เดลต้าแจ้งกำไรไตรมาสแรกปีนี้ 3.61 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% จากงวดเดียวกันของปีที่แล้ว อานิสงส์ความต้องการสินค้ากลุ่มโซลูชันสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าและกลุ่มผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติสำหรับภาคอุตสาหกรรมขยายตัวดี ขณะที่ต้นทุนค่าใช้จ่ายลด 15.5% จากไตรมาสก่อน เหตุค่าขนส่งสินค้าปรับตัวลดลง
บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ DELTA รายงานผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/66 รายได้จากการขายไตรมาส 1/66 มีจำนวน 32,294 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31.2% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้จากการขาย 24,623 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิงวดไตรมาส 1/66 อยู่ที่ 3,614 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 2,780 ล้านบาท
โดยไตรมาส 1/66 บริษัทมียอดขายสินค้าและบริการในไตรมาสน้ีอยู่ที่ 32,294 ล้านบาท เพิ่มข้ึน 31.2% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการของลูกค้าที่สูงข้ึนอย่างมากในกลุ่มโซลูชันสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle Solutions) และกลุ่มผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติสำหรับภาคอุตสาหกรรม (Industrial Automation)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- DELTA เตรียมเทรดพาร์ใหม่ 28 เม.ย. นี้ พร้อมกลับมาใช้ Board Lot เป็น 100 หุ้น ด้านราคาหุ้นร่วงเฉียด 2%
- ตลาดฯ ขู่ยกระดับ DELTA เข้ามาตรการกำกับระดับ 2 และ 3 โบรกแนะขายหลังราคาสะท้อนข่าวดีไปมากแล้ว
- หุ้น DELTA ทะลุ 1,000 บาท ดันมาร์เก็ตแคปแตะ 1.26 ล้านล้านบาท สูงกว่าบริษัทแม่ที่ไต้หวันเกือบ 50%
ขณะที่กลุ่มพัดลมและระบบจัดการความร้อน (Fan & Thermal Management) มีอัตราการเติบโตในระดับปานกลาง เช่นเดียวกับกลุ่มผลิตภัณฑ์โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) รวมถึงกลุ่มผลิตภัณฑ์ Cloud Storage และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ Data Center ซึ่งมียอดขายเติบโตจากปีก่อนหน้า แต่ชะลอตัวลงจากฐานสูงในไตรมาสที่แล้ว สืบเนื่องจากปัจจัยกดดันของสภาวะเศรษฐกิจโลกในปีน้ีที่ยังมีความไม่แน่นอน ส่งผลให้กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีและองค์กรเพิ่มความระมัดระวังในการบริหารเงินลงทุนและค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
กำไรขั้นต้นในไตรมาสน้ีมีจำนวน 6,713 ล้านบาท เพิ่มข้ึน 30.7% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขับเคลื่อนโดยการเติบโตของยอดขายที่เพิ่มข้ึนอย่างชัดเจนภายใต้กลุ่มธุรกิจพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์และกลุ่มผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติ
ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นทรงตัวจากปีก่อนหน้า แต่ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากสถานการณ์การขาดแคลนวัตถุดิบสำคัญในกลุ่มโซลูชันสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ส่งผลต่อต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการวัตถุดิบ
ส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (รวมการวิจัยและพัฒนา) มีจำนวน 3,236 ล้านบาท ลดลง 15.5% จากไตรมาสก่อน เนื่องจากค่าขนส่งสินค้าปรับตัวลดลง แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มข้ึน 10% โดยมีสาเหตุมาจากกิจกรรมด้านการวิจัยและพัฒนาในยุโรปและอเมริกาเหนือ
กำไรจากการดำนินงานในไตรมาสน้ีมีจำนวน 3,477 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไร 10.8% ปรับเพิ่มข้ึนจาก 8.9% จากงวดเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการเติบโตของยอดขายในกลุ่มสินค้าที่มีกำไรเพิ่มสูงข้ึน
ขณะที่กำไรสุทธิในไตรมาสน้ีมีจำนวน 3,614 ล้านบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 11.2% และมีกำไรสุทธิต่อหุ้นอยู่ที่ 0.29 บาท เติบโต 31.8% เมื่อเทียบกับ 0.22 บาทต่อหุ้น ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งได้มีการบันทึกรายได้เงินชดเชยค่าประกันความเสียหายจากอุทกภัย จำนวน 331 ล้านบาท ทั้งนี้ หากไม่รวมรายการพิเศษดังกล่าว จะส่งผลให้กำไรสุทธิในไตรมาสน้ีเติบโตสูงถึง 47.6% จากไตรมาสแรกของปีที่แล้ว