ยังคงต้องย้ำกันทุกปีถึงความน่ากลัวของ ‘ไข้เลือดออก’ โรคระบาดที่ใกล้ตัวและน่ากลัวกว่าที่คิด
น่ากลัวขนาดที่ว่าองค์การอนามัยโลกจัดให้เป็น 1 ใน 10 ภัยคุกคามด้านสาธารณสุข เพราะกว่า 50% ของประชากรโลกเสี่ยงต่อการเป็นโรคไข้เลือดออก ในแต่ละปีมีผู้ป่วยกว่า 390 ล้านคนทั่วโลก และกว่า 500,000 รายต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
สำหรับประเทศไทย ช่วง 15 ปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยไข้เลือดออกกว่า 1.2 ล้านคน ข้อมูลจากกรมควบคุมโรคเผยว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม – 8 มิถุนายน 2566 พบผู้ป่วยกว่า 19,503 ราย คิดเป็นอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน 29.47 สูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2565 ถึง 3.8 เท่า มีผู้เสียชีวิต 17 ราย โดยผู้เสียชีวิตอายุน้อยสุด 2 ปี และอายุมากสุด 51 ปี กลุ่มอายุที่พบอัตราป่วยสูงที่สุด ได้แก่ อายุ 5-14 ปี รองลงมา 15-24 ปี จังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงที่สุดในช่วงเดือนที่ผ่านมาคือ จังหวัดตราด น่าน จันทบุรี แม่ฮ่องสอน และสตูล ตามลำดับ
และเป็นไปตามการคาดการณ์เกือบจะทุกปี ที่เข้าช่วงเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูฝน จะพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น เพราะยิ่งฝนตกยิ่งมีน้ำขัง เกิดเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ ปัจจุบัน ประเทศไทยตรวจพบไข้เลือดออกที่มีการระบาด 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ที่ 1, 2, 3 และ 4 ซึ่งการระบาดจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
ถึงแม้จะมีจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ความตระหนักรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกยังมีน้อย หนึ่งในข้อเท็จจริงที่หลายคนยังไม่ตระหนักคือ ผู้ป่วยที่เคยเป็นไข้เลือดออก หากเคยติดเชื้อเดงกีสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งแล้วจะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อไวรัสสายพันธุ์นั้นตลอดชีวิต แต่ยังสามารถติดเชื้อสายพันธุ์ที่เหลือที่ยังไม่เคยติดเชื้อมาก่อนได้ ประเด็นอยู่ตรงที่การติดเชื้อไวรัสเดงกีและป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกซ้ำอาจมีความเสี่ยงที่อาการจะรุนแรงมากขึ้น
หรือความเชื่อที่ว่าไข้เลือดออกระบาดในชนบทเท่านั้น แต่ความจริงแล้วในเมืองใหญ่ๆ หรือพื้นที่ชุมชนที่มีคนเป็นจำนวนมากมีโอกาสเป็นโรคไข้เลือดออกเหมือนกัน จะเห็นได้ว่ากรุงเทพมหานครติดอันดับต้นๆ ของจังหวัดที่มีการระบาดของไข้เลือดออกทุกปี และไม่ว่าจะอายุเท่าไร สุขภาพแข็งแรงหรือมีโรคประจำตัว ล้วนมีความเสี่ยงเท่ากัน หากดูจากสถิติข้างต้นจะเห็นช่วงอายุของผู้ป่วยมีให้เห็นทุกช่วงวัย นอกจากนี้กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวยังเสี่ยงเป็นโรครุนแรงได้มากกว่าคนปกติ
ที่สำคัญ ปัจจุบันยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสเดงกีหรือยารักษาไข้เลือดออกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการเท่านั้น ไข้เลือดออกจึงเป็นโรคที่การป้องกันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
อย่าปล่อยให้เหยื่อรายต่อไปต้องเป็นเราหรือคนใกล้ตัว
เมื่อการระบาดไม่เคยลดลงและความตระหนักรู้ยังไม่เพิ่มขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่ ‘อิงมา’ Dengue Virtual Human คนแรกของประเทศไทย ถูกสร้างขึ้นจากข้อมูลที่อิงมาจากสถิติของเหยื่อโรคไข้เลือดออกกว่า 1.2 ล้านคนในประเทศไทยตลอด 15 ปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นตัวแทนของเหยื่อโรคไข้เลือดออกกว่าล้านคนให้คนไทยไม่ชะล่าใจกับโรคไข้เลือดออก ต้องกลับมา!
การกลับมาครั้งนี้ นอกจากจะกลับมาในช่วงวันไข้เลือดออกอาเซียน ASEAN Dengue Day ซึ่งตรงกับวันที่ 15 มิถุนายนของทุกปี เธอยังกลับมาพร้อมบทบาทใหม่ ‘นักรีวิว’ ที่จะมาเปิดเผยความจริงผ่านสิ่งของจากเหยื่อไข้เลือดออกตัวจริง เพื่อเตือนให้ทุกคนเห็นว่า ‘ไข้เลือดออกยังคงใกล้ตัวและน่ากลัวกว่าที่คิด’
รีวิวจากอิงมาเปิดตัวด้วยคลิปวิดีโอที่จะพาคุณย้อนเรื่องราวของคู่รักที่กำลังจะแต่งงานผ่านของชิ้นสำคัญที่มาจากความรัก ความผูกพัน ของที่เติมเต็มรอยยิ้มให้กับพวกเขา เรื่องราวตอนต้นดูน่าจะจบแบบแฮปปี้เอนดิ้ง เพียงแต่เสี้ยววินาทีที่พวกเขาละเลยเรื่องบางอย่างไป พบกับสิ่งของ ของที่จะยิ่งตอกย้ำว่าไข้เลือดออกยังคงใกล้ตัวและน่ากลัวกว่าที่คิด
นอกจากของที่พวกเขาทั้งคู่ไม่มีโอกาสได้ใช้เพราะละเลยสิ่งใกล้ตัวอย่างโรคไข้เลือดออกแล้ว ยังมีของอีกหลายชิ้นจากเหยื่อไข้เลือดออกที่อิงมาจะมารีวิว ซึ่งล้วนเต็มไปด้วยเรื่องราวที่ดูแล้วอดเสียดายหรือใจหายไปกับพวกเขา และได้แต่ย้ำเตือนตัวเองว่าต้องไม่ให้ตัวเองและคนใกล้ตัวตกเป็นเหยื่อของไข้เลือดออก
แต่ถ้าคุณมีสิ่งของและเรื่องราวของเหยื่อไข้เลือดออกที่อยากแชร์ และอยากให้อิงมานำมารีวิว น้องฝากบอกว่าไม่จำกัดประเภท ไม่จำกัดหมวดหมู่ จะเป็นสิ่งของ อาหาร หรือสถานที่ก็ได้ แต่จะต้องเป็นของที่มาจากเหยื่อไข้เลือดออกเท่านั้น ไม่จำกัดอายุ เพศ เจ้าของจะมีชีวิตอยู่หรือเสียชีวิตแล้วก็ได้ โพสต์เรื่องราวลงในโซเชียลมีเดียของคุณและแท็กมาที่ #รีวิวจากอิงมา เพื่อช่วยกันทำให้ทุกคนรู้ว่า ไข้เลือดออกยังคงใกล้ตัวและน่ากลัวกว่าที่คิด
ติดตามอ่านเรื่องราวอื่นๆ ได้ที่ https://knowdengueth.com/ingma-victim-story
นอกจากบริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด, กรมควบคุมโรค, กรุงเทพมหานคร และพันธมิตรเครือข่ายภายใต้ความร่วมมือ Dengue-Zero เดินหน้าผลักดันให้เกิดความตระหนักรู้และการสร้างภูมิคุ้มกันโรคไข้เลือดออกอย่างบูรณาการด้วยการให้ ‘อิงมา’ กลับมาในบทบาทนักรีวิว ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่ทำกับบุคลากรทางการแพทย์ ชุมชน และนักเรียนตลอดปีที่ผ่านมา ล่าสุด เปิดตัวเว็บไซต์ www.KnowDengueTH.com อีกหนึ่งช่องทางในการสื่อสารเรื่องไข้เลือดออก ช่วยให้ประชาชนได้รับรู้และเข้าถึงข้อมูลเรื่องโรคไข้เลือดออกได้อย่างครบถ้วน รวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา
ภายในเว็บไซต์มีเนื้อหาครอบคลุมถึงความสำคัญของโรคไข้เลือดออกทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็น ‘รู้ทันไข้เลือดออก’ พื้นที่แบ่งปันเรื่องราวจากผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในหลากหลายช่วงอายุ ให้คุณเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนัก เข้าใจ และรู้จักวิธีห่างไกลจากโรค ‘รู้ทันพื้นที่เสี่ยง’ รายงานสถานการณ์ไข้เลือดออกตามพื้นที่จังหวัดทั่วประเทศไทย รายสัปดาห์ แบบเรียลไทม์ โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยสะสมและผู้เสียชีวิตสะสมตามกลุ่มอายุ และ ‘บทความ’ แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุของโรค อาการ การวินิจฉัยโรค การรักษา แนวทางการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย การป้องกันบ้านให้ปลอดภัย เรื่องน่ารู้ของเด็กกับความเสี่ยง และอื่นๆ อีกมากมาย
#รีวิวจากอิงมา #DengueVirtualHuman #วันไข้เลือดออกอาเซียน #DengueZeroMOU
VV-MEDMAT-87570: Jul 2023
อ้างอิง: