×

ดีเดย์ 1 พ.ย. นี้ นายจ้างประมงทะเลต้องจ่ายค่าจ้างผ่านธนาคารเป็นรายเดือน แก้ปัญหาละเมิดสิทธิแรงงาน

02.11.2017
  • LOADING...

     นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า กสร. ได้ออกประกาศ เรื่อง กำหนดแบบสัญญาจ้างลูกจ้างในงานประมงทะเล ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2560

 

 

     ซึ่งประกาศฯ ฉบับนี้มีสาระสำคัญ เช่น การกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในอัตรารายเดือน โดยจ่ายไม่น้อยกว่าเดือนละครั้ง, การกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าตอบแทนให้กับลูกจ้างโดยวิธีการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร โดยนายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการโอนเงิน, การกำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่จัดเครื่องมือหรืออุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในการทำงานบนเรือให้กับลูกจ้าง ซึ่งประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไป

    นายอนันต์ชัยกล่าวต่อไปอีกว่า การออกประกาศฯ ดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 ที่กำหนดให้นายจ้างจัดทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือที่มีข้อความถูกต้องตรงกันจำนวนสองฉบับ โดยมอบให้ลูกจ้างเก็บไว้หนึ่งฉบับเพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบ โดยแบบของสัญญาจ้างให้เป็นไปตามที่อธิบดี กสร. กำหนด  

 

 

    หากนายจ้างหรือลูกจ้างมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมเพิ่มเติมได้ที่กองคุ้มครองแรงงาน โทรศัพท์ 0 2246 8994, สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 ถึง 10, สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือหมายเลขโทรศัพท์สายด่วน 1546

     ทั้งนี้การจัดทำสัญญาจ้างในงานประมงทะเลจะเป็นประโยชน์ในการคุ้มครองสิทธิลูกจ้างและหลักฐานในการปฏิบัติตามกฎหมายของนายจ้าง ซึ่งจะช่วยในการป้องกันการละเมิดสิทธิแรงงานในกิจการประมงทะเล

 

 

     มาตรการนี้มีขึ้นหลังไทยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง (เทียร์ ทู วอทช์ลิสต์) เป็นปีที่ 2 ติดต่อกันจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ฉบับล่าสุดของสหรัฐฯ ระบุว่ารัฐบาลไทยไม่ได้ดำเนินการขจัดการค้ามนุษย์ให้เป็นไปตามมาตรฐานต่ำสุดอย่างครบถ้วน นอกจากนี้ยังไม่ได้ดำเนินความพยายามเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงที่มีการจัดทำรายงานครั้งที่แล้ว

 

Photo: AFP

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X