“ถ้าวันนี้เราไม่มีไฟฟ้าใช้…” เราอาจจินตนาการไม่ออกว่าเราจะอยู่ในสภาพแบบไหน ย้อนไปเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2427 ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง นับเป็นการเริ่มต้นการมีไฟฟ้าใช้ในประเทศไทย
นับเป็นเวลา 136 ปีแล้วที่ประเทศไทยมีไฟฟ้าใช้ นั่นหมายความว่าคนที่มีชีวิตอยู่ ณ ขณะนี้ไม่มีโอกาสได้สัมผัสช่วงเวลาของการไม่มีไฟฟ้าเลย
ไฟฟ้าอยู่ในทุกส่วนของชีวิตตั้งแต่ลืมตาตื่นจนนอนหลับ และมีความจำเป็นเกินกว่าเราจะจินตนาการได้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นมาล้วนพึ่งพิงไฟฟ้าทั้งสิ้น
ความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุดของประเทศไทยมีเพิ่มขึ้นทุกปี
- พ.ศ. 2512 ความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุดของประเทศไทยอยู่ที่ 638.10 เมกะวัตต์ต่อปี
- พ.ศ. 2562 ความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุดของประเทศไทยอยู่ที่ 30,853.20 เมกะวัตต์ต่อปี
เท่ากับว่าในระยะเวลา 50 ปี ประเทศไทยมีความต้องการพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึง 4,735% และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องจากสถิติที่ผ่านมา
และปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังการผลิตในระบบไฟฟ้าอยู่ที่ 45,477.87 เมกะวัตต์ต่อปี ถึงแม้กำลังการผลิตจะมีการเติบโตตามความต้องการพลังงานไฟฟ้า แต่ในกำลังการผลิตดังกล่าวมีอัตราไฟฟ้าหรือเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าที่ต้องนำเข้าถึง 12.58%
ถึงแม้ว่าการขาดแคลนไฟฟ้าจะไม่ใช่เรื่องวิกฤตที่ต้องระแวดระวังกัน เนื่องจากมีหน่วยงานภาครัฐที่สำคัญคือ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ทําหน้าที่กํากับดูแลการประกอบกิจการพลังงานของประเทศ โดยดูแลด้านกิจการไฟฟ้าและกิจการก๊าซธรรมชาติ กำหนดมาตรการเพื่อให้เกิดความมั่นคงและเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า ส่งเสริมให้การประกอบกิจการพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมต่อผู้รับใบอนุญาตและผู้ใช้พลังงาน
เมื่อความต้องการพลังงานไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกวัน การประหยัดพลังงานไฟฟ้าคือทางออกที่ดีแน่หรือ?
“ทางเลือกใหม่ ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน จากขยะและชีวมวล ภายใต้ Core Message Clean Energy for Life” เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ภาครัฐกำลังขับเคลื่อนเพื่อทำความเข้าใจกับภาคประชาชนเกี่ยวกับทางเลือกใหม่ ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน จากขยะและชีวมวล อย่างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะหรือโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล
กลไกง่ายๆ ของการนำเอาสิ่งของเหลือใช้อย่างขยะและของเสียจากภาคการเกษตรหรือชีวมวลไปเป็นพลังงานเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าคือการเอาสิ่งของที่ถูกใช้ประโยชน์จนหมดสิ้นแล้ว เหลือเพียงขั้นตอนการทำลายไปผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า
“ทางเลือกใหม่ ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน จากขยะและชีวมวล ภายใต้ Core Message Clean Energy for Life” เรื่องระดับชุมชนที่ทำเพื่อประเทศชาติ เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากขยะและชีวมวล
เราคิดภาพง่ายๆ แบ่งเป็น 2 กรณี
- ขยะ – ชุมชนหนึ่งเกิดขยะในชุมชนปีละ 1 ตัน หากไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีจะเกิดผลเสียมากมาย เช่น การกำจัดด้วยการฝังกลบ น้ำชะขยะอาจจะไหลลงสู่แหล่งน้ำหรือพื้นที่การเกษตรจนดินเสียคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก และส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอีกมากมาย การมีโรงไฟฟ้าขยะ และมีการสอนชาวบ้านคัดแยกขยะ เพื่อนำวัสดุที่ให้พลังงานมาขายให้โรงไฟฟ้า นอกจากจะกำจัดขยะอย่างถูกวิธีแล้ว ยังเกิดรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชน
- ชีวมวล – ชาวไร่มันสำปะหลัง มีเหง้ามันจำนวนมาก ที่ต้องกำจัด ไม่ว่าจะเผาหรือฝัง จำนวนมากขนาดนั้น อาจเกิดผลเสียทางสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โรงไฟฟ้าชีวมวลที่รับซื้อเหง้ามันมาผลิตไฟฟ้า จะสร้างรายได้ ช่วยกำจัดชีวมวล และยังได้พลังงานไฟฟ้ามาสำหรับใช้ในประเทศ
จึงกลายมาเป็นโครงการ ‘เด็กตื่นไฟ ปี 2’ ตอน ‘ทางเลือกใหม่ ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน จากขยะและชีวมวล ภายใต้ Core Message Clean Energy for Life’ โครงการประกวดหนังสั้นหรือคลิปไวรัลที่นำเอานิสิต นักศึกษา เยาวชนคนรุ่นใหม่ มาเรียนรู้เรื่องพลังงานทดแทนผ่านกิจกรรมให้ความรู้ต่างๆ อย่างการเข้าค่าย เยี่ยมชมโรงไฟฟ้าพลังงานขยะและโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล เพื่อนำเอาความรู้ความเข้าใจดังกล่าวมาผลิตหนังสั้นหรือคลิปไวรัล เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องโรงไฟฟ้าพลังงานขยะและโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ตระหนักถึงความสำคัญของพลังงานทดแทนจากขยะและชีวมวล ที่นำไปสู่การผลิตไฟฟ้า พร้อมชิงทุนสนับสนุนการผลิตและเงินรางวัลกว่า 800,000 บาท เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิด ‘Clean Energy for Life ใช้พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน’ โดยโครงการ ‘เด็กตื่นไฟ ปี 2’ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเด็กตื่นไฟ ปี 2 ได้ง่ายๆ เพียงคุณมีคุณสมบัติ ดังนี้
- กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่า
- มีอายุระหว่าง 18-28 ปี (นับตั้งแต่วันส่งใบสมัคร)
- รับสมัครในรูปแบบทีมเท่านั้น โดยจำกัดจำนวนสมาชิกทีมละ 5 คน
- ไม่จำกัดสาขาวิชาเรียน
- ไม่จำเป็นต้องศึกษาอยู่สถาบันเดียวกัน
- มีอาจารย์ที่ปรึกษาประจำทีม ทีมละ 1 ท่าน (อาจารย์ 1 ท่าน สามารถเป็นที่ปรึกษาได้มากกว่า 1 ทีม)
สำหรับน้องๆ นิสิต นักศึกษา ในระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่า ที่มีอายุตั้งแต่ 18-28 ปี ต้องการมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เตรียมชวนเพื่อนรวมกลุ่มให้ครบ 5 คน และสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 โดยสามารถศึกษาขั้นตอนการสมัครได้ทางเพจ https://www.facebook.com/DEKWAKEUP
เปิดรับสมัครวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 – 9 กุมภาพันธ์ 2564
สมัครได้ที่ www.dekwakeup.com
ติดตามข่าวสารโครงการ https://www.facebook.com/DEKWAKEUP/
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 06 5005 5462