เมื่อ 2 ปีที่แล้วที่กระทรวงศึกษาธิการออกระเบียบว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียนลงในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2563 โดยมีเป้าหมายให้นักเรียนมีอิสระในการเลือกไว้ทรงผมมากขึ้น
ใจความสำคัญในข้อ 4 ระบุว่า นักเรียนต้องปฏิบัติตนเกี่ยวกับการไว้ทรงผมดังนี้ 1. นักเรียนชายจะไว้ผมสั้นหรือยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวด้านข้าง ด้านหลังต้องยาวไม่เลยตีนผม ด้านหน้าและกลางศีรษะให้เป็นไปตามความเหมาะสมและมีความเรียบร้อย 2. นักเรียนหญิงจะไว้ผมสั้นหรือยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวให้เป็นไปตามความเหมาะสมและรวบให้เรียบร้อย แต่ทั้งนักเรียนชายและหญิงต้องมีทรงผมที่ ‘เรียบร้อย’ กล่าวคือ ไม่ดัดผม ย้อมสีผม ไว้หนวดไว้เครา หรือกระทำการใดๆ กับทรงผมที่ไม่เหมาะกับการเป็นนักเรียน
แต่จนถึงวันนี้กฎเกี่ยวกับกฎการตัดผมยังคงบังคับใช้อยู่ในโรงเรียนทั่วประเทศ รวมถึงการลงโทษนักเรียนด้วยการกล้อนผมนักเรียนชาย ตัดผมนักเรียนหญิงก็ยังมีให้เห็น
จากผลการสำรวจล่าสุดโดยโดฟ ผ่านกลุ่มตัวอย่างของบริษัท ยูโกฟ (ประเทศไทย) จำกัด เผยผลสำรวจเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว พบว่า 74 % ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า การบังคับตัดผมยังคงมีอยู่ในโรงเรียน
คงไม่สามารถตัดสินได้ว่าตัวเลขดังกล่าวสะท้อนว่าสถานศึกษากำลังเพิกเฉยต่อกฎระเบียบข้อบังคับ เพราะหากย้อนดูบทสัมภาษณ์ของ ประเสริฐ บุญเรือง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่กล่าวถึงเหตุผลในออกกฎระเบียบใหม่นี้ว่า เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เพียงแต่กฎระเบียบดังกล่าวกลับมีช่องโหว่ ที่แม้จะกำหนดระเบียบพื้นฐานเอาไว้แล้ว แต่ก็มอบอำนาจให้สถานศึกษาแต่ละแห่งนำไปปรับใช้เพิ่มเติม ทำให้สถานศึกษายังสามารถออก ‘กฎโรงเรียน’ ของตนเองได้
แต่เพราะมาตรวัดความเหมาะสมของ ‘ทรงนักเรียน’ ต่างกัน ภาพการลงโทษนักเรียนด้วยการกล้อนผมนักเรียนชาย และตัดผมนักเรียนหญิงจนแหว่ง จึงยังมีให้เห็นอยู่เป็นประจำ ผลสำรวจเดียวกันจากโดฟ เผยว่า กว่า 64% มองว่ากฎระเบียบเรื่องทรงผมในโรงเรียนเป็นเรื่องล้าสมัย ควรหยุดบังคับใช้ และ 71% ของผู้หญิงระบุว่า สูญเสียความมั่นใจจากการถูกตัดผม
ตัวตน ความมั่นใจ และสิทธิมนุษยชนที่ถูกตัดไปพร้อม ‘ผม’
จริงอยู่ที่ว่าถ้าไม่มีกฎระเบียบข้อบังคับ สังคมคงยุ่งเหยิง กฎและข้อบังคับต่างๆ จึงตั้งขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาและให้คนเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง โดยเฉพาะกฎระเบียบเรื่องการบังคับตัดผม
เหตุที่ ‘ทรงผม’ ของนักเรียนกลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจ ถ้าถกกันด้วยตัวบทกฎหมาย ช่องโหว่ที่พบในกฎระเบียบทรงผมของนักเรียนอาจขัดต่อ ‘สิทธิและเสรีภาพในร่างกาย’ ของนักเรียน ที่ถูกรับรองและคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 28 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 3 ครอบคลุมไปถึง ‘การวางกฎระเบียบของสถานศึกษาให้เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์’ ตามข้อ 28 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2535
มองลึกไปกว่าเรื่องสิทธิและเสรีภาพในร่างกาย ทรงผมที่ถูกบังคับยังบั่นทอนความเชื่อมั่นและความภาคภูมิใจในตัวเอง และนั่นอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้พวกเขาเลือกระบายความเจ็บปวดผ่านการกระทำที่รุนแรง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความไม่ปลอดภัยจากการถูกรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคล
ตัวเลขจากผลสำรวจชุดเดียวกันพบว่า นักเรียนมัธยมปลายมากกว่า 3 ใน 5 คน เชื่อว่ากฎบังคับเรื่องทรงผมทำให้พวกเขารู้สึกไม่มั่นใจในรูปร่างของตนเอง (64%) หรือรู้สึกว่ารูปลักษณ์ของตนเองดูไม่ดี (74%) และเกือบครึ่ง (45%) ของนักเรียนมัธยมปลายที่ถูกลงโทษตัดผมระบุว่า การกระทำดังกล่าวได้ส่งผลลบต่อการแสดงความคิดเห็นของพวกเขา
#LetHerGrow ปล่อยให้พวกเขาเติบโต ในแบบที่เขาเป็น
สิ่งที่สังคมรวมถึงตัวเราเองที่อาจจะมีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้คือ หากเรากำลังเรียกร้องให้ทุกคนเข้าร่วมสิทธิส่วนบุคคล แล้วตัวเราเองกำลังละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของใคร โดยใช้ ‘กฎระเบียบ’ เป็นข้ออ้างโดยชอบธรรมอยู่หรือเปล่า
ขณะเดียวกันทุกวันนี้เรากำลังพร่ำสอนและผลักดันให้คนรุ่นใหม่คิดนอกกรอบ ในขณะที่เรายังสร้างกรอบมาครอบพวกเขาอยู่หรือเปล่า หรือควรปล่อยให้พวกเขาเติบโต เรียนรู้ และเป็นอิสระในแบบที่เขาเป็น
ด้วยเหตุนี้เอง โดฟ ในฐานะแบรนด์ระดับโลกที่ให้ความสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นและเคารพในคุณค่าของตัวเอง จึงเดินหน้าสร้างมั่นใจ ไม่ใช่ความกังวล ภายใต้โครงการ ‘Dove Self-Esteem Project’ ซึ่งเป็นโครงการที่โดฟดำเนินการมากว่า 15 ปี ในการให้ความรู้แก่เด็กกว่า 82 ล้านคนทั่วโลกเพื่อให้พวกเขามั่นใจในรูปร่างหน้าตาและรู้สึกภูมิใจในตัวเอง
เมื่อ ‘ทรงผม’ คือสิ่งที่สะท้อนตัวตนของเราได้ดีที่สุด โดฟจึงริเริ่มกองทุน Growth Fund ในแคมเปญ #LetHerGrow เพื่อรณรงค์ยุติกฎระเบียบที่ยังคงอยู่ และหันมาร่วมส่งเสริมการสร้างความมั่นใจและเคารพในคุณค่าของตัวเอง โดยกองทุนดังกล่าว โดฟจะบริจาคเงินสนับสนุนจำนวน 10 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อนำไปใช้ในงานวิจัย สร้างความตระหนักรู้ถึงผลกระทบที่มีต่อเด็กนักเรียน ผ่านผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการทำงานร่วมกับโรงเรียนและนักการศึกษา เพื่อสร้างการรับรู้ถึงผลกระทบของปัญหา พร้อมเสนอแนวทางที่นำไปสู่การสร้างความมั่นใจและการนับถือตนเองของเด็กนักเรียน
เราอยากให้คุณลองเปิดใจฟังเสียงของพวกเขาผ่านหนังโฆษณาชิ้นนี้
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับแคมเปญ #LetHerGrow หยุดกฎการตัดผม และส่งเสริมการสร้างความมั่นใจและเคารพในคุณค่าของตัวเองให้กับเด็กไทย ผ่านทางเว็บไซต์ https://www.dovelethergrow.com/ หรือสแกน QR สัญลักษณ์ของแคมเปญที่ปรากฏอยู่ตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศ
อ้างอิง:
เกี่ยวกับผลการสำรวจ
ข้อมูลการสำรวจโดยการสุ่มตัวอย่างผ่านทางออนไลน์ โดยบริษัท ยูโกฟ (ประเทศไทย) จำกัด โดยการสนับสนุนของโดฟ จากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 1,303 คน ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มแม่ที่มีลูกสาวอายุ 7-18 ปี กลุ่มคุณครู และผู้หญิงอายุ 16-50 ปี ระหว่างวันที่ 25 มกราคม – 14 กุมภาพันธ์ 2565