พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นโบราณราชประเพณีที่ต้องทำเพื่อความเป็นพระมหากษัตริย์อย่างสมบูรณ์ ดังความใน ‘จดหมายเหตุพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว’ ว่า
“…ตามราชประเพณีในสยามประเทศนี้ ถือเป็นตำรามาแต่โบราณว่าพระมหากษัตริย์ซึ่งเสด็จผ่านพิภพต้องทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกก่อน จึงจะเป็นพระราชาธิบดีโดยสมบูรณ์”
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกจัดว่าเป็นพิธีสำคัญของทุกประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วยพิธีการนี้เป็นการเฉลิมพระเกียรติยศอย่างเป็นทางการว่าองค์พระประมุขพระองค์ใหม่ได้ทรงรับสมมติเป็นพระราชาธิบดีหรือพระเจ้าแผ่นดินของประเทศนั้นแล้วโดยบริบูรณ์
การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่ทำกันมาในเมืองไทยนั้นมีการแปรเปลี่ยนหลายคราว โดยพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาลย่อมทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขรายละเอียดบางอย่างได้ตามพระราชนิยม
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2394
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2411
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2416 เมื่อทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 20 พรรษา ทรงบรรลุพระราชนิติภาวะแล้ว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช พุทธศักราช 2454
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2468
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อคราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2493
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับพระราชอาสน์ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช พุทธศักราช 2454
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับบนพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2468
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ประทับพระที่นั่งพระราชยานพุดตานทอง เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนราบใหญ่กลับจากวัดพระศรีรัตนศาสดารามไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
ขบวนพระราชอิสริยยศเชิญพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ และพระราชลัญจกรประจำรัชกาล
ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ เสด็จออกจากหอพระสุลาลัยพิมานไปยังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ
เสด็จพระราชดำเนินประทักษิณรอบพระมหามณเฑียรผ่านเก๋งนารายณ์
พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์