×

เตรียมพร้อมรับดอกเบี้ยขาลง สินทรัพย์ใดคือคำตอบ

25.09.2024
  • LOADING...
ดอกเบี้ยขาลง

เศรษฐกิจและตลาดการลงทุนทั่วโลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ระหว่างวันที่ 17-18 กันยายนที่ผ่านมา ตลาดคาดว่า Fed จะปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกในการประชุมครั้งนี้ แต่ตลาดยังมีมุมมองที่แตกต่างและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดว่า Fed จะปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% หรือ 0.50% โดยข้อมูลจาก CME Group พบว่า นักลงทุนราว 64% คาดว่า Fed จะลดดอกเบี้ย 0.50% จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 5.25-5.50% 

 

สาเหตุที่ตลาดมั่นใจเช่นนั้นว่า Fed น่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างแน่นอนในครั้งนี้มาจาก 2-3 ประเด็น อย่างแรกคือคำกล่าวของ เจอโรม พาวเวลล์ ประธาน Fed ที่ประกาศว่า “ถึงเวลาแล้วที่นโยบายจะต้องปรับเปลี่ยน”

 

ซึ่งคำกล่าวนี้ได้รับการสนับสนุนด้วยตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่สำคัญบางส่วน เช่น อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ (CPI) ในเดือนสิงหาคมที่ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 2.5%YoY ลดลงจาก 2.9% ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี ขยับเข้าใกล้กรอบเป้าหมายที่ Fed ตั้งไว้ที่ 2%

 

ขณะที่ตลาดแรงงานในสหรัฐฯ เริ่มชะลอตัวลงเช่นกัน สะท้อนถึงเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เริ่มชะลอตัว โดยตัวเลขตำแหน่งงานเปิดใหม่ลดลง 237,000 ตำแหน่ง เป็น 7.67 ล้านตำแหน่ง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม ลดลงต่ำสุดนับแต่เดือนมกราคม 2021 และต่ำกว่าที่คาดไว้ 8.1 ล้านตำแหน่ง ส่วนตัวเลขอัตราการว่างงานลดลงเล็กน้อยจาก 4.3% ในเดือนกรกฎาคม มาอยู่ที่ 4.2% ในเดือนสิงหาคม 2024 

 

Fed ลดดอกเบี้ย 0.50% ในการลดดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2020

 

ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) วันที่ 18 กันยายน 2024 มีมติไม่เอกฉันท์ 11 ต่อ 1 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.50% ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยปรับลดสู่อัตรา 4.75-5.00%

 

แถลงการณ์ของ Fed ระบุว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงขยายตัวในอัตราที่มั่นคง การจ้างงานเพิ่มขึ้นในอัตราช้าลง และอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นแต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ อัตราเงินเฟ้อมีพัฒนาการที่มุ่งหน้าไปสู่อัตราเป้าหมาย 2% ของคณะกรรมการ แต่ยังคงสูงเล็กน้อย

ด้านผลการคาดการณ์ทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ ในระยะยาว (Dot Plot) แสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่ Fed ส่วนใหญ่ 10 คน จาก 19 คน สนับสนุนให้ลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 0.5% ในการประชุมอีก 2 ครั้งที่เหลือของปี 2024 และในปี 2025 มีโอกาสลดดอกเบี้ย 1.00% ส่งผลให้คาดการณ์ดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี 2025 อยู่ที่ 3.25-3.50% แต่พาวเวลล์เน้นย้ำว่า Fed อาจไม่ได้ทำตาม Dot Plot เสมอไป การตัดสินใจจะพิจารณาจากข้อมูลเศรษฐกิจในแต่ละช่วงด้วย

UOB Group คาด Fed จะปรับลดดอกเบี้ยอีก 0.50% ในปีนี้ แบ่งเป็นครั้งละ 0.25% ในการประชุม 2 ครั้ง เดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2024 และคาดว่าจะลดดอกเบี้ยต่อเนื่องในปี 2025 ที่ 1.00% โดยลดครั้งละ 0.25% ในทุกไตรมาส

ดอกเบี้ยขาลง

 

ตลาดตอบสนองอย่างไรต่อการปรับลดดอกเบี้ยครั้งนี้

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ หลังทราบผลการประชุมปรับตัวขึ้นแตะระดับ All Time High ก่อนจะย่อตัวและปิดปรับตัวลงเล็กน้อยทั้ง 3 ดัชนีหลัก ดัชนีดาวโจนส์ -0.25%, S&P 500 -0.29% และ NASDAQ -0.31%  

 

ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย เงินดอลลาร์แข็งค่า ราคาทองคำปรับตัวขึ้นแรงทำ All Time High ใหม่แตะที่ระดับ 2,600 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ ก่อนที่จะเกิดแรงเทขายทำกำไรออกมาปรับตัวลงสู่ 2,550 ดอลลาร์ แล้วทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 2,554-2,559 ดอลลาร์

 

ทั้งนี้ ข้อมูลในอดีตแสดงให้เห็นว่า ผลตอบแทนของตลาดหุ้นหลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของ Fed นั้นขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจ ตลาดหุ้นมักจะให้ผลตอบแทนที่เป็นบวก หากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกไม่ตามมาด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งจากถ้อยแถลงของประธาน Fed ยังย้ำมุมมองที่ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังแข็งแกร่ง การชะลอตัวจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป และเป็นการชะลอตัวแบบ Soft Landing มากกว่าการเกิด Recession 

 

 

การลงทุนที่เน้น Income เพื่อรับมือดอกเบี้ยขาลง

 

UOB Privilege Banking แนะนำให้ลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างรายได้ (Income) ได้สม่ำเสมอในช่วงดอกเบี้ยขาลง ซึ่งจะช่วยสร้างผลตอบแทนรวม (Total Return) จากการลงทุนให้ดีขึ้นได้ ผ่านการลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดี ซึ่งปัจจุบันยังให้อัตราผลตอบแทนที่น่าสนใจ อีกทั้งตราสารหนี้คุณภาพดียังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการจัด Asset Allocation เพื่อบริหารความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนด้วย ในช่วงที่แนวโน้มดอกเบี้ยเป็นขาลงเราแนะนำให้ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุยาวขึ้นเพื่อล็อกอัตราผลตอบแทนระดับสูงไว้ และมีโอกาสทำกำไรจากส่วนต่างราคาในช่วงที่ Fed ลดดอกเบี้ยต่อเนื่อง 

 

ทางเลือกการลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดีกับ UOB Privilege Banking 

 

  1. กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล อินคัม สตราทีจิค บอนด์ ฟันด์ (UGIS-N, UGIS-A หรือ UGIS-FX) กองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศทั่วโลกมีความ Active ในการลงทุนและปรับ Duration ให้เหมาะสมกับภาวะตลาด เน้นสร้างรายได้ (Income) สม่ำเสมอ พร้อมคัดเลือกตราสารหนี้คุณภาพดีเพื่อปกป้องเงินลงทุนในระยะยาว   
  2. สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในกองทุนหลักต่างประเทศโดยตรง หรือ Offshore Fund แนะนำกองทุน PIMCO GIS Income Fund ซึ่งเป็นกองทุนหลักของกอง UGIS 
  3. Offshore Bond โดยนักลงทุนสามารถเลือกลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดีจากบริษัทชั้นนำทั่วโลก เช่น Meta, Microsoft และ Amazon หรือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

 

นอกจากตราสารหนี้แล้วยังมีอีกสินทรัพย์ที่น่าสนใจที่ช่วยสร้างรายได้ (Income) นั่นคือ หุ้นปันผล เงินปันผลเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้าง Total Return ตั้งแต่ปี 1930 เงินปันผลคิดเป็นกว่า 40% ของผลตอบแทนรวมจากการลงทุนในหุ้น และยังเป็นเครื่องมือช่วยป้องกันเงินเฟ้อ โดยอัตราการเติบโตของเงินปันผลระยะยาวอยู่ในระดับที่สูงกว่าเงินเฟ้ออย่างสม่ำเสมอ และหุ้นปันผลยังมีความผันผวนที่ต่ำกว่าในช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวน เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยกระจายความเสี่ยง นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนผ่านกองทุนรวมที่มีการลงทุนในหุ้นปันผลทั่วโลกผ่านกองทุน กรุงศรีโกลบอลดิวิเดนด์เฮดจ์เอฟเอ็กซ์ (KFGDIV-A และ KFGDIV-D) หรือเลือกลงทุนตรงใน Master Fund ผ่านการลงทุน Offshore Fund ของ UOB Privilege Banking ได้ในกองทุน Fidelity Funds – Global Dividend Fund  

โดยนักลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมหรือติดต่อที่ปรึกษาทางการเงิน (Client Advisor) ของ UOB Privilege Banking ได้ที่ โทร. 0 2081 0999 หรือคลิก www.uob.co.th/privilegebanking 

อ้างอิง:

 

ดอกเบี้ยขาลง

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X