×

De-Dollarization เบื้องหลังธนาคารกลางตุนทอง

01.04.2023
  • LOADING...
De-Dollarization

หลายคนที่เคยติดตามบทความของ YLG จะทราบกันดีว่าธนาคารกลางทั่วโลกเร่งตุนทองคำสำรองด้วยการถือครองทองคำเพิ่มขึ้นเกือบ 1,136 ตันในปี 2022 เพิ่มขึ้น 152% จากปีก่อนหน้า พร้อมทั้งสถิติการเข้าซื้อรายปีที่มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 1967 และเป็นการเข้าซื้อที่สูงสุดเป็นอันดับ 2 เป็นประวัติการณ์เมื่อย้อนหลังไปถึงปี 1950 อีกทั้งยังเป็นการซื้อสุทธิเป็นปีที่ 13 ติดต่อกันอีกด้วย

 

“เหตุผลสำคัญเบื้องหลังการถือครองทองคำเพิ่มของเหล่าธนาคารกลาง ได้แก่ ผลการดำเนินงานของทองคำในช่วงที่เกิดวิกฤต บทบาทของทองคำในฐานะ Store of Value อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น และความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์

 

“ยิ่งเกิดสงครามในยูเครน และการคว่ำบาตรต่อรัสเซียของชาติตะวันตก ก็ยิ่งกระตุ้นเทรนด์หนึ่งในตลาด ซึ่งเทรนด์ที่ว่านี้คือ De-Dollarization ซึ่งหมายถึงการที่ประเทศต่างๆ หาวิธีการ ‘ลด’ บทบาทค่าเงินดอลลาร์ต่อการค้าและการลงทุนของประเทศตัวเอง และเป็นเทรนด์ที่ตรงข้ามกับ Dollarization คือการใช้เงินตราต่างประเทศสกุลเงินในแบบคู่ขนานหรือแทนสกุลเงินในประเทศนั่นเอง”

 

ย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว สกุลเงินดอลลาร์มีสัดส่วนประมาณ 70% ของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่เป็นสกุลเงิน โดยมีคู่แข่งที่สำคัญคือเงินยูโร และนับตั้งแต่นั้นมาส่วนแบ่งของดอลลาร์ก็ลดลง 11% แต่ล่าสุดเมื่ออ้างอิงจากข้อมูลของ IMF COFER พบว่าสัดส่วนของสกุลเงินดอลลาร์ในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่เป็นสกุลเงิน ลดลงเหลือ 59.15% ในไตรมาสที่ 3/21 ลดลงจากสัดส่วนราว 59.23% ในไตรมาสที่ 2/21 แตะระดับต่ำสุดในรอบ 26 ปีในช่วง 4 ไตรมาสที่ผ่านมา”

 

Currency Composition of Global Exchange Reserves

 

ภาพ: IMF

 

YLG จึงมองว่าปรากฏการณ์ De-Dollarization มีบทบาทอย่างมากที่ทำให้เหล่าธนาคารกลางเลือกเพิ่มสัดส่วนการถือครองทองคำสำรอง เพื่อกระจายความเสี่ยงของพอร์ตเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ท่ามกลางปัจจัยทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มสูงขึ้น สะท้อนจากสัดส่วนของสินทรัพย์ต่างๆ ในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคาร ณ สิ้นสุดไตรมาส 3 ของปี 2020 พบว่า ณ สิ้นสุดไตรมาส 3 ของปี 2020 โครงสร้างของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศทั่วโลกมีทองคำคิดเป็นสัดส่วน 16% ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ณ ไตรมาส 3 ของปี 2019 ที่ทองคำมีสัดส่วนเพียง 13%

 

ล่าสุด สภาทองคำโลก (World Gold Council) เปิดเผยว่า ธนาคารกลางทั่วโลกถือครองทองคำเพิ่มขึ้นเกือบ 1,136 ตันในปี 2022 เพิ่มขึ้น 152% จากปีก่อนหน้า สถิติการเข้าซื้อรายปีที่มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 1967 และเป็นการเข้าซื้อที่สูงสุดเป็นอันดับ 2 เป็นประวัติการณ์เมื่อย้อนหลังไปถึงปี 1950 อีกทั้งยังเป็นการซื้อสุทธิเป็นปีที่ 13 ติดต่อกันอีกด้วย

 

“เมื่อมองไปยังอนาคต ปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในโลกมีแนวโน้มจะยังคงดำเนินต่อไป โดยความเสี่ยงสูงสุดคือ Russia-NATO Conflict และความขัดแย้งดังกล่าวอาจยิ่งกระตุ้นความร่วมมือระหว่างจีน-รัสเซียที่ไม่มีขอบเขต (China-Russia cooperation has no limits) และจะเปลี่ยนภูมิรัฐศาสตร์ระดับภูมิภาคและโลกในระยะข้างหน้าต่อไป นั่นทำให้ปรากฏการณ์ De-Dollarization มีแนวโน้มเด่นชัดมากขึ้น ซึ่งจะกระตุ้นแรงซื้อทองคำในหมู่ธนาคารกลาง”

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X