×

สร้างครอบครัวยุคดิจิทัล เมื่อการมีลูกสามารถวางแผนและคาดเดาได้ด้วยเทคโนโลยี IVF/ICSI [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
29.03.2022
  • LOADING...
สร้างครอบครัวยุคดิจิทัล เมื่อการมีลูกสามารถวางแผนและคาดเดาได้ด้วยเทคโนโลยี IVF/ICSI (ADVERTORIAL)

หากย้อนดูสถิติเมื่อ 30 ปีที่แล้ว พบว่าหญิงไทยในวัยที่เหมาะสมมักจะมีลูกโดยเฉลี่ย 2 คน แต่ปัจจุบันความต้องการมีลูกลดลงอย่างชัดเจนจนเกิดวิกฤตอัตราการเกิดต่ำในโลกยุคดิจิทัล ในขณะที่ผู้คนมักให้ความสำคัญกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาเชิงโครงสร้างและรายได้ ปัญหามลพิษและวิกฤตอุณหภูมิโลก แต่ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยที่คนมักมองข้าม คือ ปัจจัยภายในอย่างอัตราการเจริญพันธุ์รวม (Total Fertility Rates) ที่ลดลงจาก 2.1 ในปี 2537 เหลือเพียง 1.3 เท่านั้น โดยส่วนหนึ่งมีผลมาจากสภาพร่างกายของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย 

 

ผลสำรวจของผู้ที่มีอายุระหว่าง 18-49 ปี ในสหรัฐอเมริกา พบว่า 44 คน จาก 100 คน ไม่อยากมีลูก สถิติดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2561 ส่วนหนึ่งเกิดจากปัจจัยทางด้านสุขภาพและการเงิน อย่างไรก็ดี จากผลสำรวจเดียวกัน ตัวเลขของคนที่อยากมีลูกก็ไม่ได้น้อยไปกว่ากัน 

 

เจมส์ มาร์แชล กรรมการผู้จัดการ และผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. คลินิก (Superior A.R.T.)

 

“จริงอยู่ที่ปัจจุบันผู้คนไม่อยากมีลูกกันมากขึ้น ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจและสังคม แต่ถ้าเทียบกับประชากรทั้งหมดแล้ว การมีลูกก็ยังคงเป็นหนึ่งในความฝันของคู่สมรสส่วนใหญ่” เจมส์ มาร์แชล กรรมการผู้จัดการ และผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. (Superior A.R.T.) คลินิกรักษาผู้มีบุตรยากและวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อนกล่าว 

 

เหตุผลสนับสนุนที่เกี่ยวโยงกับอัตราการเกิดต่ำทั่วโลกพบว่า การตัดสินใจมีลูกช้าเป็นผลมาจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ทั้งเรื่องหน้าที่การงานหรือความต้องการความมั่นคงทางด้านการเงินที่มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันปัญหาภาวะการมีบุตรยากก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งเป็นผลมาจากความเครียดจากการทำงาน ปัญหาสุขภาพ หรือแม้แต่การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ หรือการไม่ได้ออกกำลังกายอย่างเพียงพอ

 

“เมื่อ 10-15 ปีที่แล้ว คนไข้ที่เข้ามาปรึกษาและได้รับการรักษาภาวะมีบุตรยากจะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 30 ปี แต่ปัจจุบันอายุเฉลี่ยของผู้ที่มารับการรักษาเพิ่มขึ้นเป็น 37-38 ปี และปัจจุบันปัญหาเกี่ยวกับการมีลูกจากปัจจัยทางฝั่งผู้ชายก็เพิ่มมากขึ้นเทียบเท่ากับปัจจัยจากฝั่งผู้หญิง สิ่งเหล่านี้ถือเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับคลินิก”  

 

GERI® – เครื่องเพาะเลี้ยงตัวอ่อนแบบแยกเลี้ยง พร้อมระบบติดตามการเจริญเติบโต

 

เจมส์กล่าวต่อว่า แม้ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลทำให้มีลูกยากจะเพิ่มมากขึ้น แต่ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็ช่วยให้อัตราความสำเร็จในการมีลูกที่แข็งแรงเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน อย่างเทคโนโลยี IVF/ICSI หรือการทำเด็กหลอดแก้ว หนึ่งในเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่นำมาใช้ในกระบวนการรักษาคู่สมรสที่ประสบปัญหามีบุตรยากให้สามารถตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้การตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน (PGT) ยังช่วยให้เราสามารถวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนใส่กลับเข้าสู่โพรงมดลูก ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการถ่ายทอดโรคพันธุกรรมหรือความผิดปกติทางโครโมโซมในทารกได้อีกด้วย 

 

คนทั่วไปอาจคิดว่าบริการที่คู่สมรสมักเข้ามาใช้บริการมากที่สุดคือการใช้เทคโนโลยีเพื่อรักษาภาวะมีบุตรยาก แต่ความจริงแล้วคู่สมรสยุคโมเดิร์นมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวิทยาศาสตร์การแพทย์มากขึ้น หลายคู่เริ่มศึกษาและสนใจใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ไขเรื่องโรคทางพันธุกรรม เช่น PGT ด้วยเทคนิคอย่าง NGS และ Karyomapping เพื่อช่วยคัดกรองโรคทางพันธุกรรมและความผิดปกติต่างๆ ไม่ให้ส่งต่อจากพ่อแม่สู่ลูก เพื่อลูกที่สมบูรณ์แข็งแรงมากที่สุด

 

“อย่างกรณีของธาลัสซีเมีย โรคทางพันธุกรรมที่มีคนไข้มาปรึกษาและพบมากที่สุดในคนไทย ด้วยเทคโนโลยี PGT-M/A (Karyomapping) สามารถช่วยคัดกรองตัวอ่อนให้ปลอดจากโรคธาลัสซีเมียได้ หรือในบางกรณีที่พ่อแม่มีความเสี่ยงที่จะส่งผ่านความผิดปกติทางพันธุกรรมอื่นๆ ให้กับลูก เทคโนโลยีนี้ก็สามารถช่วยวางแผนเพื่อลดความเสี่ยงลงได้ เช่น หากตรวจพบโรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดโดยโครโมโซม X ของแม่ ซึ่งมักจะแสดงอาการผิดปกติในเพศชายได้มากกว่าเพศหญิง ดังนั้นการตรวจคัดกรองโครโมโซมของตัวอ่อนก่อนการฝังตัวจะช่วยป้องกันการส่งต่อโรคทางพันธุกรรมต่างๆ ได้”  

 

เทคโนโลยีฝากไข่แช่แข็ง (Egg Freezing) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทั่วโลก ผู้หญิงยุคใหม่เลือกที่จะออกแบบชีวิตของตัวเองให้รับความเสี่ยงน้อยลง ง่าย และยืดหยุ่นขึ้น และยังช่วยให้คู่สมรสที่ยังไม่พร้อมมีลูก ‘สามารถวางแผนครอบครัวให้ยืดหยุ่นขึ้นได้’ โดยการเก็บรักษาไข่ที่ยังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ไว้ก่อนและตัดสินใจที่จะผสมเมื่อพร้อม

 

ในกรณีของ ‘ภาวะมีบุตรยาก (Infertility)’ เทคโนโลยีอิ๊กซี่ (ICSI) การทำเด็กหลอดแก้วร่วมกับการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน NGS ทำให้คู่สมรสมีโอกาสตั้งครรภ์และมีบุตรที่สมบูรณ์แข็งแรงสูงถึง 72% 

 

บรรยากาศภายในห้องปฏิบัติการ

 

เจมส์กล่าวต่อว่า แม้เทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการมีลูกในหลายด้าน แต่การวางแผนและเตรียมตัวให้พร้อมตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยเพิ่มโอกาสให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายที่เราต้องการได้ดียิ่งขึ้น 

 

“ผู้ที่อยากจะมีลูกต้องดูแลสุขภาพให้แข็งแรง อย่างผู้ที่สูบบุหรี่ก็ควรจะหยุดแต่เนิ่นๆ และแน่นอนว่าเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ต่างๆ จะช่วยในการวางแผนครอบครัวของคุณสมบูรณ์ขึ้น เช่น ตอนนี้คุณอายุ 25 ปี และต้องการมีลูกตอนอายุ 45 ปี หากตัดสินใจฝากไข่ตั้งแต่วันนี้ โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็มีสูง”  

 

ในตอนที่เรายังหนุ่มสาวเราต่างมักใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ โดยไม่ได้คำนึงถึงสุขภาพร่างกายและความต้องการของตัวเองที่อาจเปลี่ยนแปลงในอีก 10 ปีข้างหน้า บ้างตัดสินใจแล้วที่จะไม่มีลูก บ้างก็เชื่อว่าร่างกายจะยังแข็งแรงจากการสังเกตเพียงภายนอก แต่ความต้องการและร่างกายของเรานั้นเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายใน การวางแผนให้ชีวิตมีทางเลือก ยืดหยุ่น และคาดเดาได้ จะช่วยลดความเสี่ยงและปัญหาในอนาคต 

 

ในยุคดิจิทัล ผู้คนฉลาดที่จะเลือกใช้เทคโนโลยีในด้านต่างๆ ของชีวิตมากขึ้น เทคโนโลยีทางการแพทย์ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เป็นเหมือนผู้ช่วยที่ทำให้เราวางแผนสุขภาพและครอบครัวได้รัดกุม โดยมีข้อมูลประกอบที่วัดผลได้และแม่นยำยิ่งขึ้น 

 

สำหรับผู้ที่สนใจปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนมีลูกหรือมีปัญหามีบุตรยาก สอบถามรายละเอียดแพ็กเกจและโปรโมชันเพิ่มเติมได้ที่ ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. (Superior A.R.T.) โทร. 0 2035 1400 เว็บไซต์ tinyurl.com/bdhscrve หรือ LINE OA https://bit.ly/37FxdND

FYI

ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. ก่อตั้งขึ้นในปี 2550 โดยการร่วมมือระหว่างแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และเด็กหลอดแก้วในประเทศไทยและผู้ให้บริการด้านภาวะเจริญพันธุ์จากประเทศออสเตรเลีย ปัจจุบันเป็นคลินิกรักษาผู้มีบุตรยากและวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อน ที่ให้คำปรึกษาและดูแลโดยแพทย์เฉพาะทาง และพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญและมากประสบการณ์ พร้อมดูแลใส่ใจรายละเอียดในทุกขั้นตอน พร้อมด้วยทีมนักวิทยาศาสตร์ที่ชำนาญการ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ ISO 15189, ISO 15190 และมาตรฐานเทียบเท่าห้องผ่าตัดหัวใจ

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising