปี 2550  และมีมาตรฐานตาม พ.ร.บ. พ.ศ.2561 ซึ่งวัดการสั่นไหว เมื่อดูค่าแผ่นดินไหวถือว่าต่ำกว่าที่เราออกแบบป้องกันไว้เมื่อปี 2564 ตึกนี้แม้จะเป็นกฎกระทรวงเดิม แต่ขอให้มั่นใจมาตรฐานที่มีอยู่ ยังสามารถใช้การได้ จะเห็นว่าทุกอาคารในกรุงเทพมหานคร สามารถสู้กับเหตุแผ่นดินไหวได้ยกเว้นอาคารแห่งนี้ จึงขอให้มั่นใจกฎกระทรวง และมั่นใจกรมโยธาและผังเมือง

 

ส่วนคนที่อยู่ในเหตุการณ์และอาศัยอยู่บนคอนโดที่มีอาการแพนิก แม้จะมีการตรวจสอบ และ กทม.ประกาศให้สามารถเข้าที่พักได้ สภาวิศวกร ร่วมกับ กทม.ได้ประกาศร่วมกันตรวจสอบอาคาร จำนวน 13,000 เคส พบว่าปัญหาจริงๆในคอนโด คือ แทงก์น้ำที่อยู่บนดาดฟ้าของคอนโดที่แตก พบทั้งสิ้น 30 ราย ส่วนปัญหาที่สองคือ ปัญหาความแข็งแรงของลิฟท์ ส่วนใหญ่จะเป็นการแตกร้าวบนผนัง และในจำนวน 13,000 เคส เราให้ใบแดงแค่ 2 อาคาร แสดงว่าอาคารที่มีอยู่ ยกเว้นอาคารที่มีปัญหาแข็งแรง สามารถเข้าอยู่อาศัยได้

 

สำหรับกรณีโรงพยาบาลราชวิถี  และอีกโรงบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่เสียหายตรงกำแพงรับน้ำหนัก สภาวิศวกรจะมีการตรวจสอบร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมือง ยืนยันว่าจะทำให้เป็นใบเขียวให้ได้ โดยใช้วิธีการทางวิศวกรรม โดยในวันพรุ่งนี้ (5 เม.ย.68) นายกสภาวิศวกรจะไปเปิดศูนย์กองอำนวยการร่วม โดยเบื้องต้นสภาวิศวกร และกรมโยธาธิการและผังเมือง ให้ใบแดงไว้จำนวน 34 หลัง รวมต่างจังหวัด และบางส่วน เช่น ตึกโรงพยาบาลราชวิถีเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีเหลือง 

 

เอนก กล่าวถึงวิธีการซ่อมอาคารโรงพยาบาลราชวิถีว่า จะใช้วิธีการทางวิศวกรรมโดยการเย็บ โดยเสริมเหล็กเข้าไปโดยการยัดสารเคมีในแนวตั้ง แล้วใช้แผ่นเหล็กแปะเข้าไป ซึ่งโรงพยาบาลราชวิถีเสียหายเพียงแค่ชั้นเดียว ไม่ได้หมายความว่าเสียหายทั้งอาคาร  ยืนยันว่าจะทำให้โรงพยาบาลราชวิถีกลับมาเป็นสีเขียว 

 

ด้าน ผช.ดร.ธเนศ วีระศิริ  นายกสภาวิศวกร กล่าวถึงกรณีศูนย์ราชการ อาคาร A ว่า วันนั้นตนเองเข้าไปทำงานพอดี มี 1-2 คนที่รู้สึกสั่นไหว ตนเองได้เข้าไปดูพร้อมกับหน่วยที่ดูแลอาคารดังกล่าว ซึ่งมีการชี้จุดรอยร้าวตามตำแหน่งต่าง ๆ จากการตรวจสอบพบเป็นรอยร้าวตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม สังเกตได้จากบันไดใต้อาคาร ที่อยู่บริเวณใต้ท้องอาคารในอาคารสูงหลายหลายแห่ง จะมีรอยผนังร้าว ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาหลังจากการโยกของอาคาร แต่เหตุดังกล่าวเป็นรอยเก่า 

 

สาเหตุที่อาคาร A มีความรู้สึกว่าอาคารเอียง เพราะออกแบบเป็นรูปทรงป้านไปข้างบน ขฯะที่ศูนย์ราชการอาคาร B ก็มีรูปทรงคล้ายกัน ล่าสุดมีรอยร้าวที่โคนเสาอยู่จุดหนึ่งของอาคาร A  ซึ่งได้มีการแก้ไขเสร็จเรียบร้อย แต่ด้วยความไม่สบายใจจึงได้รื้อออกมา และมีการวัดดูด้วยเครื่องมือ Seismic Test มีการซ่อมกลับเข้าไปใหม่ เป็นการใช้ข้อมูลวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนให้สบายใจ

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising