วันนี้ (30 กรกฎาคม) กรมควบคุมโรคเปิดเผยมติการประชุมคณะทำงานด้านบริหารการจัดการการให้บริการวัคซีนโควิด Pfizer ที่ระบุถึงเกณฑ์การจัดสรรวัคซีน Pfizer จำนวน 1.5 ล้านโดส สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ดังนี้
1. บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิดทั่วประเทศที่เข้าเกณฑ์ได้รับวัคซีน Pfizer
- บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยโควิด ได้แก่ แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกทางเดินหายใจ ห้องฉุกเฉินแผนกผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลสนาม เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่สอบสวนโรค เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในสถานที่กักกัน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานใน Hospitel หรือปฏิบัติงานข้องเกี่ยวกับภารกิจการดูแลผู้ป่วยโควิด
- มีชื่อปรากฏในฐานข้อมูลระบบกระทรวงสาธารณสุข (MOPH IC) ว่าได้รับการฉีดวัคน Sinovac 2 เข็มแล้ว อย่างน้อย 4 สัปดาห์ ระบุว่าเป็นกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และยังไม่ได้รับวัคซีน AstraZeneca เป็นเข็มกระตุ้น
2.บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ไม่เข้าเกณฑ์รับวัคซีน Pizer ในล็อตนี้ ดังนี้
- ได้รับการฉีดวัคซีน AstraZeneca ครบ 2 เข็ม
- ได้รับการฉีดวัคซีน AstraZeneca เข็มกระตุ้นเป็นเข็มที่ 3 แล้ว
- ได้รับการฉีดวัคซีน Sinovac 1 เข็ม และ AstraZeneca 1 เข็ม
- ได้รับการฉีดวัคซีน Sinovac หรือ AstraZeneca มาเพียง 1 เข็ม
- ได้รับการฉีดวัคซีนอื่นๆ
โดยการดำเนินการจัดสรรวัคซีน Pfizer สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข มีหลักเกณฑ์ดังนี้
- จัดสรรเพื่อเป็นเข็มกระตุ้นเท่านั้น ไม่มีเริ่มเข็ม 1
- สำรวจจำนวนผู้ต้องการฉีดวัคซีน Pfizer ในแต่ละจังหวัด โดยดูจากจำนวนรายชื่อที่ส่งมาจากแต่ละโรงพยาบาล/จังหวัด
- การกระจายและจุดให้บริการวัคซีน Pfizer
-
- 76 จังหวัด ส่งไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพื่อให้บริการที่โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลที่กำหนด
- กรุงเทพมหานคร ประสานสำนักอนามัย เพื่อส่งวัคซีนไป ณ โรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่กรมควบคุมโรคกำหนด
- ให้โรงพยาบาลแต่ละแห่งแสดง/ประกาศจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฉีดวัคซีน Pfizer ต่อสาธารณชนเพื่อความโปร่งใส