ความเสี่ยงที่สร้างความกังวลใจให้คนไทยทั้งประเทศในช่วงระยะหลังๆ และฤดูฝนแบบนี้คือ การระบาดอย่างรวดเร็วของภัยร้ายอย่างไข้หวัดใหญ่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘ไข้เลือดออก’
แต่กว่าที่ใครหลายคนจะไหวตัวทัน พวกเขาก็อาจจะต้องเลื่อนสถานะตัวเองด้วยความจำยอมไปสู่ ‘ผู้ป่วย’ เสียแล้ว เสียทั้งเวลา สูญทั้งรายได้ ค่ารักษา และโอกาสจากการต้องพักรักษาตัวให้หายดีจากอาการป่วย
จากการเปิดเผยโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา (11 ตุลาคม 2566*) พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า ปัจจุบันประเทศไทยมียอดผู้ติดเชื้อไข้เลือดออกสะสมจำนวนกว่า 110,809 คน และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 106 คนแล้ว ทั้งๆ ที่หากย้อนหลังไปเพียงเดือนเดียว จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสมในไทยยังไม่พุ่งทะลุหลักแสนคนด้วยซ้ำ
เหตุผลหลักๆ ที่ไข้เลือดออกลุกลามเร็วเช่นนี้เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมช่วงฤดูฝนที่ยุงลายมักขยายพันธุ์ได้มากและรวดเร็ว ไหนจะลักษณะอาการป่วยที่ผู้ป่วยน้อยรายนักมักจะทราบได้ทันทีตั้งแต่เนิ่นๆ ว่าพวกเขากำลังติดเชื้อไข้เลือดออกอยู่
เมื่อยุงลายชุม แพร่พันธุ์ได้เร็ว อาการป่วยไม่ปรากฏออกมากในระยะแรก รู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นผู้ป่วยและเผลอแพร่เชื้อให้คนรอบตัวแบบไม่ทันระวังไปแล้ว แถมโรคนี้ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ป่วยได้ไม่แพ้กัน (ข้อมูลจากกรมควบคุมโรคเผยว่า อัตราการป่วยตายจากไข้เลือดออกในผู้ใหญ่สูงกว่าในเด็กเสียอีก!**) สิ่งเหล่านี้จึงล้วนแล้วแต่เป็นหลักฐานชั้นดีที่ชี้ชัดมัดตัวผู้ร้ายอย่างยุงลายและไข้เลือดออกว่า ‘ไข้เลือดออกยังคงน่ากลัว แถมยังใกล้ตัวกว่าที่คิด’
แต่ใช่ว่าไข้เลือดออกระบาดเร็ว ระบาดแรง แล้วเราจะไม่สามารถทำอะไรได้เลย
‘ปักหมุด หยุดไข้เลือดออก’ แคมเปญที่ต่อยอดจากเรื่องของ ‘อิงมา’ กับความหวังที่อยากชวนคนไทยปลอดไข้เลือดออกไปพร้อมกัน
ถ้ายังจำกันได้ ย้อนกลับไปเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้จับมือกับกรุงเทพมหานครและทาเคดา ประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับแวดวงสาธารณสุขครั้งใหญ่ผ่านการเปิดตัว ‘อิงมา’ เด็กหญิง Dengue Virtual Human คนแรกในไทย
อิงมาเปรียบเสมือนเด็กหญิง Virtual Human ที่กำเนิดขึ้นจากการหลอมรวมข้อมูลเหยื่อไข้เลือดออกคนไทยในกว่า 1,237,467 คน ตลอดช่วง 15 ปีที่ผ่านมา (ปี 2550-2564) ในหลากหลายช่วงวัย หลากเพศวิถี และต่างอาชีพ ประมวลผลออกมาเป็นใบหน้าและเสียงของเธอ
หน้าที่หลักๆ ของอิงมาคือ การเป็นตัวแทนเหยื่อไข้เลือดออกที่อยากย้ำเตือนให้คนทุกคนไม่ประมาทและเข้าใจอยู่เสมอว่า “ไข้เลือดออกน่ากลัวและใกล้ตัวกว่าที่คิด”
นั่นคือจุดเริ่มต้นและความมุ่งมั่นตั้งใจของอิงมา
หนึ่งปีผ่านไป ความปรารถนาดีของอิงมายังคงดำเนินอยู่ต่อไปควบคู่ไปกับการต่อยอดเมสเสจของอิงมาไปให้ไกลและกว้างกว่าเดิม
โดยเมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร และทาเคดา ประเทศไทย รวมทั้งพันธมิตรความร่วมมือ Dengue-Zero ได้ผนึกกำลังร่วมกันจัดงาน ‘ส่งต่อความหวังจากอิงมา ชวนคนไทยปักหมุด หยุดไข้เลือดออก’ ขึ้นเพื่อขีดเส้นใต้ความตั้งใจและความหวังในการสกัดกั้นไข้เลือดออกให้อยู่ห่างจากคนไทยอีกครั้ง
ภายในงานมีการจัดกิจกรรมและบูธจัดแสดง Experience ในรูปแบบต่างๆ ภายใต้การส่งต่อความหวังในการต่อสู้กับไข้เลือดออกผ่านทั้ง Message of Hope Gallery พื้นที่รวบรวมประสบการณ์จริงจากผู้ที่เคยเป็นเหยื่อไข้เลือดออก ไปจนถึง The Last Message from Ing-Ma บูธถ่ายภาพที่อิงมาจะชวนทุกคนมาร่วมปักหมุด หยุดไข้เลือดออก ไปด้วยกัน
ปีเตอร์ สไตรเบิล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด
ปีเตอร์ สไตรเบิล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะหนึ่งในพันธมิตรผู้ร่วมจัดงาน ส่งต่อความหวังจากอิงมา ชวนคนไทยปักหมุด หยุดไข้เลือดออก กล่าวว่า หนึ่งในพันธกิจสำคัญของทาเคดาคือ การมอบสุขภาพที่ดีกว่าและอนาคตที่สดใสให้กับผู้คนทั่วโลก ผ่านนวัตกรรมการดูแลสุขภาพเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
“เราตระหนักดีว่าไข้เลือดออกเป็นหนึ่งในปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศไทย คนจำนวนกว่า 390 ล้านคนทั่วโลกได้รับผลกระทบจากโรคนี้ โดยในจำนวนนี้มีผู้ป่วยกว่า 96 ล้านคนที่มีอาการรุนแรง เราจึงมีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการสร้างความตระหนักรู้เรื่องไข้เลือดออกที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชน ทั้งการพัฒนาและต่อยอดระบบการป้องกันเพื่อควบคุมการระบาด ผ่านการทำงานอย่างใกล้ชิดกับชุมชน การส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันของโรคไข้เลือดออก”
3 ก. 5 ป. สูตรป้องกันไข้เลือดออก พร้อมทางเลือกสร้างภูมิคุ้มกัน ห่างไกลจากยุงร้าย ไข้เลือดออก
นอกเหนือจากอิงมาและแคมเปญปักหมุด หยุดไข้เลือดออก ที่ผ่านมาทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ยังเดินหน้าประชาสัมพันธ์มาตรการที่ประชาชนทุกคนสามารถปฏิบัติตามได้ เพื่อป้องกันและลดการระบาดของไข้เลือดออก เพื่อผลักดันให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมไร้ไข้เลือดออกอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน
โดยมาตรการที่ว่าคือ 3 ก. 5 ป. ประกอบด้วย
(3 ก.)
- เก็บบ้าน
- เก็บขยะ
- เก็บภาชนะที่มีน้ำขังเพื่อเลี่ยงยุงวางไข่
(5 ป.)
- ปิดภาชนะ
- เปลี่ยนน้ำในภาชนะ
- ปล่อยปลากันลูกน้ำ
- ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้โปร่ง
- ปฏิบัติต่อเนื่องจนเป็นนิสัย
อย่างไรก็ดี นอกจากมาตรการป้องกันไข้เลือดออก 3 ก. 5 ป. ที่กล่าวมาข้างต้นที่เราสามารถลงมือทำได้ด้วยตัวเองแล้ว ปัจจุบันประเทศไทยยังมีทางเลือกอื่นในการป้องกันไข้เลือดออกที่เราสามารถทำควบคู่ไปได้ด้วย เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจในการปกป้องเราจากไข้เลือดออก ซึ่งทางเลือกดังกล่าวก็คือ ‘การฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก’
ณ วันนี้ ประเทศไทยและโรงพยาบาลหลายๆ แห่งทั่วประเทศนั้นพร้อมให้บริการป้องกันไข้เลือดออกด้วยการฉีดวัคซีนแล้ว โดยวัคซีนไข้เลือดออกที่ว่ามีคุณสมบัติสามารถป้องกันไข้เลือดออกได้ถึง 4 สายพันธุ์ ทั้งยังป้องกันการนอนโรงพยาบาลจากไข้เลือดออกได้ถึง 80-90%***
(***คำแนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ โดยสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2566)
เมื่อรู้ว่าไข้เลือดออกสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนเช่นนี้แล้ว ดังนั้นเรามาป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการป่วยไข้เลือดออกด้วยการฉีดวัคซีนกันดีกว่า โดยผู้ที่สนใจสามารถปรึกษาแพทย์หรือขอรับคำแนะนำจากโรงพยาบาลใกล้บ้านคุณได้ทุกที่ ทุกเวลา เพื่อสร้างความอุ่นใจ ห่างไกลจากไข้เลือดออกไปด้วยกัน
ทั้งนี้ วิธีสังเกตอาการของไข้เลือดออกเบื้องต้นที่เราสามารถทำได้ด้วยตัวเองคือ การสังเกตจากภาวะการมีไข้สูงลอยพร้อมผื่นแดงหรือจุดเลือดออกตามตัว หากมีอาการข้างต้นไม่ควรนิ่งนอนใจ และควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที หรือหากต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข่าวสารและการป้องกันไข้เลือดออกสามารถศึกษาได้ที่ https://knowdengueth.com/ หรือ Facebook KnowdengueTH : https://www.facebook.com/knowdengueth
#ไข้เลือดออกป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน #ปักหมุดหยุดไข้เลือดออก #DengueZeroMOU
อ้างอิง:
- *https://lookerstudio.google.com/u/0/reporting/dfa7d4e2-b7f5-48ed-b40a-54f1cd4cbdfb/page/cFWgC?s=uJijraAskGk
- https://www.facebook.com/photo/?fbid=304824045637557&set=pb.100083298911024.-2207520000
C-ANPROM / TH / DENV / 0274: Oct 2023