×

Drive-Thru ตรวจโควิด-19 ทางเลือกของคนนอกกลุ่มเสี่ยง แต่สงสัยว่าติดหรือยัง

19.03.2020
  • LOADING...

ความกังวลสงสัยจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก หลังจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องจนรัฐบาลต้องออกมาตรการเข้ม หรือ Social Distancing จำกัดการเดินทางและพบปะกันของผู้คนในสังคม

 

การตรวจโควิด-19 ของคนไทยในปัจจุบันยังสงวนไว้ให้คนในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งต้องมีประวัติการเดินทางจากประเทศเสี่ยงหรือสัมผัสและใกล้ชิดกับคนที่ติดเชื้อเท่านั้นถึงจะได้รับการตรวจหาเชื้อฟรี

 

ถ้าเราไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง แต่เกิดสงสัยขึ้นมาว่าฉันติด(เชื้อ)หรือยัง การตรวจแบบ 

Drive-Thru เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

 

นพ.ชัยสิทธิ์ คุปต์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวิภาวดี กล่าวว่า “สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไข้ ให้มาตรวจที่โรงพยาบาลก่อน ซึ่งจะมีคุณหมอดูให้ว่าเข้าเกณฑ์หรือเปล่าถ้าเข้าเกณฑ์เราจะส่งให้หน่วยงานกลางพิจารณาว่าเข้าเกณฑ์ PUI (Patient Under Investigation) หรือไม่ ซึ่งเขาจะให้หมายเลขมา เราก็สามารถส่งแล็บตรวจโควิด-19 ไปให้เขาได้ ซึ่งอันนี้จะไม่มีค่าใช้จ่ายและจะจัดที่ให้ โดยคนไข้รอฟังผลที่นี่ สมัยก่อนรอฟังผลไม่นาน แต่เดี๋ยวนี้จะนานขึ้นเรื่อยๆ ทางหน่วยกลางเขารับเคสเยอะขึ้นเรื่อยๆ

 

“ส่วนแนวคิดของ Drive-Thru คือคนที่ไม่มีอาการ ไม่มีไข้ ไม่มีอาการทางเดินหายใจ เพียงแต่สงสัยว่ามีการสัมผัส เช่น ไปสนามมวยมา ผมอยากจะรู้ว่าผมเป็นหรือเปล่า ซึ่งมันเป็นสิทธิ์ของเขา แต่สิทธิ์ความอยากจะรู้ตรงนั้นมันถูกกั้นโดยระบบของรัฐ มันก็จะทำอย่างไรได้ ก็ต้องมาหาระบบของเอกชน

 

“อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลสถิติการตรวจของกลุ่มที่ไม่มีอาการหรือพวกนอกกลุ่มเสี่ยง พบว่า มีการเจอผู้ที่ติดเชื้อเพียง 1% เพราะโรคโควิด-19 ไม่ได้ติดต่อกันง่ายขนาดว่าลอยฟุ้งไปทั่ว ดังนั้นมาตรการที่สำคัญคือ Social Distancing ซึ่งก็คือการเว้นระยะห่างในสังคม คืออย่าไปใกล้กัน เชื้อพวกนี้ถ้าเกิดอยู่ห่างกันสัก 2-3 เมตรมันไม่ติดกัน ถ้าอยู่ห่างกัน 3 เมตร มันแทบไม่มาหรือมาไม่ถึง ถึงแม้ว่าจะมีข้อมูลระยะหลังว่าเชื้อมันอยู่ได้นานขึ้นอะไรก็ตาม แต่ก็หมายความว่าเราก็ต้องไปจับมันมา ถ้าเกิดเราล้างมือไว้ตลอดเวลามันก็ไม่เป็นไร รวมถึงอยากให้ทุกคนเข้าใจสภาพของโรคก่อนว่ามีความอันตรายต่ำ คนที่ติดเชื้อจะมี 80% ที่หายได้เอง มี 15% ที่มีอาการไปถึงปอด และอีกประมาณ 5% ที่มีอาการหนัก ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุ 

 

“โรคนี้มันเป็นแล้วอันตรายที่เป็นเยอะอยู่ที่ประมาณ​ 15% ส่วนใหญ่ 80% ก็จะหายเอง แต่ว่าก็จะมีอันตรายรุนแรงอีกประมาณ 5% ซึ่งคนที่มีอาการรุนแรงก็จะอยู่ในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ถ้าอายุน้อยกว่านั้นความรุนแรงไม่ค่อยเจอ เจอน้อย ยิ่งในเด็กหรือคนอายุต่ำๆ แทบไม่มีอะไรเลย เพราะฉะนั้นนี่คือสภาพของโรคที่ต้องเข้าใจตรงนี้ก่อนจะได้ไม่ตกใจมาก” นพ.ชัยสิทธิ์กล่าว

 

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X