เป็นอีกครั้งที่เราได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้บริหารจากองค์กรอย่าง Mission To The Moon, ASAVA และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ที่กำลังเดินหน้าเข้าสู่โลก Metaverse
ทั้ง 3 องค์กรนี้เป็นพันธมิตรธุรกิจของ ‘D.OASIS’ แพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญทุกมิติเพื่อเข้าสู่โลก Metaverse และ NFT ผ่านจุดเด่นการรวมตัวของพันธมิตรอย่างเข้มแข็งในหลากหลายอุตสาหกรรมเข้ามาอยู่บนแพลตฟอร์ม Metaverse ระดับโลกเดียวกัน
ทำไม 3 องค์กรถึงเข้าร่วมกับ ‘D.OASIS’ และแต่ละท่านมองเห็นโอกาสจากโลก Metaverse ได้อย่างไร เราจะมาหาคำตอบผ่านบทความนี้ไปด้วยกัน
ทลายปัญหาจาก Web2
“ตอนนี้เรากำลังอยู่ในช่วง Web2 ซึ่งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก แต่ Web3 ที่กำลังมานั้นจะทลายข้อจำกัดหลายๆ ข้อ” รวิศ หาญอุตสาหะ ผู้ก่อตั้ง Mission To The Moon ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับเติมเต็มความรู้และแรงบันดาลใจในการพัฒนาทักษะใหม่ให้คนทำงาน กล่าวว่า
หากย้อนกลับไปในยุคแรกเริ่มของ ‘อินเทอร์เน็ต’ เรามีไว้สำหรับค้นหาและส่งข้อมูลผ่านลิงก์บนโลกออนไลน์ ซึ่งนี่คือ Web1 แต่ในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาพัฒนาเพิ่มขึ้นเพื่อติดต่อสื่อสารกันได้ทันทีแบบไร้สาย แต่ยังคงต้องอาศัยตัวกลาง (Centralized) เช่น เจ้าของแพลตฟอร์มต่างๆ นี่ถือเป็น Web2
แต่ในอนาคตผู้ใช้งานจะเข้ามามีส่วนร่วมในการยืนยันข้อมูลเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว โดยที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยตัวกลาง (Decentralized) จะช่วยให้ผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นสามารถล่วงรู้ข้อมูลส่วนตัว (Data Privacy) ของเราได้ กลายเป็น Web3 หรือ Metaverse อันเป็นเทคโนโลยีแบบไร้รอยต่อที่ทำให้ผู้ใช้งานเพิ่มประสบการณ์ในโลกเสมือนจริงผ่านเทคโนโลยีแพลตฟอร์มต่างๆ
“ผมคิดว่าช่วงนี้น่าสนใจ 5 ปีนี้เราจะเห็นอะไรที่เรานึกไม่ออกเลย แต่ตัวอย่างที่พอจะชี้ให้เห็นภาพได้ เช่น โฆษณาที่ตอนนี้เราเข้าไปในโซเชียลมีเดียก็จะเจอโฆษณาที่ชวนซื้อสินค้า แต่หลังจากซื้อก็ยังเจอโฆษณาอยู่ ซึ่งทำให้เราเริ่มรำคาญ” รวิศกล่าว
“แต่ใน Web3 หรือ Metaverse ปัญหานี้กำลังจะถูกแก้ เพราะจะกลายเป็น Watch To Earn คนดูก็ได้เงิน แบรนด์ก็โอเคเพราะอยากจ่ายให้คนดูอยู่แล้ว ทุกอย่างจะกลายเป็น Ownership มากขึ้น อย่างตอนนี้โซเชียลมีเดียตัวข้อมูลที่เกิดขึ้นไม่ใช่ของเรา แต่เป็นแพลตฟอร์มเสียมากกว่า ซึ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ทั้งการเรียน การซื้อของ เป็นต้น”
ในมุมของผู้ก่อตั้ง Mission To The Moon เห็นว่า ในอีกมุมหนึ่ง Metaverse จะทำให้เราสามารถทำ ‘คอนเทนต์’ ได้ตื่นเต้นมากขึ้น อย่างเช่นคอนเทนต์โฆษณาแต่ก่อนถูกจำกัดด้วย 2D แต่ในอนาคตสามารถทำได้มากกว่านั้น เช่น เครื่องสำอาง หลังจากที่แตะโฆษณาเราจะสามารถเห็นหน้าเราได้เลยว่า เมื่อทาเครื่องสำอางออกมาแล้วจะเป็นอย่างไร ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนวิธีการคิดของแบรนด์มากๆ
“ในฐานะคนทำคอนเทนต์ก็ตื่นเต้นที่จะสามารถทำหลายๆ เรื่องที่เหนือจินตนาการได้ โดยไม่ต้องถูกจำกัดด้วย 2D อีกแล้ว”
ด้วยความที่ Mission To The Moon ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นพื้นที่พัฒนาทักษะใหม่ให้คนทำงาน ดังนั้นในมุมนี้รวิศจึงให้ความคิดเห็นที่น่าสนใจว่า “เมื่อนึกถึงการทำงาน เรานึกถึงการประชุมผ่านออนไลน์ มีข้อจำกัดเรื่อง 2D อยู่เยอะ และทำให้คนเหนื่อยมาก ซึ่งมีเหตุผลอธิบายเรื่องนี้อยู่จากการที่มนุษย์เรามีการสื่อสารผ่าน 3 เรื่อง อันแรกคือภาษาซึ่งใช้แค่ 7% อีก 38% มาจากโทนเสียง และที่สำคัญที่สุดคือ ‘ภาษากาย’ อันนี้เราใช้เยอะมากๆ ในแง่ของการสื่อสารโดยที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งปัญหานี้ก็จะถูกแก้โดย Metaverse ที่เราจะได้เห็นทุกอย่างไปพร้อมๆ กัน”
ยังเป็นเพียง ‘เศษเสี้ยว’
อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่กำลังเคลื่อนเข้าสู่โลก Metaverse คือ ‘อุตสาหกรรมแฟชั่น’ เราได้เห็นแบรนด์ยักษ์ใหญ่เริ่มปรับตัวเข้าสู่ตลาดแฟชั่นยุคดิจิทัลด้วยการใช้ Blockchain และสร้าง NFT (โทเคนที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้) ของตัวเองเพื่อดึงดูด ยืนยันสินค้า และเชื่อมโยงกลุ่มลูกค้าเอาไว้ด้วยกัน อย่างล่าสุด Nike ก็เพิ่งเปิดตัวคอลเล็กชัน Nike Dunk Genesis Cryptokicks จำนวน 20,000 คู่ เปิดประมูลทาง OpenSea เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา
นอกเหนือจาก NFT ของ Nike แล้ว 3 ค่ายยักษ์ใหญ่ในวงการแฟชั่นอย่าง Prada, LVMH และ Richemont เจ้าของแบรนด์ Cartier ยังร่วมมือกันพัฒนา Blockchain Solution ในชื่อ Aura Blockchain Consortium เพื่อช่วยในการยืนยันสินค้าว่าเป็นของแท้หรือไม่ รวมทั้งติดตามประวัติของสินค้า ลงรายละเอียดไปถึงวัสดุที่ใช้ ร้านค้าที่ซื้อ และการนำไปจำหน่ายในตลาดมือสอง ตอนนี้มีหลายแบรนด์ในเครือเหล่านี้เริ่มหันมาใช้แพลตฟอร์มนี้แล้ว เช่น Bulgari, Cartier, Hublot, Louis Vuitton และ Prada เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า
ในมุมของ พลพัฒน์ อัศวะประภา ผู้ก่อตั้งแบรนด์แฟชั่นสัญชาติไทยอย่าง ASAVA เห็นว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นกับ Metaverse คงไม่ได้มีแค่การออก NFT หรือจัดแฟชั่นในโลกเสมือนจริง นั่นเป็นเพียงเศษเสี้ยวเท่านั้น
“ต้องยอมรับว่าทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง จะมีทั้งคนที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ เพราะฉะนั้นคนที่เข้าใจว่าเทคโนโลยีเปลี่ยนถ่ายอย่างไร พฤติกรรมคนเปลี่ยนไปแบบไหน ก็จะเตรียมตัวตั้งรับ เพราะการจะเปลี่ยนวิถีขององค์กรถือเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งถ้าวันนี้ไม่ปลูกฝังสิ่งนี้ให้กับองค์กร การเปลี่ยนแปลงที่มาอย่างรวดเร็วจะทำให้องค์กรรับมือไม่ทัน ในขณะที่คนอื่นวิ่งไปล่วงหน้าแล้ว”
พลพัฒน์ย้ำว่า แบรนด์คือคน แต่สิ่งที่ต่างกันคือคนนั้นแก่ได้ ซึ่งตอนนี้คนไม่ได้จัดประเภทตัวเองด้วยอายุอีกแล้ว ซึ่งหนึ่งในตัวชี้วัดว่ายังเป็นคนหนุ่มสาวหรือไม่คือการเปิดรับเทคโนโลยี ดังนั้นถ้าแบรนด์จะยั่งยืนหรือหนุ่มอยู่ได้ จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในสังคม ซึ่งนี่เป็นหน้าที่ของแบรนด์ โดยเฉพาะแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์ยิ่งต้องมีความสำคัญในการปรับตัวเองกับสิ่งที่กำลังจะมา ด้วยหากเราตกขบวนจะกลายเป็นไดโนเสาร์ทันที นี่จึงเป็นความยากของแบรนด์ ซึ่งคนทำแบรนด์แก่ได้ แต่แบรนด์ไม่สามารถแก่ได้
“อุตสาหกรรมแฟชั่นใน Metaverse ที่เกิดขึ้นตอนนี้ยังเป็นเศษเสี้ยวเดียวที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งในสายตาของผู้บริโภคกลุ่มคนรุ่นใหม่กำลังจับตาว่าแบรนด์กำลังเดินไปข้างหน้าพร้อมกับไลฟ์สไตล์ของพวกเขาหรือเปล่า ดังนั้นหน้าที่สำคัญของแบรนด์คือทำอย่างไรก็ได้ให้ผู้บริโภครู้สึกว่า แบรนด์กำลังอยู่ในสังคมเดียวกับเขา พูดภาษาเดียวกันเขา ซึ่งในฐานะของคนทำแบรนด์เรื่องนี้เป็นสิ่งจำเป็น”
ต้องขยับตัวเร็วกว่าคนอื่น
ขณะที่ ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) และผู้ก่อตั้งโรงเรียนนานาชาติเวลลิงตันคอลเลจ กรุงเทพ ฉายภาพที่น่าสนใจว่า “เบื้องหลังเราเป็นมหาวิทยาลัย ทำให้เราต้องขยับตัวให้เร็วกว่าคนอื่น เพราะเรากำลังสร้างนักศึกษาที่จะป้อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน จึงต้องทำให้รู้จักและเข้าใจโลก Metaverse ก่อนที่จะออกจากรั้วมหาวิทยาลัยไป”
นอกจากเรื่องหลักสูตรที่ต้องปรับเปลี่ยนให้ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปแล้ว สำหรับการมาถึงของ Metaverse ดร.ดาริกามองว่า ต้องเอาแพลตฟอร์มมาให้นักศึกษาทำความคุ้นชินให้ได้ อีก 4 ปีถ้าจบออกมาจะไม่รู้จัก Web3 ไม่ได้อีกแล้ว ซึ่งนอกจากสถาบันจะนำเรื่องเหล่านี้มาปรับใช้กับการเรียนการสอนแล้ว ยังมีการปรับใช้ในชีวิตประจำวันอีกด้วย
“สิ่งที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ทำในปีการศึกษา 2565 คือการแจก ‘อวาตาร์’ ให้แก่นักศึกษาทุกคน โดยแต่ละชั้นปีก็จะไม่เหมือนกัน ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ทำได้คือการให้รางวัลเป็น NFT ซึ่งสามารถนำไปใช้บน NFT Marketplace ได้ รวมถึงสนับสนุนนักศึกษาและศิลปินที่ยังไม่ได้โด่งดังมากนัก ให้ผลิต NFT เพื่อป้อนเข้าสู่แพลตฟอร์มนี้ได้”
ต้องเข้าไปพร้อมกัน
ดร.ดาริกาย้ำว่า การเข้าสู่ Metaverse เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย เราต้องเข้าใจทั้งเรื่องหน้าบ้าน หลังบ้าน ผู้บริโภค และเทคโนโลยี ซึ่งการเข้าเองนั้นแพงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหาบุคลากรทางด้านเทคโนโลยี ดังนั้นการเข้าไปพร้อมกันผ่าน ‘D.OASIS’ จึงเป็นเรื่องที่จำเป็น
ซึ่งพลพัฒน์เสริมว่า การเข้าสู่ Metaverse นั้นมองหาคนที่มีวิชั่น มองภาพนี้อย่างไร ด้วยความที่เราเป็นผู้เล่นตัวเล็ก ดังนั้นการที่เราจะอยู่รอดได้จึงต้องมองหาสังคมที่ดี และเป็นสังคมที่มีวิชั่นเหมือนที่ ‘D.OASIS’
“การเปลี่ยน Generation ของเทคโนโลยีไม่ได้มีมาบ่อยๆ” รวิศกล่าวพร้อมกับเสริมว่า “ถ้าเราวัดอัตราเร่งของเทคโนโลยีเป็นรถไฟ วันนี้มีคนที่ได้ตั๋วรถไฟเรียบร้อยแล้ว กำลังนั่งจิบน้ำอยู่ในที่นั่ง บางคนกำลังวิ่งไปซื้อตั๋วเพราะรถไฟกำลังจะออกแล้ว คนที่เพิ่งรู้ว่ามีรถไฟอยู่ และคนที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีรถไฟอยู่ ซึ่งสำหรับผมรถไฟขบวนนี้ตกไม่ได้ด้วยซ้ำ เพราะจะไปเร็วมากเลย เผลอๆ ไม่รู้จะมีโอกาสได้ขึ้นอีกหรือเปล่าถ้าตกขบวนไป”
ดังนั้นหากไม่อยากตกรถไฟขบวนนี้ ‘D.OASIS’ จึงเป็นคำตอบที่ใช่สำหรับการเข้าสู่โลก Metaverse ขององค์กรต่างๆ เพราะจุดเด่นที่สำคัญของ D.OASIS คือการรวมตัวของพันธมิตรกว่า 30 บริษัทชั้นนำ จากหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น J Ventures, Index Creative Village, EventPass, WARRIX SPORT, Prakit Holdings, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU), Asava Group, LDA World, Mission To The Moon, Smallroom และ 25 เซเลบชั้นนำของเมืองไทยใน Human X Club เข้ามาอยู่บนแพลตฟอร์มเดียวกันในการสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายให้กับผู้บริโภค และกำลังขยายพันธมิตรเรื่อยๆ ให้เป็น 100 รายภายในปีนี้
และล่าสุด D.OASIS ได้ประกาศซื้อที่ดินบน The Sandbox Metaverse หนึ่งในโลกเสมือนจริงบน Blockchain Technology อันดับหนึ่งของโลกที่มีแบรนด์และเซเลบต่างๆ เข้าไปแล้วมากมาย เช่น Adidas, Gucci, HSBC, Standard Chartered Bank, Atari, Walking Dead, Shibuya 109, Snoop Dogg, Paris Hilton โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง Community ใน Sandbox ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และอันดับต้นๆ ของเอเชีย ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในไตรมาส 4 ของปีนี้
อ้างอิง: