×

เปิดโปงเรื่องฉาวโฉ่! วงการแฟชั่นหรู พบหลักฐาน Dior และ Giorgio Armani ใช้แรงงานผิดกฎหมายผลิตสินค้า

23.09.2024
  • LOADING...
Dior

สะเทือนวงการแฟชั่นในอิตาลี LVMH บริษัทแม่แบรนด์หรู Dior และ Giorgio Armani ถูกเปิดโปง ใช้โรงงานผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานผิดกฎหมาย แถมต้องทำงานในสภาพแวดล้อมคล้ายโรงงานทาส ทำงานหนักเกินเวลา แต่ได้รับผลตอบแทนต่ำ หนำซ้ำยังละเมิดสิทธิมนุษยชน

 

‘Made in Italy: shame in Italy’ หรือที่ง่ายๆ ว่า ‘ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในอิตาลี กลับสร้างความอับอายให้กับประเทศอิตาลี’ ประโยคดังกล่าวเป็นคำที่กลุ่มแรงงานข้ามชาติกลุ่มเล็กๆ ตะโกนอยู่บริเวณหน้าร้านของ Montblanc ผู้ผลิตเครื่องประดับหรู เมื่อสัปดาห์ที่แล้วในเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งแรงงานข้ามชาติกลุ่มนี้ยืนอยู่ห่างจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ Richemont บริษัทแม่ของ Montblanc ที่มีมูลค่า 7.6 หมื่นล้านดอลลาร์เพียง 3 กิโลเมตร

 

จริงๆ ประเด็นที่เกิดขึ้นเป็นเพราะ Montblanc ออกแถลงการณ์ว่า ในช่วงต้นปี 2023 บริษัทตัดสินใจยกเลิกสัญญากับ Z Production ซึ่งเป็นบริษัทซัพพลายเออร์ เนื่องจากการตรวจสอบพบว่า ผู้รับเหมารายนี้ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

แต่ฝั่งของ Zain Ali วัย 23 ปี ชาวปากีสถานที่ทำงานกับ Z Production ออกมาโต้แย้งว่า สาเหตุที่ Montblanc ยุติสัญญาเป็นเพราะเราต้องการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือ 5 วันต่อสัปดาห์ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน แต่บริษัทไม่สามารถให้ได้

 

กระทั่งในปี 2024 ประเด็นดังกล่าวถูกนำเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย โดยอัยการเริ่มสอบสวนจนโยงไปเจอโรงงานนรกกว่า 16 แห่งใกล้กับเมืองมิลานของอิตาลี ที่มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ดี และโรงงานเหล่านี้ส่วนใหญ่ผลิตสินค้าให้กับแบรนด์หรูอย่าง Dior, Giorgio Armani และ Alviero Martini

 

สะท้อนให้เห็นว่าสภาพการทำงานที่โหดร้ายเช่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานสินค้าหรู โดยฝั่งผู้นำสหภาพแรงงานและกลุ่มแรงงานกล่าวว่า ไม่เพียงแค่ Z Production และโรงงานอื่นๆ ในพื้นที่นั้น ที่จ้างแรงงานข้ามชาติที่ไม่มีเอกสารและไม่มีประสบการณ์ในการทำเครื่องหนังมาก่อน เพื่อมาผลิตสินค้าให้กับ Montblanc และแบรนด์ระดับไฮเอนด์อื่นๆ ทั้งหมดถือเป็นการลดต้นทุนของธุรกิจทั้งนั้น

 

สอดคล้องกับ อเลสซานโดร เลสซี ชายวัย 53 ปี ซึ่งเคยทำงานเป็นพนักงานส่งของที่ Z Production ระบุว่า ตัวเขาเป็นชาวอิตาลีเพียงคนเดียวที่ทำงานในโรงงานแห่งนี้ และมีสัญญาจ้างงานปกติ ตัวเขาเลิกงาน 18.00 น. แต่แรงงานต่างชาติต้องทำงานนานกว่า และคนงานส่วนใหญ่มาจากจีน ปากีสถาน และบังกลาเทศ

 

หรือแม้แต่ อับบาส ชายวัย 32 ปี ตัวเขาไม่มีใบอนุญาตในการทำงาน แต่ได้ทำงานในโรงงานผลิตกระเป๋าและเครื่องหนังให้กับแบรนด์สินค้าหรู มีสัญญาจ้างงานแบบพาร์ตไทม์ มีรายได้ประมาณ 600-700 ยูโรต่อเดือน (หรือราวๆ 22,000-25,000 บาท) แต่ต้องยืนทำงานตลอด 14 ชั่วโมง ซึ่งก็เหมือนกับแรงงานข้ามชาติจากปากีสถาน อัฟกานิสถาน และจีน ประมาณ 50 คน และเมื่อทำงานมากกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลา 6 วันต่อสัปดาห์ พวกเขาแทบจะไม่มีเวลาออกไปช้อปปิ้ง หรือไม่มีเวลาซักผ้าเลยด้วยซ้ำ

 

เมื่อไม่นานมานี้ศาลในมิลาน ประเทศอิตาลี สั่งให้ควบคุม Giorgio Armani Operations และ Manufactures Dior ซึ่งอยู่ภายใต้กลุ่มบริษัท Armani ของอิตาลีเป็นระยะเวลา 1 ปี หลังจากนั้นผู้พิพากษาจะตรวจสอบอีกครั้งว่าบริษัทเหล่านี้ได้ดำเนินการแก้ไขเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาแรงงานได้หรือไม่ และในช่วงเวลาเดียวกัน อัยการอิตาลีก็กำลังเดินหน้าสอบสวนห่วงโซ่อุปทานของแบรนด์แฟชั่นอีกประมาณ 10 กว่าแบรนด์

 

ในเดือนกรกฎาคม LVMH บริษัทแม่ของ Dior และ Giorgio Armani กล่าวว่า บริษัทมีแผนเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานการผลิตมากขึ้น ขณะที่แบรนด์ Dior ก็จะเข้ามาควบคุมการผลิตโดยตรงมากขึ้น

 

ทั้งหมดเป็นการรักษาจุดแข็งของ LVMH ที่เน้นผลิตสินค้าหายากและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนประสบความสำเร็จและช่วยผลักดันให้ LVMH กลายเป็นหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป

 

เมื่อย้อนกลับมาดูเอกสารของศาล ระบุว่า สภาพการทำงานที่ไม่ดีและค่าจ้างที่ต่ำ ทำให้ Pelletteria Elisabetta Yang ซึ่งเป็นผู้รับเหมาของ Dior เรียกเก็บเงินจาก Dior ได้เพียง 53 ยูโร หรือราวๆ 1,900 บาทต่อกระเป๋าหนึ่งใบ ในขณะที่ราคาขายปลีกกลับอยู่ที่ 2,600 ยูโร (หรือราวๆ 95,386 บาท) แต่ Dior ชี้แจงว่าตัดความสัมพันธ์กับผู้ผลิตรายนี้ไปแล้ว

 

สิ่งที่เกิดขึ้นภายในห่วงโซ่อุปทานการผลิตสินค้าหรูซึ่งเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในอิตาลีนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก จากข้อมูลของบริษัทที่ปรึกษา Bain พบว่า แบรนด์โดยเฉลี่ยมีผู้ผลิตกว่า 7,000 ราย และถ้าผู้ผลิตแต่ละรายมีผู้ผลิตรายย่อยอีก 2 ราย ก็จะเป็นอีก 14,000 ราย แน่นอนว่ายิ่งเพิ่มความยากในการตรวจสอบและควบคุม

 

ด้าน อันโตนิโอ ฟรานเชสคินี จากกลุ่ม CNA Federmoda ของอิตาลี ซึ่งเป็นตัวแทนของช่างฝีมือและธุรกิจแฟชั่นขนาดเล็กกล่าวว่า ปัจจุบันสินค้าหรูแข่งขันกันอย่างรุนแรง แน่นอนว่าต้นทุนการจ้างพนักงานและการปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมมักจะมีค่าใช้จ่ายตามมา แต่ในกรณีข้างต้นถือเป็นสัญญาณเตือนแบรนด์ใหญ่ๆ ให้ใส่ใจสิทธิมนุษยชนของแรงงานให้มากขึ้น

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising